พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
ประสูติ28 สิงหาคม พ.ศ. 2370
สิ้นพระชนม์1 เมษายน พ.ศ. 2435
พระบุตรหม่อมเจ้าใหญ่ ชมพูนุท
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
หม่อมเจ้าสงวน ชมพูนุท
หม่อมเจ้าโสตถิผล ชมพูนุท
หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท
ราชสกุลชมพูนุท
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ ในรัชกาลที่ 3

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์[1] (28 สิงหาคม พ.ศ. 2370 - 1 เมษายน พ.ศ. 2435) เป็นต้นราชสกุลชมพูนุท

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2370 พระนามเดิม พระองค์เจ้าชมพูนุท [2] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับมหาดเล็ก ช่างกระดาษ ช่างเขียนผู้หญิง และคลังพิมานอากาศ แล้วทรงเลื่อนเป็น กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์

กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ทรงเป็นแม่กองสร้างวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร และนอกจากนี้ยังได้รับราชการพิเศษหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรงเชี่ยวชาญด้านการพระเมรุต่าง ๆ รวมถึงการเป็นธุระในงานพระราชพิธีสำคัญแทบทุกคราว

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ตรงกับปีมะโรง วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 เวลาย่ำรุ่ง 10 นาที[1] ด้วยพระชันษา 67 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2438[4]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล ชมพูนุท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ หม่อมเจ้าโสตถิผล และหม่อมเจ้าชนม์เจริญ ผู้ขอเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2459 เป็นสกุลอันดับที่ 3685 ตามประกาศวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2460

พระโอรส-ธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ มีพระโอรสและพระธิดา 5 พระองค์ ได้แก่[5]

  1. หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ ชมพูนุท (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2438)
  2. หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์พระสถาพรพิริยพรต (พ.ศ. 2449) ต่อมาทรงเลื่อนกรมเป็นกรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ และในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) (ประสูติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2480) ประสูติจากหม่อมปุ่น ชมพูนุท ณ อยุธยา
  3. หม่อมเจ้าหญิงสงวน ชมพูนุท หรือ หม่อมเจ้าหญิงสงวนวงศ์วัฒนา ชมพูนุท (ประสูติ พ.ศ. 2428 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2434)
  4. หม่อมเจ้าโสตถิผล ชมพูนุท ท.ช.,ต.จ.(ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2431 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505) ทรงเสกสมรสกับหม่อมเพิ่ม ชมพูนุท ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ศรุตานนท์) ธิดาพระประชุมรุกขพันธ์ และมีหม่อมอีก 1 คน ไม่ทราบนาม มีโอรสและธิดา คือ
    1. หม่อมราชวงศ์สุตถิพัทธ์ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงวัฒนพันธุ์ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    3. หม่อมราชวงศ์หญิงนันทสวัสดิ์ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    4. หม่อมราชวงศ์ทัศนีย์ผล ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    5. หม่อมราชวงศ์หญิงกมลสวาสดิ์ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    6. หม่อมราชวงศ์หญิงพาสน์พูลศรี ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    7. หม่อมราชวงศ์หญิงสุรภีพรรณ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    8. หม่อมราชวงศ์สรรพภิสริฐ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    9. หม่อมราชวงศ์หญิงพิศวาท ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    10. หม่อมราชวงศ์สุชาติชาญ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    11. หม่อมราชวงศ์บรรณสารพุฒ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    12. หม่อมราชวงศ์หญิงบุษบงก์ ชมพูนุท มีหม่อมเพิ่มเป็นหม่อมมารดา
    13. หม่อมราชวงศ์สุสุดจัยย์ ชมพูนุท ไม่ทราบหม่อมมารดา
    14. หม่อมราชวงศ์หญิงนงคราญ ชมพูนุท ไม่ทราบหม่อมมารดา
  5. หม่อมเจ้าชนม์เจริญ ชมพูนุท จ.ช.,จ.ม.(ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 พระราชทานเพลิง ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม) ประสูติจากหม่อมเป้า ชมพูนุท ณ อยุธยา ทรงเสกสมรสกับหม่อมเขียน ชมพูนุท ณ อยุธยา หม่อมเรียม ชมพูนุท ณ อยุธยา และหม่อมลัดดา มีโอรสและธิดา ดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงชมพู ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงฟูผล ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    3. หม่อมราชวงศ์ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    4. หม่อมราชวงศ์มนัศปรีดี ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    5. หม่อมราชวงศ์หญิงฉวีเฉลิม ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    6. หม่อมราชวงศ์เสริมจิตร์ ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    7. หม่อมราชวงศ์ชิดฉันท์ ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    8. หม่อมราชวงศ์จันทร์ศรี ชมพูนุท มีหม่อมเรียมเป็นหม่อมมารดา ต่อมาหม่อมราชวงศ์จันทร์ศรีได้เปลี่ยนนามใหม่เป็นหม่อมราชวงศ์ชัยวัฒน์
    9. หม่อมราชวงศ์ฤดีมน ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    10. หม่อมราชวงศ์อนุผลพัฒน์ ชมพูนุท มีหม่อมเรียมเป็นหม่อมมารดา
    11. หม่อมราชวงศ์วัฒนากร ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    12. หม่อมราชวงศ์อนุจรจรัส ชมพูนุท มีหม่อมเขียนเป็นหม่อมมารดา
    13. หม่อมราชวงศ์หญิงรัตนวดี ชมพูนุท มีหม่อมลัดดาเป็นหม่อมมารดา
    14. หม่อมราชวงศ์หญิงมณีกัญญา ชมพูนุท มีหม่อมลัดดาเป็นหม่อมมารดา
    15. หม่อมราชวงศ์หญิงอังคณานาฎ ชมพูนุท มีหม่อมลัดดาเป็นหม่อมมารดา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (2): 15. 10 เมษายน ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  3. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
  4. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 48-49. ISBN 978-974-417-594-6
  5. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 146-147. ISBN 974-221-818-8
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/2627.PDF พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า
  7. พระราชทานตราเครื่องราชอิศริยยศ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]