สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ | |
---|---|
พระบรมราชินี | |
พระฉายาลักษณ์ ใน พ.ศ. 2562 | |
พระอัครมเหสี | |
ดำรงพระยศ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน (5 ปี 194 วัน) |
ราชาภิเษก | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
พระราชสมภพ | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย สุทิดา ติดใจ |
พระราชสวามี | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ราชวงศ์ | จักรี (ราชาภิเษกสมรส) |
พระราชบิดา | คำ ติดใจ[1] |
พระราชมารดา | จั่งเฮียง ติดใจ[2] |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ประเทศไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ |
ประจำการ | 2553–2562 |
ชั้นยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | รองผู้บัญชาการ, หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทหารรักษาพระองค์, ส่วนมกุฎราชกุมาร ทหารรักษาพระองค์, หน่วยรบพิเศษ |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (พระราชสมภพ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521)[3] พระนามเดิม : ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็นสมเด็จพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอกพิเศษ)[5] นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[6]
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[7] ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[8] จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่ง พระอิสริยยศ และฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[9] ต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[4]
พระราชประวัติ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. 1340 ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521[10][11] ณ ตำบลบ้านพรุ[12] ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ เป็นธิดาของนายคำ ติดใจ กับคุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ที่พณิชยการพระนคร ต่อมาได้ทรงศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาใน พ.ศ. 2543[13][14] และทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด ใน พ.ศ. 2543 ถึง 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ใน พ.ศ. 2546 ถึง 2551[15]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สมเด็จพระบรมราชินี
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสและสถาปนาสมเด็จพระราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[8] โดยในวันเดียวกันนั้น เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชินี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว [7] จึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่ง พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[9]
ต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[4]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้การบังคับบัญชาหน่วยราชการในพระองค์ ข้าราชการและข้าราชบริพารในกรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ ขึ้นตรงกับสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในฐานะผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ ดังนี้
- กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- กองราชสำนักสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- กองศิลปาชีพ
- สถาบันสิริกิติ์
- มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- นางสนองพระโอษฐ์และคุณข้าหลวงในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[16]
พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ทรงดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[5] รวมทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[6][17]
วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานวันสตรีไทย ประจำปี 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เป็นพระราชกรณียกิจเสด็จด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรกภายหลังการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี[18] ในงานดังกล่าว ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[19]
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก[20]และองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี[21]
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[22]
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[23]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ระหว่างวันที่ 4–7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสถาปนาสมเด็จพระราชินีคามิลลา ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับแต่การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองราชวงศ์และสองประเทศนี้ให้แน่นแฟ้นยั่งยืนสืบไป[24]
วันที่ 21 กันยายน 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลโท นพดล ปิ่นทอง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 100 ชุด เพื่อนำไปช่วยเหลือในการฟื้นฟูทำความสะอาดบ้านเรือนราษฎรที่ประสบอุทกภัยอย่างรุนแรงในพื้นที่อำเภอแม่สาย และอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการทำความสะอาดและฟื้นฟูบ้านเรือนราษฎร ทำสาธารณประโยชน์ วัด ถนน และสถานที่ราชการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
การรับราชการ
- พ.ศ. 2553 ทรงดำรงตำแหน่ง รักษาราชการนายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[25]
- พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[26]
- พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[27]
- ก่อน 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๒) และผู้บังคับการหน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[28]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[29]
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[30]
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)[31]
- 5 เมษายน พ.ศ. 2558 ทรงดำรงตำแหน่งราชองครักษ์เวร[32]
- 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท)[33]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)[34]
- 14 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร[35]
- 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทรงดำรงตำแหน่ง รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙)[36]
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[5]
ประสบการณ์ทางทหาร
ด้านการทหาร
- 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ของโรงเรียน และศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายร้อย-ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2556 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91
- พ.ศ. 2557 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 59
- 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการกระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน ที่สัตหีบ ซึ่งโรงเรียนทหารนาวิกโยธินไม่เคยมีการฝึกมาก่อน เพราะปกติแล้วจะทำการฝึกกระโดดในเวลากลางวันเท่านั้น พระองค์จึงทรงเป็นนายทหาร และนายทหารหญิงพระองค์แรก ที่ทำการฝึกหลักสูตรนี้[38]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Combat Qualifying Course Jungle Warfare ของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
- เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ทรงจบหลักสูตรการยิงปืนพกในระบบต่อสู้ภายใต้สภาวะกดดันของกองบังคับการปราบปราม
ด้านการบิน
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือนกองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41
- 16 มกราคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรศิษย์การบินทหารบกอากาศยาน ปีกติดลำตัว ชั้นมัธยม ของโรงเรียนการบินทหารบก ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ Cessna T 41
- 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ CT-4E และ PC-9
- เสด็จฯ ไปทรงฝึกและศึกษาการบินเพิ่มเติม ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตนักบินของสหภาพยุโรป ออกใบอนุญาต โดย สำนักงานการบินพลเรือน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้ ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล PPL(A) ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna 172, Mooney M-20, Piper PA-34 Seneca ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี CPL(A) โดยมี Type Rating ของเครื่องบินแบบ Boeing 737 300-900 และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL-Theory)
- ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ปัจจุบัน ทรงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักบินผู้ช่วย ทำการบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะ Boeing 737-400 และ Boeing 737-800
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท [40] |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 3 |
พระราชอิสริยยศ
- สุทิดา ติดใจ (3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
- สุทิดา วชิราลงกรณ์ (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[41] – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
- สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2559[9][42] – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (13 ตุลาคม พ.ศ. 2560[9] – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- สมเด็จพระราชินีสุทิดา (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[9] – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[4] – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค
ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคเหล่านี้ประกอบด้วย
- พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา
- กาน้ำทองคำลงยา
- ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
- หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก) ทองคำลงยา
- ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
- พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
- พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
- ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2562 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)[43]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[44]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[45]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[46]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[47]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[48]
- พ.ศ. 2559 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[49]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[50]
พระยศทหาร
พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2553 –ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พลเอกหญิง |
- 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ร้อยตรีหญิง[51]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ร้อยโทหญิง[41]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2554 ร้อยเอกหญิง[52]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พันตรีหญิง[53]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2555 พันโทหญิง[54]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พันเอกหญิง[55]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พลตรีหญิง[56]
- 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลโทหญิง[42]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกหญิง[57]
พระเกียรติคุณ
ปริญญากิตติมศักดิ์
- พ.ศ. 2562 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[58][59]
- พ.ศ. 2563 [60]
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[61]มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ(วิชาเอกธุรกิจการบิน) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[62]
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม[63]
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
- รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [64]
- บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
- บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่[65]
- ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[66]
เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ
- เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๒
กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2562 และเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2562 (เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ[67]
อ้างอิง
- ↑ "เมืองบ้านเกิด "พระราชินีสุทิดาฯ" ต.บ้านพรุ ใจกลางหาดใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า-R" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 135 (1 ข): 1. 4 January 2018.
- ↑ "Thailand's New Queen: Flight Attendant to Bodyguard to Royalty". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2 May 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "พระบรมราชโองการ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (14 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2562.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 309 ง): 1. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 6.0 6.1 "โปรดเกล้า'พล.ต.หญิงสุทิดา' ราชองครักษ์เวรต่ออีกวาระ". เดลินิวส์. 26 ตุลาคม 2558.
- ↑ 7.0 7.1 ""ราชาภิเษกสมรส" ร. 10 และสมเด็จพระราชินีสุทิดา". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 ""ในหลวง" ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส สถาปนาสมเด็จพระราชินี". ไทยรัฐ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ ๓ มิถุนายน ของทุกปี)
- ↑ "พระราชประวัติ สมเด็จพระราชินีสุทิดา". ไทยรัฐ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี". Royal World Thailand - รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย. 3 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 50 ปี “ABAC” สู่การเป็น “World Class University”
- ↑ "Suthida Tidjai (2000). A report on a proposed advertising research and campaign of Yakult. Assumption University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-30.
- ↑ "พระราชประวัติ สมเด็จพระราชินี ทรงงานแห่งกองทัพไทย". สปริงนิวส์. 2 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง การบังคับบัญชาหน่วยราชการในพระองค์ข้าราชการและข้าราชบริพารในกรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (153 ง): 1. 14 มิถุนายน 2562.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 117 ง): 12. 27 เมษายน พ.ศ. 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแรก". Hello Magazine. 2 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระราชินี ทรงตั้งมั่นสืบสานพระราชปณิธาน 'พระพันปีหลวง'". Workpoint. 1 สิงหาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-24. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ในภาคตะวันออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (215 ง): 1–3. 29 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (215 ง): 4–6. 29 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชินี เสด็จฯ แทนพระองค์ ถวายผ้าพระกฐิน". คมชัดลึก. 25 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี ด้วยหัวใจ (ชุดใหม่)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (276 ง): 1–3. 11 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จ ฯ ไปทรงร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา". หน่วยราชการในพระองค์. 2023-05-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-10. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10.
- ↑ "วันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี". คมชัดลึก. 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชประวัติ 'สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี' ด้านหลักสูตรการทหาร-ราชการ-การบิน". กรุงเทพธุรกิจ. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ด้านการทรงงานทางราชการ". สนุกดอตคอม. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (15 ข): 1. 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 155 ง): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 177 ง): 1. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (พิเศษ 132 ง): 1. 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (พิเศษ 166 ง): 1. 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (พิเศษ 191 ง): 1. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (พิเศษ 287 ง): 1. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 117 ง): 12–13. 27 เมษายน พ.ศ. 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 156 ง): 1. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรมประชาสัมพันธ์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ด้านหลักสูตรการอบรมด้านการทหาร และอื่น ๆ เก็บถาวร 2019-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ โพสต์ทูเดย์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
- ↑ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรมประชาสัมพันธ์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ด้านหลักสูตรการอบรมด้านการบิน เก็บถาวร 2019-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ประกาศ เรื่อง การถวายพระเกียรติยศ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (17ข): 1. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 41.0 41.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (15ข): 32. 27 เมษายน พ.ศ. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 42.0 42.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทหารยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๐ ข, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๐ ข, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๑ ข, ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๒ ข, ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๕ ข, ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๓๙, ตอน ๒๘ ข, ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๙ ข, ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๐ ข, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (3ข): 40. 25 มกราคม พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (15ข): 28. 27 เมษายน พ.ศ. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (27ข): 35. 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (3ข): 25. 25 มกราคม พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (14ข): 15. 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (27ก): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-26. สืบค้นเมื่อ 2015-01-09.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทหารยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (44ข): 1. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "สมเด็จพระบรมราชินีทรงเปิดงานฉลอง 50 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ". thebangkokinsight. 7 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชินีทรงรับทูลเกล้าฯถวายปริญญาฯม.อัสสัมชัญ". เดลินิวส์. 7 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ม.ราชภัฎทั่วประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวายชุดครุย และปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี". 15 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวง พระราชทานปริญญาบัตร มรภ.เชียงราย พระราชินี ทรงรับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม". mgronline. 10 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวง พระราชทานปริญญาบัตร มรภ.สุราษฎร์ธานี "พระราชินี" ทรงรับทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์". mgronline. 15 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวงพระราชทานปริญญา มรภ.พิบูลสงคราม-อุตรดิตถ์ พระราชินีรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์". ประชาชาติธุรกิจ. 9 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวง พระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษา มสธ. พระราชินีเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์". mgronline. 19 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ในหลวง-พระราชินี"เสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่". โพสต์ทูเดย์. 8 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ในหลวง พระราชินี พระราชทานปริญญาบัตร ม.ธรรมศาสตร์". ประชาชาติธุรกิจ. 30 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำนักงานธนารักษ์พื้นที่พระนครศรีอยุธยา".
แหล่งข้อมูลอื่น
- สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ จัดทำโดย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
- สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ จัดทำโดย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2020-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ จัดทำโดย สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงวัฒนธรรม
- สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๒
ก่อนหน้า | สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ |
พระอัครมเหสีไทย (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในพระอิสริยยศ | ||
ก่อตั้งครั้งแรก | รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระบรมราชินีของไทย
- บุคคลจากอำเภอหาดใหญ่
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยา
- บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 (ร.10)
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ราชองครักษ์เวร
- ราชสกุลมหิดล
- พระภรรยาในรัชกาลที่ 10
- ณ อยุธยา
- บุคคลจากจังหวัดสงขลา