สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก
สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก | |||||
---|---|---|---|---|---|
ดรุก กยาลเซิน (ราชินีมังกร) | |||||
พระฉายาลักษณ์ พ.ศ. 2554 | |||||
สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน | |||||
ดำรงพระยศ | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน | ||||
ราชาภิเษก | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | ||||
ประสูติ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2533 Jigme Dorji Wangchuck National Referral Hospital ทิมพู ประเทศภูฏาน | ||||
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก (สมรส 2554) | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | วังชุก (เสกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | ธอนทุบ กยอลเซน | ||||
พระราชมารดา | โซนัม ชูกี | ||||
ศาสนา | Drukpa Kagyu |
พระราชวงศ์ภูฏาน |
---|
|
สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา (ซองคา: རྗེ་བཙུན་པདྨ་; ไวลี: rje btsun padma, พระราชสมภพ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2533) เป็นดรุก กยาลเซิน (ซองคา: Dragon Queen) แห่งประเทศภูฏาน เป็นสมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ทรงประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งพระองค์เป็นนักศึกษาวัย 21 พรรษา ทั้งสองพระองค์มีกำหนดอภิเษกสมรสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[1] โดยการอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม[2]
พระราชประวัติ
[แก้]สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ทรงเป็นธิดาคนที่สองจากจำนวนพี่น้องห้าคนของนายธอนทุบ กยอลเซน กับนางโซนัม ชูกี[3] โดยพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประเทศภูฏาน ก่อนที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ลอว์เรนซ์สคูล ในซานาวาร์ หิมาจัลประเทศ และที่เซนต์โจเซฟคอนแวนต์ ในกาลิมพง ประเทศอินเดีย[4] ในภายหลังได้ทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรีเจนต์คอลเลจ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[5][6] พระองค์มีความสนพระทัยในงานศิลปะเรอเนสซองส์ และมีงานอดิเรกคือการถ่ายภาพเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชาธิบดี รวมทั้งยังโปรดฟังเพลงพื้นเมืองด้วยเช่นกัน[7]
อภิเษกสมรส
[แก้]ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่าพระองค์จะอภิเษกสมรสกับ เจตซุน เพมา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[5] การอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นในรูปแบบดั้งเดิมด้วยตามพระพรของอารักษ์[5] ทั้งนี้เจตซุน เพมา ได้โดยเสด็จไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศแล้วในขณะนี้[5]
งานอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ณ พูนาคาซอง (Punakha Dzong) และมีการเฉลิมฉลองตามหัวเมืองใหญ่ อันได้แก่พูนาคา, ทิมพู[8] และพาโร[9] และได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน[10] โดยพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งนี้แม้จะจัดแบบดั้งเดิม แม้ว่าภูฏานจะมีประเพณีหลายเมีย แต่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีได้ตรัสว่าพระองค์จะไม่อภิเษกสมรสกับสตรีนางใดอีก และจะมีเพียงแต่เจตซุน เพมา เป็นพระชายาในอนาคตเท่านั้น หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว นางสาว เจตซุน ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน โดยมีการเฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก[11]
ปลายปี พ.ศ. 2558 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภูฏานได้ลงข่าวว่าสมเด็จพระราชินีทรงพระครรภ์ และมีกำหนดที่จะประสูติกาลพระราชบุตรช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[12] จนวันที่ 5 กุมภาพันธ์จึงให้ประสูติกาลพระราชโอรส[13] คือ เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก
และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สมเด็จพระราชาธิบชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก กษัตริย์แห่งภูฏานทรงประกาศข่าวอันเป็นมงคลในระหว่างประทานสุนทรพจน์เนื่องในวันชาติปีว่า สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก แห่งภูฏานทรงพระครรภ์พระราชทายาทพระองค์ที่ 2
หากพระราชทายาทองค์ที่ 2 เป็นพระราชโอรสก็จะได้เป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 2 ที่จะขึ้นสืบบัลลังค์ของภูฏานต่อจากพระเชษฐา โดยเป็นที่คาดว่าและสมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก จะมีพระสูติกาลพระราชทายาทองค์ที่ 2 ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020 หรือช่วงต้นปีหน้านี้
และต่อมาในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ได้ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 คือ เจ้าชายชิกเม อุกเยน วังชุก
และต่อมาในปี พ.ศ. 2566 สำนักพระราชวังของภูฏาน ได้แถลงการณ์อย่างเป็นทางการเรื่อง สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ทรงพระครรภ์โดยมีกำหนดพระประสูติกาลในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี 2566
และต่อมาในเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2566 สมเด็จพระราชินีเจจุน ปัทมา วังชุก ได้ทรงมีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 คือ เจ้าหญิงโซนัม ยังเดน วังชุก
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก สนพระราชหฤทัยในงานศิลปะ จิตรกรรม และกีฬาบาสเกตบอล[14] ซึ่งพระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งกัปตันทีมบาสเก็ตบอล และเคยได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัลการพูดในที่ชุมชนอีกด้วย[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bhutan 31-year-old King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck to marry (05-20-2011) 31-year-old King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck to marry 20-year-old commoner Jetsun Pema in October
- ↑ ภูฎานชื่นมื่นกษัตริย์จิกมีอภิเษกวันนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อเจตซุน
- ↑ สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก พระราชินีแห่งภูฏาน
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Royal Wedding in October". Bhutan Observer. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ "Bhutan king to wed Sanawar girl". Times of India. 22 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
- ↑ "Know the royal bride". Businessbhutan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS page. 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS page. 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". BBS. 13 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 13 November 2014.
- ↑ "Royal Wedding in October". Bhutan Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ "ได้พระโอรส! กษัตริย์จิกมี ทรงประกาศข่าวมงคล พระชายาทรงตั้งพระครรภ์แรก". ไทยรัฐออนไลน์. 13 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชาวภูฏานปลื้มปีติ พระชายากษัตริย์จิกมี ประสูติพระราชโอรส". ไทยรัฐออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Spike in Bhutan's happiness index". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
- ↑ เจตซุน เพมา ส่วนเติมเต็มชีวิต 'ดรุก กัลโป'. มติชน. ปีที่ 34 ฉบับที่ 12270. วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554. หน้า 30
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "fn" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="fn"/>
ที่สอดคล้องกัน