พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา
King and Queen on balcony waving
Red Arrows over Buckingham Palace
The King sat with crown and scepters
King and Queen in Carriage
Military Procession in street
Victoria Monument with photographers
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
  1. สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เเละสมเด็จพระราชินีคามิลลา เสด็จออกสีหบัญชร พระราชวังบักกิงแฮม
  2. การเเสดงลูกศรสีเเดง ของกองทัพอากาศเหนือพระราชวังบักกิงแฮม
  3. สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
  4. สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เเละสมเด็จพระราชินีคามิลลา ประทับราชรถพัชราภิเษก เสด็จฯไปยังเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
  5. ขบวนพยุหยาตราผ่านถนนเดอะมอลล์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
  6. ช่างภาพซึ่งตั้งกล้องอยู่บน พระบรมราชินยานุสรณ์ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
วันที่6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
สถานที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
ที่ตั้งลอนดอน สหราชอาณาจักร
ผู้เข้าร่วม
เว็บไซต์coronation.gov.uk แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสถาปนาพระอัครมเหสี สมเด็จพระราชินีคามิลลา แห่งสหราชอาณาจักร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[1] พระราชพิธีดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาสั้นและงบประมาณน้อยกว่าพระราชพิธีราชาภิเษกก่อนหน้านี้[2] โดยมีการเตรียมงานมายาวนานตั้งแต่ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งแผนของงานดังกล่าวมีการใช้รหัสว่า "ปฏิบัติการลูกโลกทองคำ"[3][4]

ทั้งนี้ ในการสถาปนาคามิลลา แชนด์ เป็นสมเด็จพระราชินีคามิลลาอย่างเป็นทางการนั้น เป็นการสถาปนาสมเด็จพระราชินีครั้งแรกตั้งแต่การสถาปนาสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2480[4] ส่วนกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ได้จัดการประท้วงระหว่างพระราชพิธีดังกล่าว[5] อนึ่ง ดยุกแห่งซัสเซกซ์จะเสด็จเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระราชบิดา ในขณะที่ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์จะมิได้ตามเสด็จพระสวามีเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกและยังคงประทับอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐ ร่วมกับพระโอรส-ธิดา เจ้าชายอาร์ชีและเจ้าหญิงลิลีเบ็ตแห่งซัสเซกซ์ เนื่องด้วยในวันเดียวกันเป็นวันคล้ายวันประสูติของเจ้าชายอาร์ชีผู้เป็นพระโอรส

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลาเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกที่จัดขึ้นในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ครั้งที่ 40 นับตั้งแต่พระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิตใน พ.ศ. 1609[6][a]

แขก[แก้]

สูจิบัตรหมายกำหนดการพระราชพิธีราชาภิเษก
  ประเทศที่มีตัวแทนที่ยืนยันการเข้าร่วมแล้ว

มีแขกที่ได้รับเชิญประมาณ 2,200 คนจาก 203 ประเทศ[8] ผู้ได้รับเชิญประกอบด้วยสมาชิกราชวงศ์ ผู้แทนจากนิกายคริสต์จักรแห่งอังกฤษและชุมชนผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ในอังกฤษ นักการเมืองที่มีชื่อเสียงจากสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ ตลอดจนประมุขแห่งรัฐและเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศ[9]

จำนวนผู้เข้าร่วมทางการเมืองลดลงอย่างมากจาก พ.ศ. 2496 ที่สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมพิธี[10] ทางสำนักพระราชวังบักกิงแฮมพิจารณาเชิญ ส.ส. เพียง 20 คนและขุนนางอีก 20 คน แต่การประท้วงจาก ส.ส. และขุนนางทำให้มีการเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมมากกว่าสองเท่า โดยสำนักงานคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าใครได้รับเชิญ[11][12] คู่สมรสของสมาชิกคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับเชิญ ทำให้รัฐมนตรีบางคนรู้สึกโกรธ[13]

หมายเหตุ[แก้]

  1. พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเกือบจะได้ขึ้นครองราชย์ในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ที่ผ่านการอภิเษกในศาสนาเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 1609 แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ได้รับการยืนยัน โดยเฉพาะจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยใด ๆ[7] ถ้ารวมพระราชพิธีราชาภิเษกของฮาโรลด์ พิธีนี้จะกลายเป็นครั้งที่ 41

อ้างอิง[แก้]

  1. "King Charles III, the new monarch". BBC. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
  2. Dixon, Hayley; Narwan, Gurpreet (2022-09-13). "Coronation for the cost of living crisis as King expresses wish for 'good value'". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  3. Mahler, Kevin (14 February 2022). "Ghosts? Here's the true tale of things that go bump in the night". The Times. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022. the codename for the coronation planning: 'Operation Golden Orb'
  4. 4.0 4.1 Dixon, Hayley; Gurpreet, Narwan (13 September 2022). "Coronation for the cost of living crisis as King expresses wish for 'good value'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
  5. Quinn, Ben (13 September 2022). "Republican campaign group planning new protests after arrests of anti-monarchists". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
  6. "A history of coronations". www.westminster-abbey.org. Dean and Chapter of Westminster. 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
  7. Gosling, Lucinda (2013). Royal Coronations. Oxford: Shire. p. 7. ISBN 978-0-74781-220-3.
  8. "More than 2,200 guests to attend King Charles' coronation at Westminster Abbey". Reuters. 1 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2023. สืบค้นเมื่อ 1 May 2023.
  9. Syed, Armani (5 April 2023). "Everything to Know About King Charles III's Coronation". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 13 April 2023.
  10. Robinson, Matthew (14 April 2023). "King Charles's Coronation guest list: a who's who of everyone expected to attend". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2023. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
  11. Kidd, Patrick (14 March 2023). "The Times Diary: Voices Raised for Charles". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2023. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
  12. Robinson, Matthew (26 April 2023). "King Charles's Coronation guest list: a who's who of everyone expected to attend". The Telegram. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.
  13. Grylls, George (11 April 2023). "Cabinet ministers' spouses left off the Coronation guest list". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2023. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.