กองปราบปราม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
กองบังคับการปราบปราม Crime Suppression Division | |
---|---|
อาร์มของกองปราบปราม | |
อักษรย่อ | บก.ป. |
คำขวัญ | ที่พึ่งสุดท้าย ที่หมายพึ่ง |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 1 กันยายน, พ.ศ. 2491 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานแห่งชาติ | ประเทศไทย |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | 1096 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง |
กองกำกับการ | • 7 กองกำกับการ |
เว็บไซต์ | |
csd |
กองบังคับการปราบปราม (อังกฤษ: Crime Suppression Division: CSD) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน ป้องกัน และปราบปราม ทั่วประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ยกเว้นคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, คดีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรง
กองบังคับการปราบปรามแบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น กองกำกับการ 1-6 และอีก 1 กองกำกับการสนับสนุน และกลุ่มงานสอบสวน ทั้งหมดขึ้นตรงกับ กองบังคับการปราบปราม
ประวัติ
กองตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 มีฐานะเป็นกองบังคับการ เป็นการแยกหน้าที่การสืบสวนปราบปราม ออกมาจากตำรวจสันติบาลที่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีการเมืองเท่านั้น
กองตำรวจสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ โดยกองกำกับการ 1 ทำหน้าที่อย่างกองปราบปราม คือค้นคว้าเกี่ยวกับสมุฎฐาน การประทุบร้ายต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคดีการเมือง ซึ่งกองปราบปราม ตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2491 จากการยกฐานะของกองสอบสวนกลาง เป็นกองบัญชาการสอบสวนกลาง กองกำกับต่าง ๆ จึงยกขึ้นเป็นกองชั้นกองบังคับการ กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป จึงถือว่าวันที่ 1 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนากองบังคับการปราบปราม[1]
ในการจัดตั้งดังกล่าวนี้ได้แบ่งกองปราบปรามออกเป็น 5 กองกำกับการ กองกำกับการละ 3 แผนก พ.ศ. 2496 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกองปราบปรามใหม่ให้เหมาะสม แต่ยังคงมี 5 กองกำกับการเหมือนเดิม คือ กองกำกับการ 1 คดีอาญา แบ่งเป็น 5 แผนก กองกำกับการ 2 จู่โจม แบ่งออกเป็น 3 แผนก และมีตำรวจสุนัขเป็นหน่วยฝาก กองกำกับการ 3 ต่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 แผนก กองกำกับการ 4 ข้าราชการทุจริตแบ่งออกเป็น 4 แผนก และกองกำกับการ 5 ภาษีอากร แบ่งออกเป็น 3 แผนก
พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 กันยายน 2503 ให้เปลี่ยนชื่อ กองปราบปราม เป็น “ กองสืบสวนสอบสวน” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 6 กองกำกับการ กองกำกับการละ 5 แผนก ในปีพ.ศ. 2504 ได้เพิ่ม กองกำกับการ 7 ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับยาเสพย์ติดให้โทษ และเปลี่ยนแปลงชื่อกองสืบสวนสอบสวน กลับมาเป็น กองปราบปราม ดังเดิม
พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 10 พ.ศ. 2525 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ตั้งกองกำกับการ 8 เพิ่มเติม แบ่งส่วนราชการเป็น 8 แผนก มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาทั่ว ๆ ไป ที่ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศ ในปีเดียวกันนี้ ได้มีคำสั่งกรมตำรวจ ตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามความผิดทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนและความมั่นคงของชาติ
พ.ศ. 2533 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ 14/2533 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 กำหนดให้มีหน่วยงานเพิ่มอีก 1 หน่วย คือ ฝ่ายอำนวยการ ประกอบงาน 13 งาน
พ.ศ. 2534 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.)ในการประชุมครั้งที่ 9/2534 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2534 ให้ยกฐานะกองกำกับการ 6 ขึ้นเป็นส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยให้ขึ้นกับกรมตำรวจ และให้ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในเวลาต่อมา และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 17 พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ยกเลิก กองกำกับ 8 โดยยกฐานะเป็นกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 18 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ยกเลิกกองกำกับการ 7 โดยยกฐานะเป็นกองบัญชาการ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2535 ยกเลิกกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร โดยตั้งเป็นกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
การยกเลิกกองกำกับการ 6, 7 และ 8 และการตั้งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ ทำให้กองปราบปรามไม่ต้องรับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามที่เกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ ยาเสพติด ตำรวจท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรงอีกต่อไป
พ.ศ. 2539 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 ให้ไว้ ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2539 โดยแบ่ง กองปราบปรามเป็น 6 กองกำกับการ คือกองกำกับการ 1 – 5 และกก.ฝอ.
พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ยกเลิกส่วนราชการเดิมตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วจัดตั้งส่วนราชการใหม่ จึงใช้ชื่อ "กองบังคับการปราบปราม" ดังในเช่นปัจจุบัน...
พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการ โดยกองบังคับการปราบปรามประกอบด้วย 1 กองกำกับการฝ่ายอำนวยการ , กองกำกับการ 1-6 , กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ และกลุ่มงานสอบสวน
โครงสร้าง
- กองกำกับการฝ่ายอำนวยการ
- กองกำกับการ 1
- กองกำกับการ 2
- กองกำกับการ 3
- กองกำกับการ 4
- กองกำกับการ 5
- กองกำกับการ 6
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
- กลุ่มงานสอบสวน
รายนามผู้บังคับการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์กองบังคับการปราบปราม
- เว็บไซต์กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
- ↑ "เกี่ยวกับองค์กร". CSD | กองบังคับการปราบปราม.