วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
College of Music, Mahidol University | |
ชื่อย่อ | MS (MSMU) |
---|---|
สถาปนา | 21 กันยายน พ.ศ. 2537 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณบดี | ณรงค์ ปรางค์เจริญ |
ที่อยู่ | 25/25 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
สี | สีเขียวอ่อน |
เว็บไซต์ | www |
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: College of Music, Mahidol University) เป็นโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทย เคยมีฐานะเป็นวิทยาลัย ปัจจุบันลดสถานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนวิชาดนตรีในระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ที่ชำนาญในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดโดยเฉพาะ เป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนทั้งด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล ปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันดนตรีแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสถาบันดนตรีในยุโรป และล่าสุด หลักสูตรระดับปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก MusiQuE ซึ่งเป็นมาตรฐานทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก
ประวัติ
[แก้]การขยายการศึกษาสาขาวิชาดนตรี ก่อนที่จะมาเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์นั้น ได้มีบุคลากรที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีหลายท่าน อาทิ ศ. นพ.สุเอ็ด คชเสนี, ศ. นพ.สุพจน์ อ่างแก้ว, ศ. นพ.วราวุธ สุมาวงศ์, ศ. นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล และ ศ. นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ช่วยกันสนับสนุนผลักดัน ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เห็นความสำคัญของวิชาการดนตรี และมีการจัดสัมมนาวิชาการดนตรีขึ้น
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530 ศ. นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีในขณะนั้น ได้จัดตั้งโครงการพัฒนาวิชาการดนตรีขึ้น และได้โอนย้ายนายสุกรี เจริญสุข ซึ่งจบปริญญาเอกสาขาดนตรี ข้าราชการสังกัดวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นหัวหน้าโครงการ โดยเปิดสอนวิชาดนตรีให้เป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีขึ้น ประกอบด้วยวิชาดนตรีวิจักษ์ การขับร้องประสานเสียง วิชารวมวง มโหรี วงปี่พาทย์ มีวิชาดนตรีเป็นวิชาเลือกในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นครั้งแรก จัดสัมมนาวิชาการดนตรี ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างหลักสูตรมหาบัณฑิต แขนงดนตรี ขึ้นในแขนงวัฒนธรรมศึกษาด้วย
ในปีการศึกษา 2532 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวัฒนธรรมดนตรี โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาดนตรีแรกของไทย ในปีการศึกษา 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดนตรี” ขึ้นภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย โดยความช่วยเหลือจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยในขณะนั้น คือ รศ. นพ.มันตรี จุลสมัย เพื่อเปิดสอนแขนงวิชาดนตรีศึกษาและแขนงวิชาดนตรีวิทยา
ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ขึ้น โดยอธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ. นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ชื่อ “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” เป็นชื่อที่ ศ. นพ. อดุลย์ วิริยเวชกุล เป็นผู้เสนอและเป็นที่ยอมรับ หมายถึงวิทยาลัยดนตรีที่มุ่งสร้างนักดนตรีที่มีความสามารถในการเล่นดนตรี เป็นวิทยาลัยของผู้ที่มีศิลปะทางดนตรี
- วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้น ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมีโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษารองรับ ซึ่งมีผู้ปกครองและผู้สนใจเข้าศึกษาในโครงการจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือได้พัฒนาการศึกษาดนตรีของเด็กตั้งแต่เล็ก และสร้างบรรยากาศการเรียนดนตรีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
- ในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ. นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้ขยายการศึกษากว้างขวางขึ้น ทั้งการศึกษาและกิจกรรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนและวิจัยดนตรีทุกสาขา ได้จัดการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
- ในปี พ.ศ. 2549 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมี “โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา” รองรับ
- ในปี พ.ศ. 2550 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสร้างสวนพฤกษาดุริยางค์ เป็นสถานที่รวบรวมต้นไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรี 63 ชนิด ทั้งเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้นบ้าน รวมไปถึงเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์
- ในปี พ.ศ. 2552 อาคาร D สร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ใช้งานได้ พร้อมก่อตั้งสำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ College of Music, Mahidol University Publishing (CMMU publishing) เพื่อจัดพิมพ์หนังสือวิชาการเพลงดนตรีและวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดนตรี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ทำการเปิด ร้าน Music square เป็นร้านอาหารและสถานที่รับรองแขก ต่อมา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เริ่มโครงการ “ศาลายาลิงก์” เพื่อรองรับการเดินทางในเส้นทางศาลายา–รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีวงเวียนใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถานีบางหว้า และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม โครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ ถนนศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ ได้ย้ายมาเปิดทำการ ณ ชั้น 4 ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ บนพื้นที่กว่า 1,100 ตารางเมตร
- วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้ทำการวางศิลาฤกษ์อาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ดนตรีที่มีความสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์
- วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 วางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างอาคารพัฒนาวิชาชีพดนตรีสู่ความเป็นเลิศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี (ประจำ) หลักสูตรนานาชาติ สำหรับนักเรียนเตรียมอุดมดนตรี[1]
ทำเนียบผู้อำนวยการ / คณบดี
[แก้]โครงการพัฒนาวิชาการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล | |
---|---|
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข | พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2536 |
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข | พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2551 |
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | |
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข | 20 กันยายน พ.ศ. 2552 – 19 กันยายน พ.ศ. 2556 วาระที่ 1
20 กันยายน พ.ศ. 2556 – 20 กันยายน พ.ศ. 2560 วาระที่ 2 |
2. ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ | 21 กันยายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน[2] |
หลักสูตร
[แก้]
ประกาศนียบัตรวิชาชีพดนตรี
|
ดุริยางคศาสตรบัณฑิต
|
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
|
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการดนตรีในประเทศไทย
[แก้]- พิสุทธิ์ ประทีปะเสน (อ้น) วิชาเอกดนตรีแจ๊ส (มือแซกโซโฟน วง T-Bone) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
- ธรรศตะวัน ไขแสง (ตะวัน) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ทิพยรัตน์ (นน) วิชาเอกดนตรีวิทยา (คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) {ปริญญาเอก รุ่นที่ 1}
- ดร.ปัณญพัสตร์ ธรรมรัตน์ (ฟ้าใส) วิชาเอกปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (นักร้อง วง Baba-e’, ครูประจำบ้าน AF) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
- พิมพ์ปวีณ์ พวงธนะสาร (น็อตโตะ,ชื่อเดิม วรางคณิภา พวงธนะสาร) วิชาเอกปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (นักร้อง) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
- ธุรดี อารีรอบ (อิ๋งอิ๋ง) วิชาเอกปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (ศิลปิน, นักร้อง, นักล่าฝัน AF4) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
- รวิษฎา สุกิตติวรกุล (แคท) (นักร้อง วง Baba-e’)
- ตะวัน จิระศรีปัญญา (หวี) (มือเบส วง Kobe, อาจารย์ประจำสาขาธุรกิจดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
- ธีรัช เลาห์วีระพานิช (กุ๊ก) วิชาเอกดนตรีแจ๊ส (มือแซกโซโฟน วง T-Bone) {ปริญญาตรี รุ่น 2}
- ชลาทิศ ตันติวุฒิ (เบน) (ศิลปิน, นักร้อง) {ปริญญาตรี รุ่น 3}
- สุกฤษ์ ศรีเปารยะ (สุ่ม) (มือเบส วง Clash) {ปริญญาตรี รุ่น 3}
- วีรณัฐ ทิพยมณฑล (แจ๊ป) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (นักร้องนำและมือกีต้าร์ วง The Richman Toy) {ปริญญาตรี รุ่น 5}
- วสุ ปาลิโพธิ (กิ๊ป) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (อดีตมือกีต้าร์ วง The Richman Toy) {ปริญญาตรี รุ่น 5}
- นันทพร เทพภูษาวัฒนา (ฝัน) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (นักร้อง วง Baba-e’) {ปริญญาตรี รุ่น 5}
- ประณัฐ ธรรมโกสิทธิ์ (แป๊บ) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (มือกีตาร์ วง Sweet Mullet) {ปริญญาตรี รุ่น 5}
- นฤดม ตันทนานนท์ (อั๋น) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (มือกีตาร์ วง Sweet Mullet) {ปริญญาตรี รุ่น 5}
- อัคราวิชญ์ พิริโยดม (เช่) วิชาเอกดนตรีแจ๊ส (มือเบส วง The Richman Toy, อาจารย์ประจำสาขาดนตรีสมัยนิยม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) {ปริญญาตรี รุ่น 6}
- พัดชา เอนกอายุวัฒน์ (พัด) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (ศิลปิน, นักแสดง, นักร้อง, นักล่าฝัน AF2) {เตรียมอุดมดนตรีรุ่น 2, ปริญญาตรี รุ่น 6}
- ศิรดา ใจประสงค์ (ปริญญ์) วิชาเอกการประพันธ์ดนตรี (มือคีย์บอร์ด วง Senorita) {ปริญญาตรี รุ่น 6}
- มุขพล จันทรวงศ์ (ดอดจ์) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (นักร้องนำและมือกีตาร์ วง Bogie Dodge) {ปริญญาตรี รุ่น 6}
- สฤษฎ ตันเป็นสุข (สฤษฎ) วิชาเอกดนตรีแจ๊ส (มือทรัมเป็ต วง T-Bone) {ปริญญาตรี รุ่น 8}
- เมธัส ตรีรัตนวารีสิน (แจ็ค) (ศิลปิน, นักร้อง, นักแสดง, นักล่าฝัน AF4) {ปริญญาตรี รุ่น 10}
- จารุพัฒน์ ลีนานุพันธุ์ (จา) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี (มือกีตาร์ วง Jida) {ปริญญาตรี รุ่น 10}
- ณัฐวัจน์ ไกรพิชญ์ (ใหม่) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกีตาร์ วง Jida) {ปริญญาตรี รุ่น 10}
- ปัจจาพงศ์ ศุภชัยเจริญ (กั๊ป) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือเบส วง Jida) {ปริญญาตรี รุ่น 10}
- ธชย ประทุมวรรณ (เก่ง) วิชาเอกดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก (รองชนะเลิศอันดับ 1 รายการ The Voice Thailand 1) {ปริญญาตรี รุ่น 10}
- อคิร วงษ์เซ็ง (ว่านไฉ, ชื่อเดิม ยศนันท์ วงษ์เซ็ง) (ศิลปิน, นักร้อง, ยูทูบเบอร์ นักล่าฝัน AF5) {เตรียมอุดมดนตรีรุ่น 7, ปริญญาตรี รุ่น 11}
- ณภัทร วิสมิตะนันท์ (จั๊บ) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (แชมป์รายการ Teen Superstar) {ปริญญาตรี รุ่น 11}
- ณัฐ เบญจรงค์รัตน์ (นัท) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือเบส วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010) {ปริญญาตรี รุ่น 11}
- แทนทวิช ทวิชศรี (โซ่) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกลอง วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010) {ปริญญาตรี รุ่น 11}
- ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (ปุ๊น) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (ศิลปิน, มือคีย์บอร์ด วง April Fools’ Day) {ปริญญาตรี รุ่น 11}
- คนาวิน เชื้อแถว (โบ๊ท) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (นักร้องนำ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- ภูริช พันธุ์รุ่ง (บอส) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกีต้าร์ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- ธนญ แสงเล็ก (นน) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกีต้าร์ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- ประวิทย์ ฮันสเตน (ยิ้ม) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกลอง วง สมเกียรติ) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- พีระนัต สุขสำราญ (เงาะ) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (มือกีตาร์ วง The Richman Toy) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- วิภาวี เตชะสุรางค์ (วี) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (ตัวแทนภาคเหนือจากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 7) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- บุตรศรัณย์ ทองชิว (นํ้าตาล) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (ศิลปิน, นักร้อง จากรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 5) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- ลินท์พิตา จินดาภู (หญิง) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (รองชนะเลิศอันดับ 1 จากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11) {ปริญญาตรี รุ่น 12}
- ภัทรภร แสงสำอางค์ (ซิน) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (ผู้เข้ารอบ 20 คนสุดท้ายจากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 10 และ ปี 11) {ปริญญาตรี รุ่น 13}
- ธันยชนิต ศรีสมเพชร (เต้ย) วิชาเอกธุรกิจดนตรี (นักล่าฝัน AF10) {ปริญญาตรี รุ่น 13}
- วทัญญู จิตติเสถียรพร (โฟนลิ้ง) วิชาเอกปฏิบัติดนตรีคลาสสิก {ปริญญาตรี รุ่น 13}
- ยศพล ยศอมรสุนทร (ไอกี้) วิชาเอกเทคโนโลยีดนตรี {ปริญญาตรี รุ่น 14}
- เกวลิน พูลภีไกร (เกรซ) วิชาเอกปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (ศิลปิน, นักร้อง จากรายการ เดอะสตาร์ 11)
- พณพงศ์ เพิ่มพูน (ท็อป) {ปริญญาตรี รุ่น 9} (ศิลปิน วง The Messenger)
- ชนิษฐา โลจนานนท์ (ตาล) (มือกลอง วง Aliz)
- เจตพล กนิษฐชาต (เจมส์) วิชาเอกดนตรีสมัยนิยม (ศิลปิน, ผู้ชนะจากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว 2022)
วัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]- ภาพยนตร์ เรื่อง ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับนักเรียนเตรียมอุดมดนตรี ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ออกฉายในปี พ.ศ. 2549[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติวิทยาลัย
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 31/2560, แต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์[ลิงก์เสีย], 21 กันยายน พ.ศ. 2560
- ↑ "หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-07. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาโท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาเอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ รียูเนียน 'Seasons Change' นักแสดงนำ ร่วมงานอีกครั้งหลังผ่านไป 16 ปี!
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ประวัติวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2006-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รศ. ดร. สุกรี เจริญสุข ผมเป็นครูสอนดนตรี เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของภาพยนตร์ เรื่อง Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เก็บถาวร 2006-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน