ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดยะลา"

พิกัด: 6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


== เมืองที่สวยงาม ==
== เมืองที่สวยงาม ==
ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง [[พ.ศ. 2528]]-[[พ.ศ. 2530|2530]] และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี [[พ.ศ. 2538]] ในปี [[พ.ศ. 2540]] ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 300 ของไทย
ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง [[พ.ศ. 2528]]-[[พ.ศ. 2530|2530]] และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี [[พ.ศ. 2538]] ในปี [[พ.ศ. 2540]] ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 5 ของไทย


== ประชากร ==
== ประชากร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:21, 26 กันยายน 2561

จังหวัดยะลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Yala
คำขวัญ: 
ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ อนุชิต ตระกูลมุทุตา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,521.078 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 47
ประชากร
 (พ.ศ. 2560)
 • ทั้งหมด527,295 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 52
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 45
รหัส ISO 3166TH-95
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อโศกเหลือง
 • ดอกไม้พิกุล
 • สัตว์น้ำปลาพลวงชมพู
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
 • โทรศัพท์0 7322 1014
 • โทรสาร0 7321 1586
เว็บไซต์http://www.yala.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ยะลา เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ประวัติ

ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

ความหมายของชื่อจังหวัด

เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มลายู: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มลายู: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกภูเขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]

แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

เมืองที่สวยงาม

ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง พ.ศ. 2528-2530 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี พ.ศ. 2538 ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 5 ของไทย

ประชากร

และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ[4]

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 [5] มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, วัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง[6], โบสถ์คริสต์ 6 แห่ง[7] และคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง [8]

อย่างไรก็ตามจังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด[9]

ชาวจังหวัดยะลาที่มีชื่อเสียง

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองยะลา
  2. อำเภอเบตง
  3. อำเภอบันนังสตา
  4. อำเภอธารโต
  5. อำเภอยะหา
  6. อำเภอรามัน
  7. อำเภอกาบัง
  8. อำเภอกรงปินัง
 แผนที่

อุทยาน

สถานที่ท่องเที่ยว

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ระดับมัธมยมศึกษา

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

อ้างอิง

  1. สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. "สภาพทั่วไปของจังหวัดยะลา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://yala.nso.go.th/yala/yala.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 30 มีนาคม 2561.
  3. 3.0 3.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547, หน้า 346
  4. "รอวันปิดตำนาน 'ซาไก' แห่ง 'ศรีธารโต'" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 3 มกราคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. จ ำนวนศาสนิกชนและศาสนสถานรายอำเภอ / เทศบาลปี พ.ศ. 2550
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ yala
  7. Paty Kita (21 พฤศจิกายน 2555). ชาวคริสต์ในพื้นที่ปัตตานี-ยะลา. เรียกดูเมื่อ 14 เมษายน 2556
  8. สมาคมไทยซิกข์แห่งประเทศไทย. พระศาสนสถานคุรุดวารา - วัดซิกข์
  9. "การสำรวจข้อมูลสำมะโนประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้". 3 สิงหาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ตขึคนึยนยบงานจ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29