ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วชิราวุธวิทยาลัย"

พิกัด: 13°46′32″N 100°31′08″E / 13.775497°N 100.518785°E / 13.775497; 100.518785
นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Vajiravudh College Assembly Hall.jpg|300px|thumb|หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย]]
[[ไฟล์:Vajiravudh College Assembly Hall.jpg|300px|thumb|หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย]]
ผผผผผ
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิด[[โรงเรียนมหาดเล็กหลวง]]ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2453]] เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือน[[พระอารามหลวง]]ประจำรัชกาล ซึ่งมิได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพราะมีพระราชดำริว่า ในรัชสมัยของพระองค์พระอารามหลวงต่างๆ มีอยู่มากแล้ว หากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีกก็จะเป็นพระราชภาระในการปฏิสังขรณ์อีกโดยมิควร ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์นั้นการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป มิได้อยู่กับวัดดังเช่นกาลก่อน นักเรียนต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อทำการอบรมสั่งสอน<ref name="ก่อพระฤกษ์">ราชกิจาจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2264.PDF การก่อพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ], เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๔</ref> ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลของ[[ประเทศอังกฤษ]] และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/15.PDF แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ย้ายโรงเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิม], เล่ม ๒๘, ตอน ๐ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๕</ref>

[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิด[[โรงเรียนมหาดเล็กหลวง]]ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2453]] เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือน[[พระอารามหลวง]]ประจำรัชกาล ซึ่งมิได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพราะมีพระราชดำริว่า ในรัชสมัยของพระองค์พระอารามหลวงต่างๆ มีอยู่มากแล้ว หากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีกก็จะเป็นพระราชภาระในการปฏิสังขรณ์อีกโดยมิควร ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์นั้นการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป มิได้อยู่กับวัดดังเช่นกาลก่อน นักเรียนต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อทำการอบรมสั่งสอน<ref name="ก่อพระฤกษ์">ราชกิจาจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2264.PDF การก่อพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง] , เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๔</ref> ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลของ[[ประเทศอังกฤษ]] และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/15.PDF แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ย้ายโรงเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิม], เล่ม ๒๘, ตอน ๐ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๕</ref>


ในการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเป็นเรือนไม้ หลังคามุงจากขึ้นก่อนในที่ดินส่วนพระองค์ที่สวนกระจัง ริม[[คลองเปรมประชากร]] ตำบล[[สวนดุสิต]] แล้วโปรดฯ ให้ย้ายนักเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งเปิดการสอนเป็นการชั่วคราวจากโรงเรียนราชกุมาร (เก่า) ใกล้หอพิธีพราหมณ์ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] มาดำเนินการสอนในสถานที่ซึ่งพระราชทานให้ใหม่นี้เมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2454]] ต่อมาใน [[พ.ศ. 2458]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้[[กรมศิลปากร]]มาดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งประกอบด้วยหอประชุมและอาคารที่พักของนักเรียนที่มุมโรงเรียนอีก 4 หลัง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2266.PDF ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ซึ่งบรรจุไว้ในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง], เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๖</ref> และได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างอาคารโรงเรียนเมื่อวันที่ [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2458]]<ref name="ก่อพระฤกษ์"/> ครั้นเมื่อ [[พ.ศ. 2459]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุติธรรมมาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นที่[[จังหวัดเชียงใหม่]]อีกแห่งหนึ่งใน [[พ.ศ. 2459]]
ในการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเป็นเรือนไม้ หลังคามุงจากขึ้นก่อนในที่ดินส่วนพระองค์ที่สวนกระจัง ริม[[คลองเปรมประชากร]] ตำบล[[สวนดุสิต]] แล้วโปรดฯ ให้ย้ายนักเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งเปิดการสอนเป็นการชั่วคราวจากโรงเรียนราชกุมาร (เก่า) ใกล้หอพิธีพราหมณ์ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] มาดำเนินการสอนในสถานที่ซึ่งพระราชทานให้ใหม่นี้เมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2454]] ต่อมาใน [[พ.ศ. 2458]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้[[กรมศิลปากร]]มาดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งประกอบด้วยหอประชุมและอาคารที่พักของนักเรียนที่มุมโรงเรียนอีก 4 หลัง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2266.PDF ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ซึ่งบรรจุไว้ในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง], เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๖</ref> และได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างอาคารโรงเรียนเมื่อวันที่ [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2458]]<ref name="ก่อพระฤกษ์"/> ครั้นเมื่อ [[พ.ศ. 2459]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุติธรรมมาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นที่[[จังหวัดเชียงใหม่]]อีกแห่งหนึ่งใน [[พ.ศ. 2459]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:32, 10 มกราคม 2561

วชิราวุธวิทยาลัย
Vajiravudh College
ไฟล์:Vc2.JPG
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนเอกชน
สถาปนา29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 (113 ปี 119 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
รหัส1110100022 (ใหม่)
81100205 (เก่า)
ผู้อำนวยการผศ.สุรวุธ กิจกุศล
ระดับปีที่จัดการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
เพลงเพลงมหาวชิราวุธราชสดุดี
เว็บไซต์http://www.vajiravudh.ac.th

วชิราวุธวิทยาลัย เป็นโรงเรียนประจำชายล้วน สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียนแก่กุลบุตรชาวไทยแทนการสร้างพระอารามซึ่งมีอยู่มากแล้วนั้น ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพ และโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดยให้นักเรียนย้ายมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ พร้อมทั้งได้พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป

วชิราวุธวิทยาลัยมีตึกที่พักนักเรียน เรียกว่า "คณะ" เป็นเสมือนบ้านของนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ คณะเด็กโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม แบ่งออกเป็น ๖ คณะ คือ คณะผู้บังคับการ คณะดุสิต คณะจิตรดา คณะพญาไท คณะจงรักภักดี คณะศักดิ์ศรีมงคล ส่วนคณะเด็กเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถม แบ่งออกเป็น ๓ คณะ คือ คณะสนามจันทร์ คณะนันทอุทยาน และ คณะสราญรมย์ นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น รักบี้ฟุตบอล แบดมินตัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณีกับมาเลย์ คอลเลจ (Malay College Kuala Kangsar) จากประเทศมาเลเซีย เป็นประจำทุก ๆ ปี

ปัจจุบัน ดำเนินการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ที่ ถนนราชวิถี แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย

ผผผผผ

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล ซึ่งมิได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพราะมีพระราชดำริว่า ในรัชสมัยของพระองค์พระอารามหลวงต่างๆ มีอยู่มากแล้ว หากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีกก็จะเป็นพระราชภาระในการปฏิสังขรณ์อีกโดยมิควร ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์นั้นการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป มิได้อยู่กับวัดดังเช่นกาลก่อน นักเรียนต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อทำการอบรมสั่งสอน[1] ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลของประเทศอังกฤษ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"[2]

ในการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเป็นเรือนไม้ หลังคามุงจากขึ้นก่อนในที่ดินส่วนพระองค์ที่สวนกระจัง ริมคลองเปรมประชากร ตำบลสวนดุสิต แล้วโปรดฯ ให้ย้ายนักเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งเปิดการสอนเป็นการชั่วคราวจากโรงเรียนราชกุมาร (เก่า) ใกล้หอพิธีพราหมณ์ในพระบรมมหาราชวัง มาดำเนินการสอนในสถานที่ซึ่งพระราชทานให้ใหม่นี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2454 ต่อมาใน พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กรมศิลปากรมาดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งประกอบด้วยหอประชุมและอาคารที่พักของนักเรียนที่มุมโรงเรียนอีก 4 หลัง[3] และได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างอาคารโรงเรียนเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2458[1] ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2459 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุติธรรมมาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่งใน พ.ศ. 2459

การดำเนินการศึกษาในโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำต้องยุติลง เนื่องจากพระองค์ได้ด่วนเสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ในรัชสมัยต่อมา ประเทศสยามต้องประสบสภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจำต้องทรงตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ลง ทั้งนี้เพื่อให้การเงินในประเทศเข้าสู่สมดุล ดังนั้น ใน พ.ศ. 2469 ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ และ โรงเรียนราชวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดยให้ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ และได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป[4]

ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ดังนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน

อาคารเรียน

อาคารเรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โดยพระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ซึ่งลักษณะของหอประชุม หอนาฬิกา อาคารจิตรลดา และตึกขาว เป็นอาคารที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทย ผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2525 [5]

ไฟล์:วชิราวุธวิทยาลัย.jpg
อาคารภายในวชิราวุธวิทยาลัย

กิจกรรมนักเรียน

กีฬา

วชิราวุธวิทยาลัยส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬา รวมทั้ง มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในทุกปี โดยมีการแบ่งประเภทกีฬาออกเป็นภาคการศึกษา ดังนี้

โดยกีฬาแต่ละประเภทที่แข่งขัน คณะที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลซึ่งแต่ละถ้วยรางวัลจะเป็นถ้วยรางวัลที่ได้รับพระราชทาน อาทิเช่น ถ้วยชนะเลิศรักบี้ฟุตบอลรุ่นใหญ่ เป็นถ้วยพระราชทานของ กีฬาหลักของโรงเรียน คือ รักบี้ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่ารักบี้นั้นจะเป็นกีฬาที่สอนให้นักเรียนรู้จักแพ้ ชนะ และอภัย และจะฝึกให้นักเรียนเป็นสุภาพบุรุษอย่างสมบูรณ์แบบ รักบี้ประเพณีกับมาเลย์ คอลเลจ (Malay College Kuala Kangsar) จากประเทศมาเลเซียจะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และรักบี้ประเพณีกับ Saad foundation school ประเทศมาเลเซีย[6]

หอพัก หรือคณะ

วชิราวุธวิทยาลัยมีหอพัก หรือที่เรียกว่า "คณะ" เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นที่พักอาศัยในช่วงระหว่างที่อยู่โรงเรียนสองอาทิตย์ คณะหนึ่งนั้นจะมีนักเรียนประมาณ 80 คน แต่ละคณะนั้นจะแบ่งกระจายนักเรียนของแต่ละชั้นเรียนให้เท่า ๆ กัน แบ่งเป็นสองฝั่ง คือ คณะเด็กใน และ คณะเด็กเล็ก โดยที่คณะเด็กในจะใช้เป็นที่พักพิงของนักเรียนตั้งแต่ชั้น ม.1 ถึง ม.6 ทั้งนี้ มีด้วยกันอยู่ 6 คณะ คือ คณะผู้บังคับการ คณะดุสิต คณะจิตรดา คณะพญาไท คณะจงรักภักดี คณะศักดิ์ศรีมงคล ส่วนคณะเด็กเล็กนั้นจะใช้เป็นที่พักของเด็กนักเรียนชั้น ป.4 ถึง ป.6 เมื่อนักเรียนแต่ละคนเข้าเรียนชั้น ม.1 แล้วจะทำการย้ายเข้าไปอยู่เด็กในกับรุ่นพี่ คณะของคณะเด็กเล็ก ได้แก่ คณะสนามจันทร์ คณะนันทอุทยาน และคณะสราญรมย์ การปกครองของคณะเด็กใน และเด็กเล็กนั้นจะต่างกันเพียงเล็กน้อย โดยคณะเด็กเล็กนั้นจะมีหัวหน้าครูคณะ และครูคณะมาช่วยดูแล และควบคุมเด็ก ๆ ส่วนคณะเด็กในนั้นจะมีเพียงผู้กำกับคณะคอยดูแล และหน้าที่ควบคุมเด็กในคณะนั้นจะตกอยู่กับรุ่นพี่หัวหน้าคณะโดยมีผู้กำกับคณะเป็นที่ปรึกษา การปกครองในคณะเด็กในนั้นจะเป็นระบบรุ่นพี่ รุ่นน้อง โดยจะเน้นอยู่ว่า "การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ต้องเคยเป็นผู้ตามที่ดีมาก่อน" ดังนั้น ก่อนที่นักเรียนแต่ละคนจะมาเป็นหัวหน้าคณะปกครองรุ่นน้อง ก็จะเคยเป็นผู้ตามถูกปกครองโดยรุ่นพี่มาก่อน และเรียนรู้การปกครองนั้นมาปกครองรุ่นน้องถัด ๆ ไป

ประเพณีโรงเรียน

เพลงโรงเรียน

หนึ่งในประเพณีของวชิราวุธวิทยาลัย คือ การร้องเพลงในงานสำคัญต่างๆ รวมถึงเพลงเชียร์กีฬา โดยเพลงที่มักจะได้ยินบ่อยๆ มีดังนี้

  • เพลงมหาวชิราวุธราชสดุดี ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา และทำนองโดย โฉลก เนตรสูตร เป็นเพลงประจำโรงเรียนมักถูกขับร้องในงานพิธีสำคัญ เพื่อเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้สถาปนาโรงเรียน
  • เพลง Graduates Song Goodbye เป็นเพลงภาษาอังกฤษทำนองและเนื้อร้องโดย F.Rico ถูกขับร้องในงานพระราชทานประกาศนียบัตรนักเรียนเก่า โดยนักเรียนปัจจุบันที่กำลังจะจบการศึกษา เนื้อหาของเพลงนั้นเพื่อนึกถึงอนาคตเมื่อออกไปจากโรงเรียน และรำลึกถึงชีวิตในโรงเรียน
  • เพลงอีกสี่สิบปี ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา ทำนองนั้นคัดมาจาก Forty Years On ของโรงเรียนแฮร์โรว ในอังกฤษ มักถูกร้องในงานราชพิธีสำคัญ เนื้อหาในเพลงเพื่อรำลึกถึงชีวิตในโรงเรียน
  • เพลงเราเด็กในหลวง พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำนอง สิงโตเล่นหาง เป็นเพลงกลอนบรรเลงโดยวงดนตรีไทย เป็นเพลงปฏิญาณนึกถึงความสำคัญของนักเรียนมหาดเล็ก ดังมีตัวอย่างท่อนจบว่า "รักษาชาติศาสนากว่าจะตาย เป็นผู้ชายชาติไทยไม่ลืมเอย"
  • เพลงเชียร์กีฬา มักถูกขับร้องในการแข่งขันรักบี้ระหว่างโรงเรียน นอกจากนั้นสำหรับการแข่งขันภายใน แต่ละคณะก็จะมีเพลงเชีย์กีฬาของตัวเองอีกด้วย
  • เพลงจรรยานักกีฬา เป็นเพลงกลอนมักถูกขับร้องก่อนการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะ เพื่อนึกถึงจรรยาของนักกีฬา

ผู้บังคับการ

ผู้บังคับการ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดในการดูแลจัดการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร และครูใหญ่ รวมทั้งผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการโรงเรียน ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ต้องเป็นผู้ที่ผ่านพระบรมราชานุมัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 8 กันยายน พ.ศ. 2455
2 พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง 8 กันยายน พ.ศ. 2455 - 11 เมษายน พ.ศ. 2458
3 พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ) ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง 11 เมษายน พ.ศ. 2458 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2460
4 พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469
5 พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 - 16 เมษายน พ.ศ. 2476
6 พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478
7 พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนตธาตุผลิน) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - 1 มกราคม พ.ศ. 2486
8 มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 1 มกราคม พ.ศ. 2486 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518
9 ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539
10 ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550
11 ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559
12 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ กิจกุศล ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

และผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ประจำปีพุทธศักราช 2543

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจาจานุเบกษา, การก่อพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง , เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ย้ายโรงเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ซึ่งบรรจุไว้ในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ วางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ก, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๙๕
  5. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ : อาคารอนุรักษ์ ประจำปี 2525 อาคารเรียน โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
  6. วชิราวุธาสาส์น : รายงานประจำปี 2548 หน้า 52 จาก โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

แหล่งข้อมูลอื่น

13°46′32″N 100°31′08″E / 13.775497°N 100.518785°E / 13.775497; 100.518785