ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ารามประเดิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ารามประเดิด
พระเจ้าเมาะตะมะ
ครองราชย์28 มกราคม ค.ศ. 1307 – มีนาคม ค.ศ. 1311
ก่อนหน้าพระเจ้าฟ้ารั่ว
รัชกาลถัดไปพระเจ้าแสนเมือง
ประสูติ27 มีนาคม ค.ศ. 1254
บ้านเกาะวาน
อาณาจักรพุกาม
สวรรคตมีนาคม ค.ศ. 1311 (56 พรรษา)
ใกล้เมาะตะมะ
อาณาจักรหงสาวดี
พระราชบุตรพระยาอายลาว
พระนางจันทะมังคะละ
พระนางตะละชินซอบุต
ราชวงศ์ราชวงศ์หงสาวดี (ราชวงศ์ฟ้ารั่ว)
ศาสนาพุทธศาสนานิกายเถรวาท

พระเจ้ารามประเดิด[1] (พม่า: ခွန်လော, ออกเสียง: [kʰʊ̀ɰ̃ lɔ́]; ค.ศ. 1254–1311) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งเมืองเมาะตะมะ ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1307–1311 พระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์จากพระเจ้าฟ้ารั่วปฐมกษัตริย์ผู้เป็นพระเชษฐาซึ่งสวรรคตโดยไร้รัชทายาท รัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากอาณาจักรล้านนา

พระเจ้ารามประเดิดประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1254 มีพระนามเดิมว่ามะกะตา[2][note 1] โดยพระองค์มีพระเชษฐา 1 พระองค์คือพระเจ้าฟ้ารั่ว และมีพระขนิษฐา 1 พระองค์คือนางอุ่นเรือน[3] เมื่อมะกะโทสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าเมาะตะมะใน ค.ศ. 1287[4][5] ก็ได้สถาปนาพระราชอนุชาพระองค์เดียวคือมะกะตาเป็นรัชทายาทเนื่องจากพระองค์มีพระราชธิดาพระองค์เดียว[6]

เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วถูกปลงพระชนม์ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 พระองค์จึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา แต่พระองค์ต้องใช้เวลาปราบปรามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระเจ้าฟ้ารั่วนานถึง 2 สัปดาห์ จึงได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 28 มกราคม ปีเดียวกัน

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1311[note 2] นางอุ่นเรือนและสมิงมังละ พระสวามีได้ก่อกบฏเข้ายึดราชบัลลังก์ ระหว่างที่พระเจ้ารามประเดิดเสด็จออกไปคล้องช้างป่าที่เมาะลำเลิง เมื่อพระองค์ทราบข่าวจึงรีบเสด็จกลับแต่ได้พบว่าประตูเมืองถูกปิด พระองค์จึงรีบเสด็จหนีไปยังป่าข้างเมืองแต่ก็ถูกทหารของสมิงมังละสังหารจนสวรรคต[7][8] ทำให้ราชบัลลังก์ว่างลงกว่า 2 สัปดาห์[note 3] จากนั้นจึงได้มีการอัญเชิญเจ้าอาวพระโอรสของเจ้านางอุ่นเรือนและสมิงมังละขึ้นเป็นพระเจ้าแสนเมือง เมื่อวันที่ 10 เมษายน ปีเดียวกัน[9]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The Razadarit Ayedawbon chronicle (Pan Hla 2005: 37) says he was born on Friday, 7th waxing of Late Tagu 635 (Thursday, 15 March 1274). But 635 ME was likely a typographical error. The chronicle (Pan Hla 2005: 16) says he had an elder brother Ma Gadu and a younger sister Hnin U Yaing. The chronicle's later narrative (Pan Hla 2005: 37) again mentions twice that Gada was U Yaing's older brother. Since Gadu was born in 1253 per (Pan Hla 2005: 36), and since Hnin U Yaing was already in her marriage age in 1281/82 per (Pan Hla 2005: 21–23), it was highly unlikely that Gada would have been born 21 years later in 1274, and Hnin U Yaing even later. Instead, the birth date was more likely Friday, 7th waxing of Late Tagu 615 ME (Friday, 27 March 1254), date translated per (Eade 1989: 100).
  2. The chronicle Razadarit Ayedawbon (Pan Hla 2005: 37, 39) says Hkun Law died in 672 ME, and soon after Saw O ascended the throne on Saturday, 6th waning of Tagu 673 ME (10 April 1311). It means Law most probably died in the last weeks of 672 ME (March 1311).
  3. Since Law was 56 (in his 57th year), he must have died by 6th waxing of Late Tagu 672 ME (26 March 1311). Per (Pan Hla 2005: 39), Saw O became king on Saturday, 6th waxing of Tagu 673 ME (10 April 1311).

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 24
  2. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 24
  3. Pan Hla 2005: 16
  4. Harvey 1925: 110
  5. Phayre 1967: 65
  6. Pan Hla 2005: 36
  7. Pan Hla 2005: 37
  8. Phayre 1967: 66
  9. Pan Hla 2005: 39
บรรณานุกรม
  • เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 17-47.
  • ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 21-24.
  • Aung-Thwin, Michael A.; Maitrii Aung-Thwin (2012). A History of Myanmar Since Ancient Times (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-1-86189-901-9.
  • Eade, J.C. (1989). Southeast Asian Ephemeris: Solar and Planetary Positions, A.D. 638–2000. Ithaca: Cornell University. ISBN 0-87727-704-4.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Mon Yazawin (ภาษาพม่า) (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press. 1785.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2004 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.