นางจันทะมังคะละ
นางจันทะมังคะละ စန္ဒာမင်းလှ | |
---|---|
พระอัครมเหสีแห่งเมาะตะมะ | |
ระหว่าง | ป. เมษายน ค.ศ. 1330 – 1348/49 |
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ |
ถัดไป | นางจันทะมังคะละที่ 2 |
พระอัครมเหสีแห่งเมาะตะมะ | |
ระหว่าง | ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1323 – ป. เมษายน ค.ศ. 1330 |
ก่อนหน้า | แม่นางตะปี |
ถัดไป | ไม่ทราบ |
คู่อภิเษก | พระเจ้ารามมะไตย (1323–1330) พระยาอายกำกอง (1330) พระยาอายลาว (1330–1348/49) |
พระราชบุตร | เม้ยเน (Mwei Ne) พระมหาเทวี พระยาอู่ |
ราชวงศ์ | ฟ้ารั่ว |
พระราชบิดา | พระเจ้ารามประเดิด |
ประสูติ | ป. คริสต์ทศวรรษ 1300 เมาะตะมะ |
สวรรคต | ค.ศ. 1363/64 725 ME เมาะตะมะ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
นางจันทะมังคะละ[1] (พม่า: စန္ဒာမင်းလှ, ออกเสียง: [sàɴdà mɪ́ɴ l̥a̰] สั่นด่ามิงละ; ? – 1363/64) (พงศาวดารมอญพม่าสะกดว่านางจันทรมังคละ[2]) เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าเมาะตะมะ 3 พระองค์ พระเจ้ารามมะไตยพระสวามีพระองค์แรกถูกชีปอนลอบปลงพระชนม์ พระนางจึงยกราชสมบัติให้พระยาอายกำกอง (စောအဲကံကောင်း ซอเอกั่นเกาง์) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 6 แห่งเมาะตะมะ แต่ภายหลังพระนางวางยาพิษปลงพระชนม์พระยาอายกำกอง แล้วเชิญพระยาอายลาว (ဗညားအဲလော บะญาเอลอ) พระเชษฐาต่างพระมารดาจากเมืองสะโตงมาเสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 7[2] นับเป็นพระสวามีพระองค์ที่ 3 ของพระนาง ทำให้สุโขทัยยกทัพมารุกราน พระยาอายลาวทรงพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้
พระประวัติ[แก้]
พระนางจันทะมังคะละประสูติในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ารามประเดิด (ခွန်လော ขุ่นลอ) รัชกาลที่ 2 และเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งเมาะตะมะ พระนางมีพระนามเดิมว่านางอำปะ[3] '(နှင်းအံပို; เสียงอ่านภาษาพม่า: [n̥ɪ́ɴ ʔàɴ pò] นินอั่นโป่) มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาเดียวกัน 1 พระองค์คือพระนางตะละชินซอบุต (တလရှင်စောဗုတ်) พระมเหสีในพระยาอายลาวเช่นเดียวกับพระนางจันทะมังคะละและมีพระเชษฐาต่างพระมารดา 1 พระองค์คือพระยาอายลาว
ใน ค.ศ. 1311 พระนางสูญเสียพระราชบิดาเนื่องจากถูกปลงพระชนม์ระหว่างการยึดอำนาจโดยสมิงมังละ (မင်းဗလ มิงบะละ) พระสวามีของนางอุ่นเรือน (နှင်းဥရိုင် นินอุ๊ไหย่ง์) ผู้เป็นพระปิตุจฉา (อา) พระขนิษฐาของพระเจ้าฟ้ารั่วและพระเจ้ารามประเดิด ต่อมาสมิงมังละและนางอุ่นเรือนได้จัดการให้พระนางอภิเษกกับเจ้าชายสอเซนพระโอรสองค์ใหญ่ของสมิงมังละและนางอุ่นเรือนโดยมีพระโอรส–ธิดาทั้งสิ้น 3 พระองค์คือ[4] เม้ยเน (Mwei Ne), พระมหาเทวี (မဟာဒေဝီ) และพระยาอู่ (ဗညားဦး บะญาอู) กษัตริย์องค์ที่ 8 พระราชบิดาของพระเจ้าราชาธิราช (ရာဇာဓိရာဇ်) หรือ พญาน้อย กษัตริย์องค์ที่ 9
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 17-47.
- ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 21-24.