คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Nursing,
Mahasarakham University
ชื่อย่อพย. / NU
สถาปนา19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (25 ปี) [1]
คณบดีผศ.ดร.จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล[2]
ที่อยู่
อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เลขที่ 41 หมู่ที่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สี███ สีขาว
มาสคอต
ตะเกียงไนติงเกล
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลสุทธาเวช
เว็บไซต์nu.msu.ac.th

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Nursing, Mahasarakham University) เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลศาสตร์ในกำกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ในเขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) สถาปนาขึ้นเป็นลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เพื่อสนองปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันได้ทำการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีแผนเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เดิมกำหนดเปิดสอนในปี พ.ศ. 2544 แต่เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาขาดแคลนพยาบาลอย่างชัดเจน และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยให้เร่งรัดการเพิ่มผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 - 2542 ซึ่งในขณะนั้นมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ผลิตพยาบาลศาสตร์บัณฑิตเพียงสถาบันเดียวคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[3]

ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามในขณะนั้น จึงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการได้รับการบริการ สุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ขอปรับแผนพัฒนา การศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ จากปี พ.ศ. 2544 เป็นปี พ.ศ. 2540 และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1286/2538 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มี รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นประธานกรรมการ[4]

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามริเริ่มโครงการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538[1] และในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะดำเนินงานในรูปแบบการบริหารในลักษณะนอกระบบราชการ ที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยมีสภามหาวิทยาลัยกำกับดูแลทำให้โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เปลี่ยนฐานะมาเป็น“คณะพยาบาลศาสตร์” และประกาศในระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541[5] เป็นต้นมา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นผู้รักษาการคณบดี[3] และถือได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[6]

ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหน่วยงานนอกระบบราชการในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะพยาบาลศาสตร์และสำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา

สัญลักษณ์[แก้]

ดอกปีบเป็นดอกไม้ประจำคณะพยาบาลศาสตร์
  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตะเกียงไนติงเกล

  • สีประจำคณะ

  สีแดง

  • สีประจำหลักสูตร

  สีขาว

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

ต้นปีบหรือต้นกาสะลอง คือต้นไม้ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานภายใน[แก้]

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้


การบริหารงานภายในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[7]
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะพยาบาลศาสตร์
    • กลุ่มงานบริหาร
    • กุ่มงานนโยบาย แผนและคลัง
    • กลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสิต
  • สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ (เทียบเท่าภาควิชา)
    • กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
    • กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน
    • กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
    • กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
    • กลุ่มวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์
    • กลุ่มวิชาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการพยาบาล
  • โรงเรียนผู้สูงอายุ
  • งานวิจัยคณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตร[แก้]

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำการเรียนการสอนทั้งระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี และโททั้งสิ้น 3 หลักสูตร 7 สาขาวิชา ดังนี้


หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[8]
ปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (พย.บ.)
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (พย.ม.)
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร
หลักสูตรประกาศนียบัตร

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่ก่อตั้งคณะจนถึงปัจจุบัน มีรายนามดังนั้น


ทำเนียบคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ 20 กรกฎาคม 2541 - 15 กันยายน 2542 (รักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์)
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ 16 กันยายน 2542 - 1 พฤษภาคม 2543 (รักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์)
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ 2 พฤษภาคม 2543 - 31 พฤษภาคม 2544
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ปฏิบัติราชการแทนคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2544-1 เมษายน 2546

(รองคณบดี ปฏิบัติราชการแทนคณบดี)

5. รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ 2 เมษายน 2546 - 28 สิงหาคม 2551
6. รองศาสตราจารย์ ดร.วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ 29 สิงหาคม 2551-14 กรกฎาคม 2553
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ 15 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2561
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิต แดนสีแก้ว 12 พฤศจิกายน 2561 - 11 พฤศจิกายน 2565
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล 12 พฤศจิกายน 2565 - ปัจจุบัน

สถานที่ตั้งและพื้นที่[แก้]

อาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และสำนักคอมพิวเตอร์ โดยทำการเรียนการสอนภายในอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุคณะพยาบาลศาสตร์ และศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการก่อสร้างอาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ขึ้น สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 วงเงินก่อสร้าง 160,000,000 บาท เลขที่สัญญาจ้าง จ.9/2541 ผู้ออกแบบ CAPE บริษัทผู้รับจ้าง หจก. กำจรกิจก่อสร้าง ใช้เป็นอาคารเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 12,400 ตารางเมตร CODENU ชื่อไทย อาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ อาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นที่ประดิษฐาน พระราชานุสาวรีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกทั้งยังเป็นที่จัดประชุมสัมมนามหาวิทยาลัยหลายครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากภายในตัวอาคารมีห้องประชุมใหญ่และห้องประชุมย่อยหลายห้อง เหมาะในการจัดประชุมสัมมนาระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ใช้ในการจัดกิจกรรมทางการพยาบาลระดับจังหวัดอีกด้วย

การก่อสร้างอาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ นั้นเพื่อใช้เป็นอาคารเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ เพราะในระยะแรกนั้น พ.ศ. 2540-2543 คณะพยาบาลศาสตร์ได้อาศัยใช้อาคารราชนครินทร์เป็นสถานที่ทําการเรียนการสอนชั่วคราว นอกจากนี้ยังอาศัยใช้สถานที่ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเรียนร่วมบางวิชากับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายหลังจึงได้รับจัดสรรจากงบประมาณสร้างอาคารใช้เป็นสถานที่ดําเนินการเรียนการสอน ภายในตัวอาคารยังมีการจัดตั้ง “ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดี” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการสร้างเสริมสุขภาพรูปแบบต่างๆ และจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก” เพื่อเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติในการจัดการศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็ก รวมทั้งพัฒนางานวิจัยและวิชาการด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ปัจจุบันอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ชั้น 1 พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ศูนย์เสริมพัฒนาการเด็ก, ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดี และห้องปฐมพยาบาล
  • ชั้น 2 สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์, ห้องบัณฑิตศึกษา, ห้องทํางานอาจารย์, งานหลักสูตรและจัดการศึกษา, ห้องประชุมท่าขอนยาง, ห้องเรียนรวม (ห้องขามเรียง) ฝ่ายวิจัย/หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา และห้องการเงินและพัสดุ
  • ชั้น 3 ห้องศึกษาด้วยตนเอง, ห้องปฏิบัติการสุขภาพจิต, ห้องประชุมศรีสุข, ห้องเรียนรวม(ห้องมะค่า), ห้องเรียนรวม (ห้องคันธา), ห้องปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่, ห้องเรียนกลุ่มย่อย และห้องประชุมนาสีนวล
  • ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการพยาบาลชุมชน, ห้องปฏิบัติการพยาบาลเบื้องต้น, ห้องปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว, ห้องโสตทัศนูปกรณ์, ห้องประชุมกันทรวิชัย, ศูนย์วิจัย AIDSห้องปฏิบัติการพยาบาล และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

โรงเรียนผู้สูงอายุ[แก้]

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ณ ศาลาวัดเจริญผล ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ เทศบาลตำบลท่าขอนยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าขอนยาง วัดสว่างวารี วัดเจริญผล และชุมชนบ้านท่าขอนยาง จัดเวทีประชาคม “โรงเรียนผู้สูงอายุบ้านท่าขอนยาง” เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ บ้านท่าขอนยางขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดเวทีประชาคมในครั้งนี้ พร้อมนำเสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร และบทบาทขององค์กรภาคีเครือข่ายที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลตำบล ,รพ.สต., วัด, ชุมชน และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กีฬาโฮมหมอเกมส์[แก้]

กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[9] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์

กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คณะพยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติความเป็นมาคณะพยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "คณะผู้บริหาร". สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 BugBigM (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553). "ประวัติความเป็นมาคณะพยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. ทบวงมหาวิทยาลัย. "แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๑. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
  6. คณะพยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "พิธีกตัญญูคุณูปการแด่รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์". สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. คณะพยาบาลศาสตร์. โครงสร้างหน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์. 30 กรกฎาคม 2565.
  8. หลักสูตร
  9. ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]