รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา
หน้าตา
รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา
แผ่นดินสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
[แก้]- สมเด็จพระนารายณ์ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[1]
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็น กรมหลวงโยธาทิพ[2]
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี เป็น กรมหลวงโยธาเทพ[2]
แผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา
[แก้]- หลวงสรศักดิ์ พระราชโอรสเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช ภายหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าเสือ[3]
- นายจบคชประสิทธิ์ ทรงบาศขวา กรมช้าง (เป็นคู่คิดเอาราชสมบัติ) เป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข[4]
- พระอัครมเหสีเดิม (กัน) เป็น พระอัครมเหสีกลาง[4]
- กรมหลวงโยธาทิพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็น พระอัครมเหสีฝ่ายขวา[4]
- กรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็น พระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย[4]
- พระองค์เจ้าชายแก้ว พระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้าน้อยเป็น กรมขุนเสนาบริรักษ์[4]
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ
[แก้]- เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ (พระเจ้าท้ายสระ) เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช[5]
- เจ้าฟ้าพร พระราชโอรสพระองค์น้อย เป็น พระบัณทูรน้อย[5]
- เจ้าแม่วัดดุสิต พระอัครมเหสีกลางในสมเด็จพระเพทราชาที่เป็นพระราชมารดาเลี้ยง เป็น กรมพระเทพามาตย์ [6]
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
[แก้]- เจ้าฟ้าพร พระอนุชาธิราชในพระองค์ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช (ภายหลัง คือ พระเจ้าบรมโกศ)[7]
- เจ้าท้าวทองสุก พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีที่ กรมหลวงราชานุรักษ์[8]
- เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ เจ้าราชนิกูลในสมเด็จพระเพทราชาที่มีความชอบครั้งถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าเสือ เป็น กรมหมื่นอินทรภักดี[9]: 216 [10]: 83
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
[แก้]- พระองค์ขาว พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีขวา ทรงกรมเป็น กรมหลวงอภัยนุชิต[11]
- พระองค์พลับ พระราชชายาเดิม ยกเป็นพระอัครมเหสีซ้าย ทรงกรมเป็น กรมหลวงพิพิธมนตรี[11]
- เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงอภัยนุชิต เป็น กรมขุนเสนาพิทักษ์[11] ภายหลังเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราช[12]
- เจ้าฟ้าเอกทัศ พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี เป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี[11] (ภายหลัง คือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์)
- เจ้าฟ้าอุทุมพร พระราชโอรสที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี เป็น กรมขุนพรพินิต[11] และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[13] ตามลำดับ (ภายหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)
- เจ้าฟ้าพระนเรนทร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เป็น กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์[11]
- พระองค์เจ้าแขก พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นเทพพิพิธ[11]
- พระองค์เจ้ามังคุด พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นจิตรสุนทร[11]
- พระองค์เจ้ารถ พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นสุนทรเทพ[11]
- พระองค์เจ้าปาน พระเจ้าลูกยาเธอ เป็น กรมหมื่นเสพภักดี[11]
- เจ้าฟ้าบรม พระราชธิดา เป็น กรมขุนเสนีย์นุรักษ์
- เจ้าฟ้าอินทสุดาวดี พระราชธิดา ภายหลังพระราชทานให้เป็นพระอัครมเหสีในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ เป็น กรมขุนยิสารเสนี[12] บ้างว่าเป็น เจ้าฟ้านุ่ม ภายหลังพระราชทานให้เป็น กรมขุนพิศาลเสนี
- เจ้าฟ้าจีด พระองค์เจ้าดำพระเจ้าลูกยาเธอสมเด็จพระเพทราชาเป็นพระบิดา[14] เจ้าฟ้าเทพพระธิดาพระเจ้าท้ายสระ เป็นพระมารดา เป็น กรมขุนสุรินทรสงคราม
รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
[แก้]ปี | พระนามเดิม | เฉลิมพระยศ | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ปีใดไม่ปรากฏ | กรมหลวงพิพิธมนตรี พระราชชนนี | สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตุ | [15] | |
เจ้าอาทิตย์ | กรมหมื่นพิทักษ์ภูเบศร์ | พระโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ | [16] | |
พระองค์เจ้าแมงเม่า พระอัครมเหสี | กรมขุนวิมลพัตร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 19
- ↑ 2.0 2.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 103
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 121
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 126
- ↑ 5.0 5.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 172
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 175
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 196
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 203
- ↑ นริศรานุวัตติวงศ์, สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2534). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์. ISBN 978-974-0056-57-7
- ↑ ประยูร พิศนาคะ. (2515). สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง 09. 472 หน้า.
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 218
- ↑ 12.0 12.1 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 226
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 245
- ↑ นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงเแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 104
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 251
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 252
บรรณานุกรม
[แก้]- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.