ศรีอโยธยา
ศรีอโยธยา | |
---|---|
ประเภท | อิงประวัติศาสตร์ |
กำกับโดย | หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล |
แสดงนำ | |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 20 ตอน (ภาค 1) 20 ตอน (ภาค 2) |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 90 นาที (ภาค 1) 60 นาที (ภาค 2) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทรูวิชั่นส์, ทรูโฟร์ยู |
ออกอากาศ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ภาค 1) 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (ภาค 2) – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ภาค 1) 28 มกราคม พ.ศ. 2563 (ภาค 2) |
ศรีอโยธยา ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ และ ทรูโฟร์ยู สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพครบ 90 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยาม กำกับภาพยนตร์ซีรีส์โดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.30 – 22.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และออกอากาศตอนสุดท้ายในภาค 1 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยได้เปิดกล้องถ่ายทำภาค 2 เมื่อวันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561 และออกอากาศตอนแรกของภาค 2 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
สำหรับในภาค 2 ได้มีการเปลี่ยนตัวนักแสดงในบท สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจาก ศรราม เทพพิทักษ์ ซึ่งรับบทในช่วงวัยหนุ่มมาเป็น พันเอกวันชนะ สวัสดี
นักแสดง
[แก้]ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา ภาค 1
รายนามนักแสดงในบทยุคอยุธยา | |
---|---|
นักแสดงหลัก | รับบท |
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม | พระพิมานสถานมงคล (พิมาน) บุตรชายคนเดียวของเจ้าพระยาจักรีผู้วายชนม์ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงเติบโตจากการเลี้ยงดูของพระยาพลเทพผู้เป็นอา เป็นมหาดเล็กประจำพระองค์เจ้าฟ้าสุทัศน์ขัติยราชกุมาร |
เขมนิจ จามิกรณ์ | บุษบาบรรณ์ นางอัปสรสวรรค์จากสวรรค์ชั้นจตุมมหาราชิกา ผู้จุติมาเป็นข้าหลวงในกรมหลวงพิพิธมนตรี นางเป็นผู้รับหน้าที่สืบทอดขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม เป็นบุตรีคนเดียวของเจ้าพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ นางได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ส่งสาส์นไปยังชนรุ่นหลัง |
นพชัย ชัยนาม | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ประสูติแด่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) เป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรและเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา |
สินจัย เปล่งพานิช | กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระขนิษฐาของ กรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวัสสาใหญ่) และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร |
จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร | เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร พระราชโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ ทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชโปรดการเสด็จติดตามพระบรมชนกไปทุกแห่งหนด้วยทรงตระหนักว่าจะต้องทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อไป |
ศรราม เทพพิทักษ์ (ภาค 1) /พ.อ.วันชนะ สวัสดี (ภาค 2) | หลวงยกกระบัตรเมืองตาก (สิน) ได้รับการนำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตั้งแต่ยังเยาว์ พร้อมกับทองด้วง และ บุนนาค จนกลายเป็นสหายสนิทกัน หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาตาก |
ธีรภัทร์ สัจจกุล | คุณทองด้วงเป็นมหาดเล็กในกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร) ครั้งเมื่อทรงดำรงตำแหน่งกรมพระวังบวรสถานมงคล พร้อมกับคุณบุนนาค หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี |
เพ็ญเพชร เพ็ญกุล | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ประสูติแด่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อได้ทรงกรมเป็นกรมขุนพรพินิต ครองราชย์ราว 2 เดือน ก็สละราชสมบัติให้พระเชษฐาคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ แล้วผนวชจนได้พระนาม"ขุนหลวงหาวัด" |
อาณัตพล ศิริชุมแสง | หลวงไกรชาญฤทธิ์ บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ เป็นตัวแทนของนักรบกรุงศรีอยุธยาโดยสายเลือด สมรสกับนางทองประศรี และมีบุตรชายคือทองหยิบ |
ชินมิษ บุนนาค | คุณบุนนาคเป็นมหาดเล็กในกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร) ครั้งเมื่อทรงดำรงตำแหน่งกรมพระวังบวรสถานมงคล พร้อมกับคุณทองด้วง หลังเสร็จศึกพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุทุมพรบริบาล |
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็น พระบรมกษัตราธิราชองค์ที่ ๓๑ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา
เป็นพระโอรส สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและศาสนา จนกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการศาสนา อันเป็นต้นแบบอารยธรรมแก่กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
รัดเกล้า อามระดิษ | กรมหมื่นพิมลภักดี (พระองค์เจ้าแมงเม่า) ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศที่ทรงกรม ทรงเป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร และเจ้าฟ้ารุจจาเทวี |
รฐา โพธิ์งาม | เจ้าจอมราตรี เป็นพระสนมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระญาติของสมเด็จพระพันวัสสา ได้รับหน้าที่ดูแลบุษบาบรรณ์มาตั้งแต่เด็กๆ คอยอบรมสั่งสอนหญิงสาวทั้งในเรื่องหน้าที่ที่มีต่อบ้านเมือง และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ |
พิมดาว พานิชสมัย | เจ้าฟ้ารุจจาเทวีทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ ทรงเป็นพระเชษฐภคินีของเจ้าฟ้าสุทัศน์ฯ ประสูติแต่กรมหมื่นพิมลภักดี ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ในตัวพระพิมานสถานมงคล |
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ | เจ้าจอมแขเป็นญาติห่างๆ ของพระยาพลเทพ และพระกำนัลนารีสังข์ที่ถูกนำเข้ามาถวายตัว เพื่อให้ใช้มนตร์ดำในการครอบงำพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ นางยอมทำทุกอย่างด้วยความกตัญญูที่มีต่อพระยาพลเทพ เจ้าจอมแขลักลอบมีความสัมพันธ์กับสนิทเสน่ห์ก่อนจะถวายตัว |
ปิยะ เศวตพิกุล | พระกำนัลนารีสังข์ น้องชายของพระยาพลเทพ อาของพิมาน เป็นขันทีข้าราชสำนักฝ่ายใน ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณ์ภาชน์ และเป็นผู้นำนางบำเรอมาถวายตัวแก่พระเจ้าอยู่หัว |
ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ | พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ พระญาติในองค์สมเด็จพระพันวัสสา สืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชบวรบพิตรพิมุข ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ท่านเป็นผู้ถวายการสอนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการรบแด่เจ้าฟ้าสุทัศ และบรรดาขุนพลของกรุงศรี |
ภาวิดา มอริจจิ | นางทองประศรี ภรรยาเอกของหลวงไกรชาญฤทธิ์ มีบุตรชายคือทองหยิบ |
ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ | ทองหยิบ เป็นบุตรของคุณไกรกับนางทองประศรี ที่เกิดและเติบโตมาในเรือนพระยาพิชัย หลังจากทองหยิบเกิดได้ครบเดือน ก็เกิดศึกพระเจ้าอลองพญาขึ้น ทองหยิบได้พบกับวายุและได้มอบกำไลให้ เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมด |
สุรพล พูนพิริยะ | พระยาพลเทพ อาของพิมานเป็นผู้ดูแลควบคุมการค้าในท่าเรือนานาชาติของกรุงศรีอยุธยา
และได้ใช้โอกาสในการหาประโยชน์ด้วยการทำการค้าของตน สั่งสมอิทธิพลและความมั่งคั่งส่วนตัวควบคู่กันไปด้วย เป็นคนที่เห็นประโยชน์ส่วนตัวมาก่อนประเทศชาติ |
พรเลิศ พิพัฒน์รุ่งเรือง | นายชอบ ขุนศึกแห่งเรือนพระยาพิชัย เป็นคนสนิทของหลวงไกรชาญฤทธิ์หลังจากเสียชีวิตแล้ว วิญญาณของนายชอบก็ยังคงคอยปกปักษ์เรือนพระยาพิชัยไม่ให้คนภายนอกกล้ำกรายเข้าไปได้ |
นางฉิม เมียของนายชอบ เป็นคนเข้มแข็ง ช่วยเหลือนางทองประศรีในการดูแลบ่าวไพร่ในเรือน | |
อาทิตยา บุญยะเลี้ยง | ลูกจันทน์ นางพี่เลี้ยงของบุษบาบรรณ์ เป็นบุตรสาวของนายชอบ ขุนศึกแห่งเรือนพระยาพิชัยเติบโตมากับบุษบาบรรณ์ นางคอยดูแลและปกป้องบุษบาบรรณ์ รวมถึงแอบคอยเป็นแม่สื่อส่งเพลงยาวจากพระพิมานให้อีกด้วย |
นักแสดงรับเชิญกิตติมศักดิ์ | รับบท |
หม่อมราชวงศ์มงคลชาย ยุคล | สมเด็จพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246 |
เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ชื่นชอบการเสด็จประพาส โดยแต่งกายแบบสามัญชน เพื่อเรียนรู้ทุกข์สุขของราษฎร |
วฤธ หงสนันทน์ | พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ครองราชย์สมบัติระหว่าง พ.ศ. 2251-2275 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร ส่วนพระนาม “พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ” มาจากนาม พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง |
หม่อมหลวงสราลี กิติยากร | กรมหลวงอภัยนุชิตหรือ พระพันวัสสาใหญ่ พระมเหสีฝ่ายขวาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระธิดาในกรมพระราชวังหลังในรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา พระบิดาเป็นเชื้อสายอินเดีย วรรณะพราหมณ์ จากเมืองรามนคร รัฐมัชฌิมประเทศ และตั้งรกรากอยู่บ้านสมอพลือ จังหวัดเพชรบุรี |
ปกรณ์ ลัม | เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และทรงเป็นกวีที่โดดเด่นแห่งยุค นอกจากพระปรีชาทางด้านวรรณศิลป์แล้วยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดภายในเขตพระราชฐาน |
วรนุช ภิรมย์ภักดี | เจ้าฟ้าสังวาล ทรงเป็นพระธิดาของพระองค์เจ้าแก้วลูกเธอในสมเด็จพระเพทราชา และเจ้าฟ้าเทพลูกเธอในสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่กลับฝ่าฝืนกฎมณเฑียรบาล จนต้องพระราชอาญา |
นายจบคชประสิทธิ์ รับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงคชบาท
หรือ นายทรงบาทขวาช้างทรง และเป็นกำลังแก่สมเด็จพระเพทราชา ปราบกบฏเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จึงได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลังในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา | |
ทิน โชคกมลกิจ | พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์โก้นบอง มีพระราชประสงค์จะรวบรวมแผ่นดิน และเผยแผ่พุทธศาสนา สิ้นพระชนม์ระหว่างการรบที่อยุธยา เจ้าฟ้ามังระได้อัญเชิญพระบรมศพกลับกรุงอังวะ |
วิวิศน์ บวรกีรติขจร | กรมหมื่นจิตสุนทร เป็นพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา จึงไม่มีสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ ภายหลังจึงก่อกบฏเพื่อชิงราชบัลลังก์ แต่ถูกพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรประหารชีวิต |
อภิสร สุขวัฒนาศัย | กรมหมื่นสุนทรเทพ เป็นพระพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา ภายหลังได้ร่วมกับกรมหมื่นจิตสุนทรก่อกบฏ จึงถูกพระราชอาญาให้ประหารชีวิต |
สรวิศน์ ทองมาก | กรมหมื่นเสพภักดี เป็นพระพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา ภายหลังได้ร่วมกับกรมหมื่นจิตสุนทรก่อกบฏ จึงถูกพระราชอาญาให้ประหารชีวิต |
ทุงโกโก | พระเจ้ามังลอก พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์ต่อเจ้าพระเจ้าอลองพญา เป็นกษัตริย์ที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา |
ทองเอก ปิยะวาท | เจ้าฟ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา เมื่อพระเจ้าอลองพญาเสด็จสวรรคตที่กรุงศรีอยุธยา ทำให้มีพระราชประสงค์ที่จะยกกองทัพมาแก้แค้น |
โจนาธาน โฮลแมน | มหานรธา แม่ทัพคู่พระทัยของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งได้เป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ใน สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 |
ทวีศักดิ์ อเล็กซานเดอร์ ธนานันท์ | เนเมียวสีหบดี 1 ใน 68 แม่ทัพคู่พระทัยของ พระเจ้าอลองพญา และเป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือใน สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 |
อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ | มหาดเล็กในเจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร |
นักแสดงเด็ก | รับบท |
กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ | บุษบาบรรณ์ |
ณัฐิดา รัตนภิรมย์ | เจ้าฟ้ารุจจาเทวี |
รภัสสิทธิ์ สุวิวัฒน์ชัย | เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร |
กันตพงศ์ เจริญสุข | พิมาน มหาดเล็กประจำพระองค์เจ้าฟ้าสุทัศ |
รายนามนักแสดงในบทยุคปัจจุบัน | |
นักแสดงหลัก | รับบท |
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม | ดร.พิมาน อุทัยวงศ์ |
จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร | วายุ เกรียงไกรฤทธิ์ |
รัดเกล้า อามระดิษ | ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงพวงแก้ว อุทัยวงศ์ |
พิมดาว พานิชสมัย | พลอยนภา |
อาณัตพล ศิริชุมแสง | ดร.อาคม พงษ์อยุธย์ |
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ | นรี ไตรรัตนดำรงค์ |
ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ | นายเชิด |
รายนามนักแสดงสมทบในภาคที่ 2 | |
สาวิกา ไชยเดช | สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี / สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ |
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล | คุณหญิงบัว (รับเชิญกิตติมศักดิ์) |
ชยุต โชติวิจักขณ์ | พระยาอักษรสุนทรศาสตร์ / สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (รับเชิญกิตติมศักดิ์) |
สกรรจ์รณ เชาว์รัตน์ (โอ๊ค Dragon Five) | ผู้กำกับเอ็มวี |
ทุงโกโก | พระเจ้ามังลอก |
นพดล บัณฑิตย์ | นายก่าย |
หม่อมหลวง บวรนวเทพ เทวกุล | พระยาจ่าแสนยากร |
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ | กรมหลวงบาทบริจา |
บงกช เบญจรงคกุล | เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง |
สราวุธ มาตรทอง | สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (คุณบุญมา) |
ชาคริต แย้มนาม | ขุนพัฒน์/ไหฮอง แซ่แต้/หยง แซ่แต้ |
พิยดา จุฑารัตนกุล (วัยสาว)/ภราไดย สุวรรณรัฐ | ท่านนกเอี้ยง/กรมพระเทพามาตย์ |
ศุภรดา เต็มปรีชา | เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล พระขนิษฐาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี และภรรยาของ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) |
โสตถิพันธุ์ คำลือชา | เจ้าคุณชายพู พระอนุชาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี |
ชลิดา ตันติพิภพ | กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ |
สุรพล เศวตเศรนี | พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์/เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) (รับเชิญกิตติมศักดิ์) |
อติรุจ กิตติพัฒนะ | มหาดเล็กคนสนิทเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (รับเชิญ) |
ธีธัช จรรยาศิริกุล | ไอ้ชุ่ม |
สันติสุข พรหมศิริ | พระชนกทอง ณ บางช้าง พระบิดาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี |
ปานเลขา ว่านม่วง | สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระมารดาของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี |
ธนโชติ กุสุมรสนานันท์ | ราชทูตกรุงศรีอยุธยา |
จันทรจิรา เทวกุล ณ อยุธยา | กรมขุนยิสารเสนี |
พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร | |
ชัยวัฒน์ ทองแสง | สนิทเสน่ห์ |
รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง
[แก้]งานประกาศรางวัล | วันประกาศผล | สาขารางวัล | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผลการตัดสิน | |
---|---|---|---|---|---|
1 | รางวัลคึกฤทธิ์ | 20 เมษายน 2561 | สาขาศิลปะการแสดง | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ |
2 | รางวัล PRESS AWARDS เณศไอยรา | 29 เมษายน 2561 | ภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | ชนะ |
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ | |||
นักแสดงนำชายจากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ | |||
นักแสดงนำหญิงจากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
เขมนิจ จามิกรณ์ | ชนะ | |||
3 | รางวัล BAZARR x F.A.C.E Awards | 12 พฤษภาคม 2561 | สาขา Entertainment | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ |
4 |
งานประทานรางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
ครั้งที่ 6 รางวัลพิฆเนศวร |
5 สิงหาคม 2561 | ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ |
นักแสดงนำชายจากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ | |||
นักแสดงนำหญิงจากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
เขมนิจ จามิกรณ์ | ชนะ | |||
นักแสดงนำชายกิตติมศักดิ์จากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
นพชัย ชัยนาม | ชนะ | |||
นักแสดงนำหญิงกิตติมศักดิ์จากภาพยนตร์ซีรีส์
ยอดเยี่ยมแห่งปี |
สินจัย เปล่งพานิช | ชนะ | |||
5 | งานประทานรางวัลคเณศมยุเรศวรทองคำ
ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 |
19 สิงหาคม 2561 | ภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยม | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | ชนะ |
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยม | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ | |||
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ | |||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | สินจัย เปล่งพานิช | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | รัดเกล้า อามระดิษ | ชนะ | |||
ดาวรุ่งชายยอดเยี่ยม | ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ | ชนะ | |||
6 | คนดีรัตนโกสินทร์ - บุคคลต้นแบบ | 2 กันยายน 2561 | บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ |
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น | สินจัย เปล่งพานิช | ชนะ | |||
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น | รัดเกล้า อามระดิษ | ชนะ | |||
บุลคลต้นแบบศิลปิน-นักแสดงดีเด่น | เขมนิจ จามิกรณ์ | ชนะ | |||
บุลคลต้นแบบตัวอย่างเยาวชนไทยดีเด่น | ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ | ชนะ | |||
7 | ราษฎร์บัณฑิต คนดี คนเก่ง ประเทศไทย | 30 กันยายน 2561 | รางวัลเกียรติคุณ
สาขา การแสดงและการละครดีเด่น |
ชนะ | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์เทิดพระเกียรติยอดเยี่ยม | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ | |||
ดารานำกิตติมศักดิ์ฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ศรัณยู วงษ์กระจ่าง | ชนะ | |||
ดารานำกิตติมศักดิ์ฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | สินจัย เปล่งพานิช | ชนะ | |||
ดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม | อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ | |||
ดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | รัดเกล้า อามระดิษ | ชนะ | |||
8 | สังขเณศ รางวัลคนดีแห่งปี
รางวัลคุณภาพแห่งปี |
25 พฤศจิกายน 2561 | ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | ชนะ |
ผู้กำกับภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ | |||
นักแสดงนำชายภาพยนตร์ซีรีส์
อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี |
อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ | |||
นักแสดงนำหญิงภาพยนตร์ซีรีส์
อิงประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี |
เขมนิจ จามิกรณ์ | ชนะ | |||
นักแสดงนำชายกิตติมศักดิ์
จากภาพยนตร์ซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี |
เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ | ชนะ | |||
9 | ทีวีสีขาว | 2 ธันวาคม 2561 | นักแสดงนำชายดีเด่น | อนันดา เอเวอริ่งแฮม | ชนะ |
ละครสร้างสรรค์ดีเด่น | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ผู้กำกับการแสดงดีเด่น | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงนำหญิงดีเด่น | เขมนิจ จามิกรณ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงสมทบชายดีเด่น | นพชัย ชัยนาม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น | สินจัย เปล่งพานิช | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
10 | 23rd Asian TV Awards | 11-12 มกราคม 2562 | Best Direction (Fiction)
(รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) |
ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | เสนอชื่อเข้าชิง |
Best Actor In A Leading Role
(รางวัลดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม) |
อนันดา เอเวอริ่งแฮม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
Best Actress In A Supporting Role
(รางวัลดาราสมทบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม) |
สินจัย เปล่งพานิช | ชนะ | |||
Best Actor In A Supporting Role
(รางวัลดาราสมทบฝ่ายชายยอดเยี่ยม) |
นพชัย ชัยนาม | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เข้าชิง Best Theme Song
(รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม) |
ทฤษฎี ณ พัทลุง | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
11 | รางวัลพระตรีมูรติทองคำ | 20 มกราคม 2562 | ภาพยนตร์ซีรีส์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | ชนะ |
ผู้กำกับภาพยนตร์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ | |||
ดาราชายส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น | จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร | ชนะ | |||
ดาราเยาวชนส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่น | ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ | ชนะ | |||
12 | รางวัลบุคคลแห่งชาติ | 3 กุมภาพันธ์ 2562 | รางวัลบุคคลแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงละครโทรทัศน์ | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | ชนะ |
13 | New York FestivalsTV & Film Awards | 9 เมษายน 2562 | Best Performance by an Actor | อนันดา เอเวอริ่งแฮม[1] | Finalist Certificate |
Best Performance by an Actress | เขมนิจ จามิกรณ์[2] | Finalist Certificate | |||
Best Camerawork | ตนัย นิ่มเจริญพงศ์
ศิวพล ประจักษ์บุญเจษฎา ธีรพงษ์ ทรงพระ |
ชนะ | |||
14 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 | 21 กรกฎาคม 2562 | ละครยอดเยี่ยม | ภาพยนตร์ซีรีส์ศรีอโยธยา | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | เขมนิจ จามิกรณ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | สินจัย เปล่งพานิช | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ดนัย นิ่มเจริญพงศ์
ศิวพล ประจักษ์บุญเจษฎา ธีรพงษ์ ทรงพระ |
เสนอชื่อเข้าชิง | |||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | สิริกัณณ์ ศรีจุฬาภรณ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เพลงละครยอดเยี่ยม | "ศรีอยุธยา" ขับร้องโดย ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ | เสนอชื่อเข้าชิง | |||
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | ปรางค์เพชร ตระกูลเผด็จไกร
ดร. สุรัตน์ จงตา ดร. กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ |
ชนะ | |||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | พัฒน์ฑริก มีสายญาติ
นพพร เกิดศิลป์ |
ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Winners Gallery - New York Festivals". tvfilm.newyorkfestivals.com.
- ↑ "Winners Gallery - New York Festivals". tvfilm.newyorkfestivals.com.