หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
ชื่อเกิดหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
เกิด16 มีนาคม พ.ศ. 2496[1]
ประเทศไทย
เสียชีวิต15 กันยายน พ.ศ. 2565 (69 ปี)
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บิดาหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล
มารดานางภักดี สมรรคะบุตร
คู่สมรสโสด
อาชีพ
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ละครโทรทัศน์
  • ละครเวที
  • ผู้เขียนบท
  • อาจารย์สอนการแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2527–2565
รางวัล
พระสุรัสวดีภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 - ช่างมันฉันไม่แคร์[2]
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 - ช่างมันฉันไม่แคร์
สุพรรณหงส์สุพรรณหงส์เกียรติยศ
พ.ศ. 2564
คมชัดลึกบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2565 - Six Character มายาพิศวง

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือที่นิยมเรียกกันว่า หม่อมน้อย (16 มีนาคม พ.ศ. 2496 – 15 กันยายน พ.ศ. 2565) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที ผู้เขียนบท และอาจารย์สอนการแสดงชาวไทย และที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล

ประวัติ[แก้]

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล (โอรสในหม่อมเจ้าสุทธาสิโนทัย เทวกุล) กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยหม่อมน้อยเป็นพระปนัดดา (เหลน) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ผู้เป็นท่านปู่

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานทางด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

โดยมีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ผลงานกำกับภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540)

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565[3] ด้วยโรคมะเร็งปอดโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน[4] ในวันเดียวกับ Six characters มายาพิศวง ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพกำกับ เข้าฉายเป็นวันแรก[5] โดยกำหนดสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 17–23 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[6] และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[7][8]

ผลงาน[แก้]

กำกับภาพยนตร์[แก้]

ละคร[แก้]

ละครเวที[แก้]

  • ALL MY SON (2517) [11] - แสดงที่หอประชุม A.U.A
  • บัลเลต์พระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” (2518) - แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
  • The Lower Depths (2517, 2518) [12] - แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ
  • IMPROMPTU (2520) - แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
  • LES MALENTANDU (2524) [13] - แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เทพธิดาบาร์ 21 (2529) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • พรายน้ำ (2533) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ราโชมอน (2534) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
  • ปรัชญาชีวิต (2531-2533) - แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น
  • พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
  • แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ฉลองวันเกิดครบ 67 ปี “หม่อมน้อย” โดยมี "แพนเค้ก-แต้ว" นำทีมลูกศิษย์อวยพรสุดอบอุ่น
  2. หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
  3. สิ้น “หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือ “หม่อมน้อย” ในวัย 68 ปี
  4. 6 (2022-09-16). "เผยเหตุเสียชีวิต ไอจีหม่อมน้อย เคลื่อนไหวหลังสิ้น กล่าวถึงนักแสดงที่ดี". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  5. ช็อกวงการ "หม่อมน้อย" เสียชีวิตแล้ว
  6. matichon (2022-09-16). "สวดพระอภิธรรม 'หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล' ณ วัดเทพศิรินทร์". มติชนออนไลน์.
  7. matichon (2022-09-24). "กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพหม่อมน้อย ณ วัดเทพศิรินทราวาส". มติชนออนไลน์.
  8. "กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงฯ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย)". www.thairath.co.th. 2022-09-24.
  9. ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง The Seagull ของ อันตัน เชคอฟ (Anton Chekhov) ปี ค.ศ. 1896
  10. ดัดแปลงจากบทละครเวทีเรื่อง ราโชมอน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  11. สร้างจากบทละครเวทีของ ARTHER MILLER ในปี ค.ศ. 1947
  12. สร้างจากบทละครเวทีของ Maxim Gorky ในปี ค.ศ. 1901
  13. สร้างจากบทประพันธ์ของ ELBERT CARMU
  14. "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิง "สุพรรณหงส์ครั้งที่ 30...30 ยังแจ๋ว" เพิ่มรางวัล "ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม" ให้คนไทยมีส่วนร่วมวงการหนัง". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-09-11. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]