กรมพระเทพามาตย์ (กัน)
กรมพระเทพามาตย์ | |
---|---|
พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา | |
ดำรงพระยศ | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 — 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 |
พระราชสวามี | สมเด็จพระเพทราชา |
พระราชบุตร | แม่อยู่หัวนางพระยา (นิ่ม)[1] |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
สวรรคต | พ.ศ. 2251 |
กรมพระเทพามาตย์ หรือ สมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาศ[2] พระนามเดิม กัน เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระเพทราชา
พระประวัติ[แก้]
กรมพระเทพามาตย์ มีพระนามเดิมว่ากัน เป็นบาทบริจาริกาข้าหลวงเดิมในสมเด็จพระเพทราชาตั้งแต่ก่อนครองราชย์ มีธิดาคนหนึ่งชื่อนิ่ม เมื่อพระเพทราชารับนางกุสาวดีมาเป็นภรรยาและให้กำเนิดบุตรชาย นางกันได้เลี้ยงดูพระกุมารนั้น (ภายหลังพระกุมารได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี) เมื่อพระเพทราชาครองราชย์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2231 จึงทรงตั้งเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา[1]
ในรัชสมัยพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรมพระเทพามาตย์[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2245 เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรริษยาตรัสน้อย จึงร่วมกันลวงตรัสน้อยมาเข้าเฝ้าแล้วจับไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วรีบไปเข้าเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ ณ วัดดุสิต เพื่อขอพึ่งพระบารมี[4]
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กรมพระเทพามาตย์มีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัยกีเจ้า และสวรรคตในปีเถาะ (ราว พ.ศ. 2251)[5] จึงมีพระราชโองการให้สร้างพระเมรุมาศ พระสงฆ์สดับปกรณ์ 10,000 รูป ตามราชประเพณี[6]
รายการอ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 318
- ↑ ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 453
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 162
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 344
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 348
- บรรณานุกรม
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6