อ้วยโช่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้วยโช่ (หฺวางชู)
黄初
ค.ศ 220 เดือน 10 – ค.ศ. 226
โจผี (จักรพรรดิเว่ย์เหวินตี้)
สถานที่ประเทศจีน (วุยก๊กในยุคสามก๊ก)
พระมหากษัตริย์โจผี (จักรพรรดิเว่ย์เหวินตี้)
เหตุการณ์สำคัญโจผีก่อตั้งรัฐวุยก๊ก
การบุกง่อก๊กของโจผี
ช่วงเวลา
← ก่อนหน้า
เหยียนคัง (ราชวงศ์ฮั่น)
ถัดไป →
ไท่เหอ
อ้วยโช่ (หฺวางชู)
ภาษาจีน黄初

อ้วยโช่[a] หรือชื่อในภาษาจีนกลางคือ หฺวางชู (จีน: 黄初; พินอิน: Huángchū) เป็นชื่อศักราชในรัชสมัยของจักรพรรดิโจผีแห่งวุยก๊ก (เว่ย์เหวินตี้) ในยุคสามก๊กของจีน ชื่อศักราชอ้วยโช่ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 220 ถึง ค.ศ. 226 รวมเวลา 7 ปี ถือเป็นชื่อศักราชแรกของวุยก๊ก ในศักราชอ้วยโช่ปีที่ 7 เดือน 5 จักรพรรดิโจยอย (เว่ย์หมิงตี้) ขึ้นครองราชย์และยังคงใช้ชื่อศักราชอ้วยโช่ต่อไปจนครบปี[2]

ฝ่ายขุนศึกซุนกวนในตอนแรกก็ใช้ชื่อศักราชอ้วยโช่เช่นกันเพราะเวลานั้นซุนกวนสวามิภักดิ์เป็นรัฐประเทศราชของวุยก๊ก จนกระทั่งศักราชอ้วยโช่ปีที่ 3 เมื่อซุนกวนประกาศตั้งตนเป็นอิสระจากวุยก๊กจึงเปลี่ยนชื่อศักราชเป็นของตนเองว่าหฺวางอู่ (黃武)[3][4]

การเปลี่ยนชื่อศักราช[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • ศักราชอ้วยโช่ปีที่ 1 (ค.ศ. 220)— เดือน 10 วันที่ 29 วุยอ๋องโจผีสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิและก่อตั้งรัฐวุยก๊ก[5][6]
  • ศักราชอ้วยโช่ปีที่ 7 (ค.ศ. 226) — เดือน 10 วันที่ 17 จักรพรรดิโจผี (เว่ย์เหวินตี้) สวรรคต จักรพรรดิโจยอย (เว่ย์หมิงตี้) ขึ้นครองราชย์[7][8]

ตารางเทียบศักราช[แก้]

อ้วยโช่ 1 2 3 4 5 6 7
ค.ศ. 220 221 222 223 224 225 226
จ๊กก๊ก เจี้ยนอัน 25 เจี้ยนอัน 26
เจี๋ยงบู๋ 1
เจี๋ยงบู๋ 2 เจี๋ยงบู๋ 3
เจี้ยนซิง 1
เจี้ยนซิง 2 เจี้ยนซิง 3 เจี้ยนซิง 4
ง่อก๊ก เจี้ยนอัน 25 เจี้ยนอัน 26 เจี้ยนอัน 27
หฺวางอู่ 1
หฺวางอู่ 2 หฺวางอู่ 3 หฺวางอู่ 4 หฺวางอู่ 5

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63 บรรยายความในเหตุการณ์ที่โจผีขึ้นเสวยราชย์ว่า "ฝ่ายพระเจ้าเหี้ยนเต้แขงพระทัยถือพระแสงกระบี่แลตราหยกสำหรับกษัตริย์กับหนังสือมอบราชสมบัติใบหนึ่ง ขึ้นไปมอบให้โจผี ๆ ก็รับ แล้วส่งหนังสือให้ขุนนางอ่านประกาศแก่ขุนนางแลราษฎรทั้งปวง จึงถวายพระนามว่าพระเจ้าอ้วยโช่ โจผีก็ตั้งอยู่ในที่สมมุติกษัตริย์แต่นั้นมา (พ.ศ. ๗๖๓)"[1] คำว่า อ้วยโช่ แท้จริงเป็นชื่อศักราช แต่สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ระบุว่าเป็นชื่อในฐานะกษัตริย์ของโจผี

อ้างอิง[แก้]

  1. "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 27, 2023.
  2. 李崇智,《中國歷代年號考》,第15頁。
  3. 罗新,《走马楼吴简中的建安纪年简问题》,《文物》2002年第10期,第92-95頁。
  4. 連先用,《論孫權未奉「延康」、「黃初」年號》,《許昌學院學報》2015年第4期,第23-39頁。
  5. 5.0 5.1 魏書二文帝紀  – โดยทาง Wikisource.「〔延康元年十月〕庚午,王升壇即阼,百官陪位。事訖,降壇,視燎成禮而反。改延康為黃初,大赦。」
  6. 6.0 6.1 資治通鑑魏紀一  – โดยทาง Wikisource.「〔黃初元年十月〕辛未,升壇受璽綬,即皇帝位,〈《考異》曰:陳《志》:『丙午,行至曲蠡,漢帝禪位。庚午,升壇即祚。』袁《紀》亦云:『庚午,魏王即位。』按《獻帝紀》,乙卯始發禪冊,二十九日登壇受命。又文帝受禪碑至今尚在,亦云辛未受禪。陳《志》、袁《紀》誤也。范《書》云:『魏遣使求璽綬,曹皇后不與,如此數輩,后乃呼使者,以璽抵軒下,因涕泣橫流曰︰「天不祚爾!」左右皆莫能仰視。』按此乃前漢元后事,且璽綬無容在曹后之所,此說妄也。〉燎祭天地、嶽瀆,改元,大赦。」
  7. 7.0 7.1 魏書三明帝紀  – โดยทาง Wikisource.「〔黃初〕七年夏五月,帝病篤,乃立為皇太子。丁巳,即皇帝位,大赦。……太和元年春正月,……」
  8. 8.0 8.1 資治通鑑魏紀二  – โดยทาง Wikisource.「〔黃初七年五月〕丁巳,帝殂。……太子即皇帝位,尊皇太后曰太皇太后,皇后曰皇太后。……太和元年……」

บรรณานุกรม[แก้]

ก่อนหน้า อ้วยโช่ ถัดไป
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก:
เหยียนคัง
ศักราชของวุยก๊ก
(ค.ศ. 220 - 226)
ไท่เหอ