โจเท้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจเท้ง
曹騰
ต้าฉางชิว (大長秋)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 146 (ป. 146) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นหฺวัน
จงฉางชื่อ (中常侍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 126 (126) – ค.ศ. 146 (146)
กษัตริย์จักรพรรดิฮั่นชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
ปั๋วโจว มณฑลอานฮุย
เสียชีวิตป. ปลายคริสต์ทศวรรษ 150
บุตร
อาชีพขันที, ข้าราชการ
ชื่อรองจี้ซิง (季興)
ตำแหน่งเฟ่ยถิงโหว (費亭侯)
โจเท้ง
พระมรณนาม
จักรพรรดิเกาวุย (魏高帝)

โจเท้ง (จีน: 曹騰, 643-702) ในภาษาจีนฮกเกี้ยน หรือ เฉาเถิง ในภาษาจีนกลาง ชื่อรอง จี้ซิง (季興) ขันทีผู้มีชีวิตระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน. เขารับใช้จักรพรรดิถึง 4 พระองค์ (ชุ่น,ชง,จื้อ,ฮวน). เขาเป็นบิดาบุญธรรมของ โจโก๋, และเป็นปู่บุญธรรมของ โจโฉ, ผู้ก่อตั้งรัฐ วุยก๊ก ใน ยุคสามก๊ก. ใน พ.ศ. 763 เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์วุยโดยบุตรชายของโจโฉ โจผี, โจเท้งได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "จักรพรรดิเกาวุย" (魏高帝), กลายเป็นขันทีเพียงผู้เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ได้รับเกียรตินี้

ชีวิต[แก้]

โจเท้งรับราชการในราชสำนักฮั่นระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอัน. ใน พ.ศ. 663 เมื่อ จักรพรรดิฮั่นชุ่น ยังคงเป็นองค์ชายหลิวเป่า, เติ้ง ซุย หรือ เติ้งไทเฮา ได้แต่งตั้งให้โจเท้งมารับใช้องค์ชายเพราะโจเท้งเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, เจียมเนื้อเจียมตัว และรอบคอบ. โจเท้งได้รับความไว้วางพระทัยจากจักรพรรดิฮั่นชุ่นและกลายเป็นพระสหายสนิทของพระองค์. ใน พ.ศ. 669 เมื่อจักรพรรดิฮั่นชุ่นเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ, โจเท้งได้เลื่อนขึ้นเป็นขันทีชั้นผู้ใหญ่

หลังจากจักรพรรดิฮั่นชุ่นเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 687, พระราชโอรสองค์เดียวของจักรพรรดิฮั่นชุ่นคือ องค์ชายหลิวปิ่ง พระชนมายุเพียง 1 พรรษาจึงขึ้นครองสิริราชสมบัติสืบต่อเป็น จักรพรรดิฮั่นชง แต่ครองได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคตโดยไร้รัชทายาท ขุนพล เหลียงจี้ จึงสนับสนุนองค์ชายหลิวจวั่นพระชนมายุ 7 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อเป็น จักรพรรดิฮั่นจื้อ แต่องค์จักรพรรดิก็ได้แสดงความไม่พอพระทัยต่อขุนพลเหลียงจี้ ทำให้เหลียงจี้ตัดสินใจวางยาพิษปลงพระชนม์จักรพรรดิฮั่นจื้อเสียใน พ.ศ. 689. ราชสำนักจึงแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอีกครั้งในเรื่องการสรรหาผู้สืบทอดราชบัลลังก์

โดยโจเท้งได้อยู่ทางฝั่งของเหลียงจี้ในการสนับสนุนองค์ชายหลิวจื้อขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฮั่นฮวน กระทั่งถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 702

ครอบครัว[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. p. 48. ISBN 978-90-04-15605-0.
  • de Crespigny, Rafe (2010). Imperial warlord: a biography of Cao Cao 155-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-18522-7.
  • Fan Ye (5th century). Book of the Later Han (Houhanshu), Volume 78.