อ้าวจุ๋น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โฮจุ้น)
อ้าวจุ๋น (หู จุน)
胡遵
ขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. 256 (256)
กษัตริย์โจมอ
หัวหน้ารัฐบาลสุมาเจียว
มหาขุนพลบุกภาคตะวันออก
(征東大將軍 เจิงตงต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจมอ
หัวหน้ารัฐบาลสุมาสู
ขุนพลบุกภาคตะวันออก
(征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
หัวหน้ารัฐบาลสุมาสู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่
เสียชีวิต12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a]
บุตรหู กว่าง
หู เฟิ่น
หู เลี่ย
หู ฉี
บุตรชายอีก 2 คน
อาชีพขุนพล
สมัญญานามอินมี่โหว (陰密侯)

อ้าวจุ๋น หรือ โฮจุ้น หริอ โฮจุ๋น (เสียชีวิต 12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หู จุน (จีน: 胡遵; พินอิน: Hú Zūn) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีนและเป็นคนสนิทของสุมาอี้ เข้าร่วมในการทัพต้านการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง, การบุกเลียวตั๋งของสุมาอี้, ยุทธการที่ตังหิน, การปราบกบฏบู๊ขิวเขียม เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

อ้าวจุ๋นเป็นชาวอำเภอหลินจิง (臨涇縣 หลินจิงเซี่ยน) เมืองฮันเต๋ง (安定郡 อานติ้งจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่

ในปี ค.ศ. 233 หูเป๋าจฺวีจือจื๋อ (胡薄居姿職) ประมุขชนเผ่าซฺยงหนูที่อยู่บริเวณแนวชายแดนเมืองฮันเต๋งได้ก่อกบฏ สุมาอี้ส่งอ้าวจุ๋นและคนอื่น ๆ ยกไปโจมตีและปราบปรามกบฏเป็นผลสำเร็จ[2]

ในปี ค.ศ. 234 สุมาอี้ส่งอ้าวจุ๋นไปร่วมสนับสนุนกุยห้วยในการต้านการบุกของจูกัดเหลียง[3]

ในปี ค.ศ. 238 กองซุนเอี๋ยนแห่งเลียวตั๋งก่อกบฏ อ้าวจุ๋นเป็นขุนพลใต้บังคับบัญชาของสุมาอี้ในการปราบกองซุนเอี๋ยน อ้าวจุ๋นโจมตีและเอาชนะปีเอี๋ยนและเอียวจอ ขุนพลของกองซุนเอี๋ยน[4]

ในปี ค.ศ. 251 สุมาสูขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักวุยก๊ก อ้าวจุ๋น รวมถึงจูกัดเอี๋ยน บู๊ขิวเขียม อองซอง และต้านท่ายต่างรักษาเขตรับผิดชอบของตน[5]

ในปี ค.ศ. 252 ฤดูหนาวเดือน 11 อ้าวจุ๋นพร้อมด้วยอองซอง บู๊ขิวเขียม และคนอื่น ๆ รบชนะทัพง่อก๊ก[6] แต่ในเดือน 12 ปีเดียวกัน ทั้งหมดพ่ายแพ้ให้กับจูกัดเก๊กขุนพลง่อก๊ก[7]

ในปี ค.ศ. 255 อ้าวจุ๋นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) จากความดีความชอบในการมีส่วนร่วมในการปราบกบฏบู๊ขิวเขียมและพวก[8][9]

อ้าวจุ๋นเสียชีวิตในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 256[a] หลังจากที่เสียชีวิต อ้าวจุ๋นได้รับการเลื่อนขั้นย้อนหลังให้เป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) และได้รับสมัญญานามว่า อินมี่โหว (陰密侯)[10]

ครอบครัว[แก้]

อ้าวจุ๋นมีบุตรชาย 6 คน ได้แก่ หู กว่าง (胡廣), หู เฟิ่น (胡奮), หู เลี่ย (胡烈), หู ฉี่ (胡岐) และบุตรชายอีก 2 คนที่ไม่ปรากฏชื่อ[11][12]

หู กว่างมีตำแหน่งเป็นขุนนางทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ) และเสนาบดีเจ้ากรมมหาดเล็ก (少府 เฉาฝู่)[13] บุตรชายของหู กว่างชื่อ หู สี่ (胡喜) มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจวชื่อฉื่อ) และนายพันป้องกันชนเผ่าเกี๋ยง (護羌校尉 ฮู่เชียงเซี่ยวเว่ย์)[13]

หู เฟิ่นมีตำแหน่งเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก บุตรสาวของหู เฟิ่นชื่อหู ฟาง (胡芳) เป็นสนมของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยน (จิ้นอู่ตี้)

หู เลี่ยมีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลฉินโจว (秦州刺史 ฉินโจวชื่อฉื่อ) บุตรชายของหู เลี่ยชื่อ หู เยฺวียน (胡淵)

หู ฉี่มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州刺史 ปิงโจวชื่อฉื่อ)

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจมอในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าอ้าวจุ๋นเสียชีวิตในวันจี๋เหม่าในเดือน 7 ของศักราชกำลอปีที่ 1 ในรัชสมัยจักรพรรดิโจมอ[1] เทียบได้กับวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 256 ในปฏิทินกริโกเรียน

อ้างอิง[แก้]

  1. ([甘露元年] 秋七月己卯,衞將軍胡遵薨。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  2. ((青龍元年)秋九月,安定保塞匈奴大人胡薄居姿職等叛,司馬宣王遣將軍胡遵等追討,破降之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
  3. (帝(司馬懿)曰:「亮欲爭原而不向陽遂,此意可知也。」遣將軍胡遵、雍州剌史郭淮共備陽遂,與亮會于積石。臨原而戰,亮不得進,還於五丈原。) จิ้นชู เล่มที่ 1.
  4. ((景初二年六月)淵遣將軍卑衍、楊祚等步騎數萬屯遼隧,圍塹二十餘里。宣王軍至,令衍逆戰。宣王遣將軍胡遵等擊破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  5. (諸葛誕、毌丘儉、王昶、陳泰、胡遵都督四方) จิ้นชู เล่มที่ 2.
  6. (十一月,詔王昶等三道擊吳。十二月,王昶攻南郡,毌丘儉向武昌,胡遵、諸葛誕率衆七萬攻東興。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  7. (甲寅,吳太傅恪將兵四萬,晨夜兼行,救東興。胡遵等敕諸軍作浮橋以度,陳於坻上,分兵攻兩城。城在高峻,不可卒拔。諸葛恪使冠軍將軍丁奉呂據留贊唐咨為前部,從山西上。奉謂諸將曰:「今諸軍行緩,若賊據便地,則難以爭鋒,我請趨之。」乃辟諸軍使下道,奉自率麾下三千人徑進。時北風,奉舉帆二日,即至東關,遂據徐塘。時天雪,寒,胡遵等方置酒高會。奉見其前部兵少,謂其下曰:「取封侯爵賞,正在今日!」乃使兵皆解鎧,去矛戟,但兜鍪刀楯,裸身緣堨。魏人望見,大笑之,不即嚴兵。吳兵得上,便鼓噪,斫破魏前屯,呂據等繼至。魏軍驚擾散走,爭渡浮橋,橋壞絕,自投於水,更相蹈藉。前部督韓綜、樂安太守桓嘉等皆沒,死者數萬。綜故吳叛將,數為吳害,吳大帝常切齒恨之,諸葛恪命送其首以白大帝廟。獲車乘、牛馬、騾驢各以千數,資器山積,振旅而歸。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  8. (吳丞相峻率驃騎將軍呂據、左將軍會稽留贊襲壽春,司馬師命諸軍皆深壁高壘,以待東軍之集。諸將請進軍攻項,師曰:「諸軍得其一,未知其二。淮南將士本無反志,儉、欽說誘與之舉事,謂遠近必應;而事起之日,淮北不從,史招、李繼前後瓦解,內乖外叛,自知必敗。困獸思鬥,速戰更合其志。雖雲必克,傷人亦多。且儉等欺誑將士,詭變萬端,小與持久,詐情自露,此不戰而克之術也。」乃遣諸葛誕督豫州諸軍,自安風向壽春;征東將軍胡遵督青、徐諸軍出譙、宋之間,絕其歸路;師屯汝陽。毌丘儉、文欽進不得鬥,退恐壽春見襲,計窮不知所為。淮南將士家皆在北,眾心沮散,降者相屬,惟淮南新附農民為之用。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
  9. (秋七月,以征东大将军胡遵为卫将军) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
  10. (胡奮,字玄威,安定臨涇人也,魏車騎將軍陰密侯遵之子也。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
  11. (胡烈兒名渊,字世元,遵之孙也。遵,安定人,以才兼文武,累居籓镇,至车骑将军。子奋,字玄威,亦历方任。女为晋武帝贵人,有宠。太康中,以奋为尚书仆射,加镇军大将军、开府。弟广,字宣祖,少府。次烈,字玄武,秦州刺史。次岐,宇玄嶷,并州刺史。) จิ้นจูกงจ้าน
  12. (奮兄弟六人,兄廣,弟烈,並知名。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
  13. 13.0 13.1 (廣字宣祖,位至散騎常侍、少府。廣子喜,字林甫,亦以開濟為稱,仕至涼州刺史、建武將軍、假節、護羌校尉。)จิ้นชู เล่มที่ 57.

บรรณานุกรม[แก้]