ข้ามไปเนื้อหา

พรรครักษ์ผืนป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรครักษ์ผืนป่า
ผู้ก่อตั้งดำรงค์ พิเดช
หัวหน้าอุดมพันธ์ อินทรโยธา
รองหัวหน้า
  • อาวุธ ปรีชาวุฒิ
  • เก่งกาจ ศรีหาสาร
เลขาธิการรพี ชำนาญเรือ
เหรัญญิกรุ่งรัตน ภูมิรัตน์
นายทะเบียนสมาชิกศุภ สมเชื้อเวียง
กรรมการบริหาร
  • ทศพล กรณีย์
  • เขมณัฏฐ์ หมื่นภัทรนิธิ
ประธานที่ปรึกษาดำรงค์ พิเดช
ผู้ช่วยเหรัญญิกศิริวรรณ์ ถาเกตุสี
คำขวัญเพิ่มป่า ลดสารเคมี สู้ภาวะโลกร้อน
ก่อตั้ง9 มกราคม พ.ศ. 2556
ที่ทำการ11 ซอยโชคชัย 4 ซอย 60 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว 10230
สมาชิกภาพ  (ปี 2566)11,484 คน[1]
อุดมการณ์
  • พรรคจะยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • พรรคจะเคารพในสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างเท่าเทียม
  • พรรคจะดำเนินกิจการทางการเมืองด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้
สีสีเขียว
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรครักษ์ผืนป่า หรือ พรรคโอกาสไทย พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และ พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (อักษรย่อ: รป.) พรรคการเมืองที่ก่อตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555[2] มีนาย ดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหัวหน้าพรรคและนายธิติ กนกทวีฐากร เป็นรองหัวหน้าพรรค

โดยที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ 706 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีพิธีเปิดที่ทำการพรรคเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556

ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อพรรคจาก พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย เป็น พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย [3]

ในวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2564 ได้มีมติเลือกนายสุชิน เพียรทอง อดีตนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ เป็นหัวหน้าพรรค และนายดำรงค์ พิเดช เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[4] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565 นายสุชินได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ

ยุคพรรคโอกาสไทย

[แก้]

จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่วิสามัญพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย ครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคโอกาสไทย พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[5] กระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายมิ่งขวัญได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคโอกาสไทยทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ต่อมาในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรคโอกาสไทยได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคกลับมาใช้ชื่อ พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายประเสริฐ อภิปุญญา เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

จากนั้นนายประเสริฐได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคลงวันที่ 17 มกราคม 2567 ซึ่งทางพรรคได้รับทราบการลาออกในวันที่ 26 มกราคม ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[6] ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม 2567 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยที่ประชุมมีมติเลือกนายอุดมพันธ์ อินทรโยธา และนายรพี ชำนาญเรือ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกันนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคและชื่อพรรคเป็น พรรครักษ์ป่า

การเลือกตั้ง

[แก้]

พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทยได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 (เขตดอนเมือง) แทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556 โดยทางพรรคได้ส่งนายวีระพล สุทธิพรพลางกูร โฆษกพรรคลงรับเลือกตั้งปรากฏว่านายวีระพลไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะพ่ายแพ้แก่นาย แทนคุณ จิตต์อิสระ จาก พรรคประชาธิปัตย์

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พรรคได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งโดยได้รับหมายเลขคือ หมายเลข 29 แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ถูก กกต. ประกาศให้เป็นโมฆะ

ต่อมาใน การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เข้าสภาทั้งสิ้น 2 คนคือ นายดำรงค์ พิเดช และนายยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง และได้เข้าร่วมรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลาต่อมา[7]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยจับหมายเลขผู้สมัครบัญชีรายชื่อได้หมายเลข 49 โดยมีนายณัชพล สุพัฒนะ หรือมาร์ค พิทบูล เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 นายประเสริฐ อภิปุญญา เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 และนายณัชพลเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยของพรรค

รายนามหัวหน้าพรรค

[แก้]

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

[แก้]
  • ดำรงค์ พิเดช 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
  • สุชิน เพียรทอง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พรรคโอกาสไทย

[แก้]
  • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[8]
  • ประเสริฐ อภิปุญญา (รองหัวหน้าพรรครักษาการหัวหน้าพรรค) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - 22 มกราคม พ.ศ. 2566

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

[แก้]
  • ประเสริฐ อภิปุญญา 22 มกราคม พ.ศ.2566-ปัจจุบัน

รายนามเลขาธิการพรรค

[แก้]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา

[แก้]
ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 2 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอน 22 ง หน้า 113 28 กุมภาพันธ์ 2556
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
  4. ‘รักษ์ผืนป่าฯ’ เปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค ‘ดำรงค์’ นั่ง ปธ.ที่ปรึกษาฯ ส่วนเพื่อชาติ ‘ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ’ ขึ้นแท่นหัวหน้าพรรค
  5. “ดำรงค์”ส่งไม้ต่อ“มิ่งขวัญ” ปั้น“พรรคโอกาสไทย”เข้าสภา
  6. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. 'ดำรงค์' พา 2 เสียงรักษ์ผืนป่าประเทศไทย หนุน 'บิ๊กตู่' ขอช่วยงานสิ่งแวดล้อม ไม่ยึดเก้าอี้ รมต.
  8. คอนเฟิร์ม 'มิ่งขวัญ' ซบพลังประชารัฐ เตรียมเปิดตัวช่วงสัปดาห์หน้า
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 22 ง หน้า 154 17 มีนาคม พ.ศ. 2559
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (จำนวน ๘ ราย)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]