พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
หม่อม
  • หม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
  • หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
ประสูติ2 ธันวาคม พ.ศ. 2426
สิ้นพระชนม์12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 (51 ปี)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พันเอก

นายพันเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธุ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ได้ถวายการรับเสด็จ และกราบทูลว่า[1]

I have just had a new son,and I shall name him Oscar,and should he have a son he shall be called Gustavus.

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริพรตเป็นพระศีลาจารย์[2] และผนวชเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2447 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[3]

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน[4][5]

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[6] จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 จึงได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[7]

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ สืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แต่เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางรัฐสภาจึงได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ได้ทรงปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าพระองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ให้มีพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นคณะบุคคล เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน 3 คน จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ คือ[8]

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  3. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ ประทับอยู่ที่วังบริเวณตำบลสนามกระบือ ใกล้คลองรอบกรุง เป็นวังหนึ่งในจำนวน 6 วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่สร้างให้กับพระราชนัดดา 6 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถนนหลานหลวง ในปัจจุบัน [9]

สิ้นพระชนม์[แก้]

ในระหว่างที่เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงเผชิญปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะการปรับลดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์จนทำให้เจ้านายบางพระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงมักไม่ได้รับความเคารพจากเจ้านายบางพระองค์ในระหว่างเสด็จในพระราชพิธีต่าง ๆ[10] ส่วนหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบันทึกว่ากรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงถูกกดดันจากการที่รัฐบาลฟ้องศาลเพื่อริบพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมายังมีปัญหาอื่น ๆ ทั้งเรื่องราชการและส่วนพระองค์รุมเร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบทรงพระประชวรเรื้อรัง มีพระกายซูบผอมดำลงเรื่อย ๆ จนประชวรพระโรคซึมเศร้า ในที่สุดจึงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการยิงพระแสงปืนเข้าในพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์บนที่บรรทมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478[11] โดยกรมตำรวจบันทึกรายงานการไต่สวนว่าสาเหตุมาจากทรง ประสบกับเหตุลำบากพระทัยในการปฏิบัติงานในฐานที่ทรงเป็นผู้จัดการพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯ[10]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[12]

พระโอรส-ธิดา[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เสกสมรสกับหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปิยะวัตร; พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – กันยายน พ.ศ. 2501) และหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค; มิถุนายน พ.ศ. 2428 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2512)[1][13] มีพระโอรสธิดารวม 5 องค์

  1. หม่อมเจ้าดวงตา สวัสดิวัตน์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2525) ในหม่อมจำรัส เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519) มีธิดา 2 คน
  2. พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (30 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) ในหม่อมหวน เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์; 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) มีโอรสและธิดา 3 คน
  3. หม่อมเจ้าสรัทกาล (23 สิงหาคม พ.ศ. 2451 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2454) ในหม่อมหวน
  4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536) เสกสมรสกับหม่อมวิภา จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เก่งระดมยิง; พ.ศ. 2460 – มกราคม พ.ศ. 2548) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสอีกครั้งกับหม่อมประพาล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม รจนานนท์; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2472 – 17 มกราคม พ.ศ. 2563) มีธิดารวม 6 คน
  5. หม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล[14] ท.จ.ว.,ภ.ป.ร.3 (18 มกราคม พ.ศ. 2453 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2537) มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงหลุยส์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดิศานุวัติ ดิศกุล ท.จ. (4 สิงหาคม พ.ศ. 2445 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520) มีโอรสและธิดา 3 คน

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 : หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธุ์
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 12 เมษายน พ.ศ. 2443 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ[15]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2443 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ[16]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  2. "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า และหม่อมราชวงศ์, เล่ม 21, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2447, หน้า 357-9
  4. "พระราชพิธีตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 113–114. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 115. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้รั้งตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 18. 8 เมษายน 2471. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชเลขานุการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 18. 31 มีนาคม 2471. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ก): 1332–1333. 7 มีนาคม 2477. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-01-31.
  10. 10.0 10.1 การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, หน้า 70-71
  11. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (รวมเล่ม), หน้า 188-189
  12. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัฒน์จาตุรนต์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 52, ตอน ๐ ง, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2518
  13. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  14. หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ มีพระนามลำลองว่า "ท่านหญิงหลุยส์" ตามพระนามของพระนางหลุยส์ พระอัครมเหสีในพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน
  15. "เลื่อนพระเกียรติยศหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (36): 394. 3 ธันวาคม 2436. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระเจ้าวรวงษเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (3): 17–18. 15 เมษายน 2443. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 294–296. 11 พฤศจิกายน 2463. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  19. ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 6 พฤศจิกายน 2471 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45 หน้า 2364
บรรณานกรม
ก่อนหน้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา