ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สว่าง จักรพันธุ์
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2400
เสียชีวิต14 มิถุนายน พ.ศ. 2473 (73 ปี)
วังกรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
คู่สมรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
บุตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล
บิดามารดาพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
หม่อมพลบ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (22 เมษายน พ.ศ. 2400 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2473) เป็นหม่อมห้ามสะใภ้หลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์[1]

ประวัติ

[แก้]

หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (เดิม : หม่อมราชวงศ์สว่าง ศิริวงศ์) เกิดวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2400 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นธิดาพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศกับหม่อมพลบ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา[2] และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงสู่ขอมาเป็นหม่อมห้ามสะใภ้หลวง และให้ประสูติพระโอรสพระธิดารวม 5 พระองค์ คือ

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ
  3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณา
  4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
  5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล

พระโอรสธิดาทุกพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ แรกประสูติดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้า ยกเว้นที่ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง สะใภ้หลวง ดังพระราชหัถเลขาในรัชกาลที่ 5 ตอนหนึ่งว่า[3]

"...หญิงหว่างออกลูกเป็นชาย ทรงมีความยินดีนัก ด้วยเหมือนดังหมาย ขออย่าให้มีอันตรายประการใดเลย แต่ให้เรียกกันเป็นหม่อมเจ้าก่อนตามยศเดิม เมื่อมาเฝ้าเมื่อใดจึงจะตั้งให้เป็นพระองค์เจ้า จะได้เป็นเกียรติและถูกต้องตามแบบอย่างแต่ก่อนมา..."

หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เวลา 13.10 น. สิริอายุ 74 ปี[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
  2. ราชินิกูลรัชกาลที่ 5 หน้า 145
  3. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ภาค 8, พระนคร : โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2479, หน้า 37
  4. "ข่าวถึงอสัญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 1096. 22 มิถุนายน 2473. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)