เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์
เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2499 (67–68 ปี) |
พรรคการเมือง | พลังธรรม |
นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และเป็นประธานกรรมการบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ประวัติ
[แก้]เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ในการบริหารองค์กรหลายแห่ง เช่น เป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหารบริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยสแตรทีจิค แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)[1]
เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรม โดยได้รับเลือกตั้งในเขตเดียวกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง และนายสุเทพ อัตถากร ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ปี พ.ศ. 2535[2] และเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[3] ในสัดส่วนของพรรคพลังธรรม ซึ่งนายเรืองวิทย์ เป็นสมาชิกอยู่ด้วย[4] แต่ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งหลังได้รับการแต่งตั้งด้วยระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี 2009 ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๖/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒ นายพงศธร สิริโยธิน ๓ นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ ๔ นางเตือนใจ นุอุปละ)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๙๔/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการเมือง (นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์, นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์, นายอำนาจ ชนะวงศ์)
- ↑ "เส้นทางปฏิรูปการเมืองไทย (1) - Nidambe11". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖