สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต)
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
---|---|
พิกัด | 14°04′04″N 100°35′55″E / 14.067778°N 100.598611°E |
ขนส่งมวลชน | เชียงราก, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (โครงการ) |
เจ้าของ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ผู้ดำเนินการ | สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา |
ความจุ | 25,000 คน[1][2][3] (เฉพาะเก้าอี้ 19,375 ที่นั่ง) |
ขนาดสนาม | 95 × 62 m (312 × 203 ft)[2] |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541 |
ปรับปรุง | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2545 |
ผู้รับเหมาหลัก | คริสเตียนีและนีลเส็น |
การใช้งาน | |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ (2553–2557) สโมสรฟุตบอลโดม (2558–) สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด (2559–) ฟุตบอลทีมชาติไทย (บางนัด) |
สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13, เฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพมหานคร และราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นเจ้าภาพ, งานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และการแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทย สนามแห่งนี้มีความจุทั้งหมด 20,000 ที่นั่ง เป็นสนามกีฬากลางแจ้งมาตรฐานขนาดใหญ่พร้อมลู่วิ่งยางสังเคราะห์ จำนวน 9 ช่องวิ่ง สำหรับเล่นและแข่งฟุตบอล กรีฑา และกีฬากลางแจ้งอื่น ๆ มีไฟฟ้าส่องสว่างระดับมาตรฐานการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ มีอัฒจันทร์สำหรับนั่งชมโดยรอบ และมีหลังคาทั้งสองฝั่งสนาม สนามแห่งนี้อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของสำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด ในไทยลีก และสโมสรฟุตบอลโดม ในไทยลีก 3
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]มหกรรมกีฬา
[แก้]- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 2–9 ธันวาคม พ.ศ. 2537
- สนามแข่งขันฟุตบอลหญิงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 6–20 ธันวาคม พ.ศ. 2541
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 10–16 มกราคม พ.ศ. 2542
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 9–16 ธันวาคม พ.ศ. 2544
- พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬา กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 27 "ปทุมวันเกมส์" พ.ศ. 2545
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 22–30 มกราคม พ.ศ. 2553
- การแข่งขันกีฬาสเปเชี่ยลโอลิมปิกไทยภาคกลาง 13–15 กันยายน พ.ศ. 2554
- การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 37 20–27 ตุลาคม พ.ศ. 2555[4]
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาสถาบันพยาบาลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 30 7–9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
- การแข่งขันกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งชาติ ประจำปี 2556[5]
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาสถาบันพยาบาลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 31 28–31 มกราคม พ.ศ. 2558
- พิธีเปิดและปิดการแข่งขันกีฬาราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 31 7–14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
- งานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์
- งานมหกรรมฉลองครบรอบ 53 ปี ไทยทีวีสีช่อง 3 26 มีนาคม พ.ศ. 2566
ฟุตบอล
[แก้]- รีโว่ คัพ 2566–67 รอบชิงชนะเลิศ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567
- ช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 รอบชิงชนะเลิศ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
- ช้าง เอฟเอคัพ 2564–65 รอบชิงชนะเลิศ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
- ช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 รอบชิงชนะเลิศ 11 เมษายน พ.ศ. 2564
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563[6]
- การแข่งขันกีฬาฟุตบอลลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 13–14 ตุลาคม พ.ศ. 2558
- BGFC – Cerezo Ozaka Invitation Super Match 2013 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
- โตโยต้า ลีกคัพ 2556 รอบชิงชนะเลิศ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
- โตโยต้า ลีกคัพ 2555 รอบชิงชนะเลิศ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
- อลิอันซ์ จูเนียร์ ฟุตบอล แคมป์ 2012 รอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- การแข่งขันฟุตบอลกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย รอบคัดเลือก (เป็นประจำทุกปี)
สโมสรฟุตบอลที่เคยหรือกำลังใช้สนามอยู่
[แก้]- 2544 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ดิวิชั่น1)
- 2551 สโมสรฟุตบอลปทุมธานี เอฟซี
- 2553–2557 เพื่อนตำรวจ
- 2556 ลูกอีสานการบินไทย
- 2558–ปัจจุบัน โดม เอฟซี
- 2559–ปัจจุบัน แบงค็อก ยูไนเต็ด
การแข่งขันฟุตบอลระดับทีมชาติ
[แก้]วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รายการ |
---|---|---|---|---|
5 กันยายน 2562 | ไทย | 0–0 | เวียดนาม | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย - รอบที่ 2 |
15 ตุลาคม 2562 | ไทย | 2–1 | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย - รอบที่ 2 |
18 มกราคม 2563 | ไทย | 0–1 | ซาอุดีอาระเบีย | ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 - รอบ 8 ทีมสุดท้าย |
11 ธันวาคม 2565 | ไทย | 6–0 | พม่า | ฟุตบอลกระชับมิตร |
14 ธันวาคม 2565 | ไทย | 0–1 | จีนไทเป | ฟุตบอลกระชับมิตร |
26 ธันวาคม 2565 | ไทย | 4–0 | ฟิลิปปินส์ | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 - รอบแบ่งกลุ่ม |
2 มกราคม 2566 | ไทย | 3–1 | กัมพูชา | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 - รอบแบ่งกลุ่ม |
10 มกราคม 2566 | ไทย | 3–0 | มาเลเซีย | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 - รอบรองชนะเลิศ |
16 มกราคม 2566 | ไทย | 1–0 | เวียดนาม | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 - รอบชิงชนะเลิศ |
14 พฤศจิกายน 2567 | ไทย | เลบานอน | ฟุตบอลกระชับมิตร | |
17 พฤศจิกายน 2567 | ไทย | ลาว | ฟุตบอลกระชับมิตร |
รักบี้ฟุตบอล
[แก้]- งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558
- กีฬารักบี้ฟุตบอล การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 36 “หัวหมากเกมส์”
กรีฑา
[แก้]- การแข่งขันกรีฑาชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยและนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- การแข่งขันกรีฑานานาชาติ Asian Grand Prix Series
กิจกรรมอื่น ๆ
[แก้]- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2549 การซ้อมช่วยตัวประกันโดยเฮลิคอปเตอร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- การเสนอเป็นสนามแข่งขัน ฟุตบอลเอเชียนคัพ 2019[7]
- การแข่งขันกรีฑาประเพณีสวนกุหลาบสัมพันธ์ ประจำทุกปี
- กีฬาประเพณี รร.ทหาร – ตำรวจ ครั้งที่ 43 ประจำปี 2548
คอนเสิร์ต
[แก้]- 27–28 มกราคม พ.ศ. 2567 – NCT 127 3RD TOUR 'NEO CITY : BANGKOK – THE UNITY
งานประกาศรางวัล
[แก้]กิจกรรมทางการเมือง
[แก้]- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – ครบรอบ 1 ปี การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 (การชุมนุม 193 วันรำลึก)
การเดินทาง
[แก้]- รถโดยสารประจำทาง สาย 29 และ 510 เข้ามาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังจากนั้นให้ต่อรถ NGV ภายในมหาวิทยาลัย
- รถตู้ สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ธรรมศาสตร์ รังสิต, สายจตุจักร - ธรรมศาสตร์ รังสิต, สายธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ - ธรรมศาสตร์ รังสิต
- รถไฟ สามารถนั่งรถเร็ว รถธรรมดา หรือรถชานเมืองของสายเหนือหรือสายตะวันออกเฉียงเหนือลงที่สถานีรถไฟเชียงราก และต่อรถสองแถวที่หน้าสถานี โดยรถสองแถวจะผ่านประตูหน้าสนามแข่งขัน
- รถ NGV ภายในมหาวิทยาลัย สาย 1 และ สาย 3 จะผ่านบริเวณลานพญานาค ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าสนาม
- รถรับจ้าง ภายในมหาวิทยาลัยมีรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ค่าโดยสารประมาณ 10-15 บาท
ภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Thammasat Stadium - Soccerway".
- ↑ 2.0 2.1 "Thammasat Stadium". Thai National Football Team. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ "True Stadium - Bangkok". Europlan. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ http://satit.pn.psu.ac.th/index.php/map/63-sport-37-new/117-37
- ↑ http://www.treasury.go.th/ewt_news.php?nid=106&filename=index
- ↑ "ผู้ว่ากกท. ส่งมอบ 4 สนามให้ เอเอฟซี 27 ธ.ค.นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-25. สืบค้นเมื่อ 2019-12-25.
- ↑ www.siamsport.co.th/Sport_Football/140404_141.html
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์