กีฬาเฟสปิก 1999

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7
เมืองเจ้าภาพไทย กรุงเทพมหานคร/จังหวัดปทุมธานี ไทย
คำขวัญความเสมอภาค เป็นหนึ่งเดียวในโลก (Equality in One World)
ประเทศเข้าร่วม34
นักกีฬาเข้าร่วม2,258
กีฬา17 ชนิด
พิธีเปิด10 มกราคม ค.ศ. 1999
พิธีปิด16 มกราคม ค.ศ. 1999
ประธานพิธีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (พิธีเปิด)
ผู้จุดคบเพลิงพนม ลักษระพริ้ม (นักกีฬาว่ายน้ำ) และ จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ (นักแสดงรับเชิญ)
สนามกีฬาหลักสนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
(พิธีเปิด และ พิธีปิด)

กีฬาเฟสปิกเกมส์ 1999 การแข่งขันกีฬาเฟสปิก ครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปทุมธานี ราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 10 - 16 มกราคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]

การดำเนินการ[แก้]

คำขวัญ และ สัญลักษณ์[แก้]

ความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวในโลก[แก้]

"ความเสมอภาคเป็นหนึ่งเดียวในโลก" หรือ "Equality in One World" คำขวัญประจำการแข่งขันกีฬาเฟสปิกกมส์ ครั้งที่ 7 เป็นวลีที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่สนับสนุนและส่งเสริม "ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา" อย่างชัดเจนที่สุด หัวใจของปรัชญากีฬา คือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาพรวมของมิตรภาพ ซึ่งจะไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขวางกั้นไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกัน และ ควมบกพร่องทางร่างกาย เมื่อทุกคนเข้าสู่เฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ทุกคนจะถูกหล่อหลอมให้เข้าสู่แนวร่วมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในที่สุด

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ[แก้]

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 มีสัญลักษณ์เป็นรูป คนพิการนั่งบนรถเข็นภายใต้หลังคาทรงไทย พร้อมด้วยสี 5 สี อันได้แก่ แดง เหลือง ฟ้า เขียว และดำ อันแสดงออกถึงความหมายดังนี้

  • สี 5 สี หมายถึง ความร่วมมือของประเทศสมาชิกในสหพันธ์เฟสปิกที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้
  • หลังคาทรงไทย แสดงถึง รูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะของบ้านเรือนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
  • คนพิการที่นั่งอยู่บนรถเข็น แสดงถึงความพยายามของนักกีฬาที่จะบรรลุเป้าหมายอันสำคัญสู่ความสำเร็จ

สัญลักษณ์กีฬา[แก้]

เหรียญรางวัล[แก้]

สนามแข่งขัน[แก้]

สนามกีฬาหลัก[แก้]

ธรรมศาสตร์ รังสิต[แก้]

  • สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต (พิธีเปิด-ปิด, กรีฑา, ฟุตบอล)
  • ยิมเนเซี่ยม 1 (วีลแชร์ บาสเก็ตบอล, บอคเซีย, ยกน้ำหนัก)
  • ยิมเนเซี่ยม 2 (แบตมินตัน)
  • ยิมเนเซี่ยม 3 (วอลเลย์บอลนั่ง)
  • ยิมเนเซี่ยม 4 (ฟันดาบ)
  • ยิมเนเซี่ยม 5 (เทเบิลเทนนิส)
  • ยิมเนเซี่ยม 6 (โกลบอล)
  • ยิมเนเซี่ยม 7 (ยูโด)
  • ลาน 2 (ยิงธนู)
  • สนามเทนนิส (วีลแชร์ เทนนิส)
  • ศูนย์กีฬาทางน้ำ (กีฬาทางน้ำ)
  • หมู่บ้านนักกีฬา
  • ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (IBC)
  • ศูนย์สื่อมวลชน (MPC)

หัวหมาก[แก้]

  • สนามยิงปืน (ยิงปืน)

พิธีเปิด - ปิดการแข่งขัน[แก้]

พิธีเปิด[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2542 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย

การแสดงพิธีเปิด[แก้]

ในการแสดงพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ได้สานต่อแนวคิดจาก คำขวัญของการแข่งขันคือ "ความเสมอภาค เป็นหนึ่งเดียวในโลก" ซึ่งหมายถึงบนโลกนี้มีทั้งผู้พิการและคนที่ร่างการแข็งแรงรวมกัน และหากร่วมกันยินดีให้กับความเสมอภาค ก็จะช่วยสร้างสรรค์ให้โลกนี้ดีขึ้นได้ โดยประสานแนวคิด ความเสมอภาค เข้ากับ วัฒนธรรมไทย ผ่านรูปแบบของ ภาพ, เสียง และ ภาษาที่ต้องการจะสื่อสารให้คนทุกชาติและคนพิการเข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านการแสดงทั้งหมด 5 องก์ คือ[1]

  • องก์ที่ 1 - Spirit of Thailand (ใช้ผู้แสดง 1,500 คน)
  • องก์ที่ 2 - Games of Grace (ใช้ผู้แสดง 1,297 คน)
  • องก์ที่ 3 - The Dignity Flame (ใช้ผู้แสดง 552 คน)
  • องก์ที่ 4 - Visions of Victory (ใช้ผู้แสดง 1,940 คน)
  • องก์ที่ 5 - Shining Glory : Equality in One World (ใช้ผู้แสดง 6,120 คน)

พิธีปิด[แก้]

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร(พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล(พระยศในขณะนั้น) โดยเสด็จด้วย

การแสดงพิธีปิด[แก้]

ในการแสดงพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ 7 ธีมสำคัญในส่วนนี้คือ "การส่งต่อความเสมอภาคอันเป็นหนึ่งเดียวในโลกนี้ให้เป็นนิรันดร์" ผ่านมหกรรมการแสดงแสง สี เสียง ทั้งหมด 5 องก์ คือ[1]

  • องก์ที่ 1 - ไชโย เชียร์โร
  • องก์ที่ 2 - Memory of Love
  • องก์ที่ 3 - The Eternal Flame
  • องก์ที่ 4 - FESPIC Hope
  • องก์ที่ 5 - Flowing Forever : Equality in One World

การแข่งขัน[แก้]

ชนิดกีฬา[แก้]

เฟสปิกเกมส์ในครั้งนี้ บรรจุชนิดกีฬาทั้งหมด 17 ประเภท

ตารางการแข่งขัน[แก้]

แม่แบบ:ปฏิทินกีฬาเฟสปิก 1999

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน[แก้]

ตารางสรุปเหรียญรางวัล[แก้]

  *  เจ้าภาพ (ไทย)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 จีน (CHN)2059045340
2 ไทย (THA)*657382220
3 ออสเตรเลีย (AUS)34372394
4 เกาหลีใต้ (KOR)31262481
5 ฮ่องกง (HKG)29181865
6 ญี่ปุ่น (JPN)27302683
7 Chinese Taipei (TPE)16171952
8 นิวแคลิโดเนีย (NCL)148224
9 Macau (MAC)87419
10 พม่า (MYA)6141838
11 อินเดีย (IND)67720
12 ศรีลังกา (SRI)33410
13 ตองงา (TGA)3115
14 เวียดนาม (VIE)2259
15 ฟีจี (FIJ)21710
16 Wallis et Futuna (WLF)2158
17 อินโดนีเซีย (INA)2013
18 มาเลเซีย (MAS)110920
19 สิงคโปร์ (SIN)1416
20 นิวซีแลนด์ (NZL)1236
21 ฟิลิปปินส์ (PHI)1214
22 ภูฏาน (BHU)1124
 วานูวาตู (VAN)1124
24 มองโกเลีย (MGL)1102
25 คาซัคสถาน (KAZ)1034
26 นาอูรู (NRU)1012
27 กัมพูชา (CAM)0314
28 ปากีสถาน (PAK)0202
29 ปาปัวนิวกินี (PNG)0101
รวม (29 ประเทศ)4643623141140

ในการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ครั้งนี้ นักกีฬาไทยสามารถทำผลงานได้ทั้งหมด เหรียญ แบ่งเป็น

  • เหรียญทอง จำนวน 65 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่
  • เหรียญเงิน จำนวน 37 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่
  • เหรียญทองแดง จำนวน 82 เหรียญ จาก ชนิดกีฬา ได้แก่

การตลาด[แก้]

สัญลักษณ์นำโชค[แก้]

แมวไทย (สีสวาด) กำลังถือคบเพลิง นั่งอยู่บนรถเข็นในลักษณะเคลื่อนที่

ของที่ระลึก[แก้]

สื่อประชาสัมพันธ์[แก้]

สิทธิการออกอากาศ[แก้]

ไทย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

เพลงประจำการแข่งขัน[แก้]

เกร็ดการแข่งขัน[แก้]

ผู้สนับสนุน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า กีฬาเฟสปิก 1999 ถัดไป
กีฬาเฟสปิก 1994
(ปักกิ่ง จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน)

การแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์
(10 มกราคม - 16 มกราคม ค.ศ. 1999)
กีฬาเฟสปิก 2002
(ปูซาน เกาหลีใต้ เกาหลีใต้)

แม่แบบ:ประเทศในกีฬาเฟสปิก 1999 แม่แบบ:กีฬาเฟสปิก 1999