ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิศมัย วิไลศักดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
พิศมัย วิไลศักดิ์ เกิดวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2482]] เกิดที่ตรอกสุเหร่า ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อ นายหงวน วิไลศักดิ์ อาชีพค้าขาย มารดาชื่อ นางปุย วิไลศักดิ์ เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็กในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ได้รับการเลี้ยงดูในวังหลวงโดยครู[[จำเรียง พุทธประดับ]] ([[ศิลปินแห่งชาติ]]) ระหว่างปี พ.ศ. 2494-2498 พิศมัยจบการศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา และ[[วิทยาลัยนาฏศิลป์]] [[กรมศิลปากร]]
พิศมัย วิไลศักดิ์ เกิดวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2482]] เกิดที่ตรอกสุเหร่า ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อ นายหงวน วิไลศักดิ์ อาชีพค้าขาย มารดาชื่อ นางปุย วิไลศักดิ์ เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็กในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ได้รับการเลี้ยงดูในวังหลวงโดยครูจำเรียง พุทธประดับ ([[ศิลปินแห่งชาติ]]) ระหว่างปี พ.ศ. 2494-2498 พิศมัยจบการศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา และ[[วิทยาลัยนาฏศิลป์]] [[กรมศิลปากร]]


พิศมัยเริ่มแสดงละครเรื่อง ราชาธิราช ขณะนั้นอายุ 10 ปี แสดงเป็นตัวทหารยืนเสาธรรมดา ที่โรงละครเก่าติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาได้เป็นดาราประจำโรงเรียนนาฏศิลป พิศมัยได้แสดงเป็นนางเอกละคร เรื่อง แว่นแก้ว ในขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ในปีต่อมาได้แสดงเป็นพระเอกโดยแสดงเป็นพระสังข์ ตอนหาปลา หลังจากนั้นเริ่มมีชื่อในการรำฉุยฉายพราหมณ์เป็นที่ขึ้นชื่อ
พิศมัยเริ่มแสดงละครเรื่อง ราชาธิราช ขณะนั้นอายุ 10 ปี แสดงเป็นตัวทหารยืนเสาธรรมดา ที่โรงละครเก่าติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาได้เป็นดาราประจำโรงเรียนนาฏศิลป พิศมัยได้แสดงเป็นนางเอกละคร เรื่อง แว่นแก้ว ในขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ในปีต่อมาได้แสดงเป็นพระเอกโดยแสดงเป็นพระสังข์ ตอนหาปลา หลังจากนั้นเริ่มมีชื่อในการรำฉุยฉายพราหมณ์เป็นที่ขึ้นชื่อ


พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกโดยการชักนำของนักเขียนชื่อดัง ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นนางเอกเรื่อง [[การะเกด]] คู่กับ[[ลือชัย นฤนาท]] และ[[ชนะ ศรีอุบล]] เป็นที่รู้จักจากฉากรำ[[ฉุยฉาย]]ในเรื่อง ภาพยนตร์ฉายติดต่อกันประมาณ 2 เดือน ทำรายได้มากกว่า 2 ล้าน นับเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู
พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกโดยการชักนำของนักเขียนชื่อดัง ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นนางเอกเรื่อง [[การะเกด]] คู่กับ[[ลือชัย นฤนาท]] และ[[ชนะ ศรีอุบล]] เป็นที่รู้จักจากฉากรำฉุยฉาย ในเรื่อง ภาพยนตร์ฉายติดต่อกันประมาณ 2 เดือน ทำรายได้มากกว่า 2 ล้าน นับเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู


และได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกประมาณ 300 เรื่อง ได้แสดงทุกบทบาทและทุกเรื่องที่แสดงได้รับความนิยมจากผู้ชม จน[[เชิด ทรงศรี]] ตั้งฉายาให้ว่า ''ดาราเงินล้าน'' ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง สองฝั่งฟ้า (2503), ดรรชนีนาง (2504), จำเลยรัก (2506), ดวงตาสวรรค์ (2506), โนราห์ (2509) ในจำนวนหลายเรื่องพิศมัยได้ใช้ความสามารถพิเศษในการรำไทย รับบทรำในเรื่องด้วย เช่น โนราห์ (2509), เมขลา (2510), สีดา (2511), หนึ่งนุช (2514), [[ค่าของคน]] (2514), สักขีแม่ปิง (2516), ระห่ำลำหัก (2518)
และได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกประมาณ 300 เรื่อง ได้แสดงทุกบทบาทและทุกเรื่องที่แสดงได้รับความนิยมจากผู้ชม จน[[เชิด ทรงศรี]] ตั้งฉายาให้ว่า ''ดาราเงินล้าน'' ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง สองฝั่งฟ้า (2503), ดรรชนีนาง (2504), จำเลยรัก (2506), ดวงตาสวรรค์ (2506), โนราห์ (2509) ในจำนวนหลายเรื่องพิศมัยได้ใช้ความสามารถพิเศษในการรำไทย รับบทรำในเรื่องด้วย เช่น โนราห์ (2509), เมขลา (2510), สีดา (2511), หนึ่งนุช (2514), [[ค่าของคน]] (2514), สักขีแม่ปิง (2516), ระห่ำลำหัก (2518)
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
ในปี พ.ศ. 2504 ได้ขับร้องเพลง ''หนาวตัก'' เป็นเพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง ดรรชนีนาง ประพันธ์คำร้อง โดย ครูสมาน กาญจนผะลิน และ ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) และในปี พ.ศ. 2511 ได้บันทึกแผ่นเสียงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมากทำให้ได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตช่วยการกุศลอยู่เนื่องๆ
ในปี พ.ศ. 2504 ได้ขับร้องเพลง ''หนาวตัก'' เป็นเพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง ดรรชนีนาง ประพันธ์คำร้อง โดย ครูสมาน กาญจนผะลิน และ ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) และในปี พ.ศ. 2511 ได้บันทึกแผ่นเสียงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมากทำให้ได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตช่วยการกุศลอยู่เนื่องๆ


ชีวิตครอบครัว พิศมัย วิไลศักดิ์ สมรสกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง [[สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์]] ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว และไม่มีบุตรด้วยกัน
ชีวิตครอบครัว พิศมัย วิไลศักดิ์ สมรสกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว และไม่มีบุตรด้วยกัน


ในปี พ.ศ. 2527 พิศมัย วิไลศักดิ์ ได้เริ่มแสดงละครเป็นครั้งแรกจาก เรื่อง ห้องที่จัดไม่เสร็จ แสดงทางช่อง 3 ต่อมาได้แสดงอีกกว่า 200 เรื่อง ระยะหลัง พิศมัย วิไลศักดิ์ หันมารับงานแสดงละคร และเป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นหลัง และได้รับยกย่องให้เป็น [[ศิลปินแห่งชาติ]] [[รายชื่อศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง|สาขาศิลปะการแสดง]] (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี [[พ.ศ. 2553]]
ในปี พ.ศ. 2527 พิศมัย วิไลศักดิ์ ได้เริ่มแสดงละครเป็นครั้งแรกจาก เรื่อง ห้องที่จัดไม่เสร็จ แสดงทางช่อง 3 ต่อมาได้แสดงอีกกว่า 200 เรื่อง ระยะหลัง พิศมัย วิไลศักดิ์ หันมารับงานแสดงละคร และเป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นหลัง และได้รับยกย่องให้เป็น [[ศิลปินแห่งชาติ]] [[รายชื่อศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง|สาขาศิลปะการแสดง]] (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี [[พ.ศ. 2553]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:02, 16 เมษายน 2559

พิศมัย วิไลศักดิ์
พิศมัย วิไลศักดิ์ในปี 2557
พิศมัย วิไลศักดิ์ในปี 2557
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด7 ธันวาคม พ.ศ. 2482 (84 ปี)
คู่สมรสสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2501 - ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2553 - สาขาศิลปะการแสดง - ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ - นักแสดง
พระสุรัสวดีนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2506 - ดวงตาสวรรค์
พ.ศ. 2509 - รางวัลดาราทอง
นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2526 - เงิน เงิน เงิน

พ.ศ. 2542 - กำแพง
สุพรรณหงส์พ.ศ. 2521 -ไร้เสน่หา
พ.ศ. 2550 - บุคคลเกียรติยศ
ชมรมวิจารณ์บันเทิงพ.ศ. 2556 - รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ (Lifetime Achievement Award)
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงสนับสนุนหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 - ไม้เมือง
พ.ศ. 2554 - รางวัลเกียรติยศคนทีวี
เมขลานักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2537 - ปีกมาร
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

พิศมัย วิไลศักดิ์ ชื่อเล่น มี้ (7 ธันวาคม พ.ศ. 2482-) เป็นศิลปินนักแสดงอาวุโสและเป็นครูสอนศิลปะการแสดง เจ้าของฉายา ดาราเงินล้าน มีผลงานแสดงภาพยนตร์ประมาณ 300 เรื่อง

พิศมัย วิไลศักดิ์ ได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2553

ประวัติ

พิศมัย วิไลศักดิ์ เกิดวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2482 เกิดที่ตรอกสุเหร่า ย่านบางลำพู กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อ นายหงวน วิไลศักดิ์ อาชีพค้าขาย มารดาชื่อ นางปุย วิไลศักดิ์ เป็นลูกกำพร้าตั้งแต่เด็กในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการเลี้ยงดูในวังหลวงโดยครูจำเรียง พุทธประดับ (ศิลปินแห่งชาติ) ระหว่างปี พ.ศ. 2494-2498 พิศมัยจบการศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิทยา และวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร

พิศมัยเริ่มแสดงละครเรื่อง ราชาธิราช ขณะนั้นอายุ 10 ปี แสดงเป็นตัวทหารยืนเสาธรรมดา ที่โรงละครเก่าติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาได้เป็นดาราประจำโรงเรียนนาฏศิลป พิศมัยได้แสดงเป็นนางเอกละคร เรื่อง แว่นแก้ว ในขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ในปีต่อมาได้แสดงเป็นพระเอกโดยแสดงเป็นพระสังข์ ตอนหาปลา หลังจากนั้นเริ่มมีชื่อในการรำฉุยฉายพราหมณ์เป็นที่ขึ้นชื่อ

พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกโดยการชักนำของนักเขียนชื่อดัง ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นนางเอกเรื่อง การะเกด คู่กับลือชัย นฤนาท และชนะ ศรีอุบล เป็นที่รู้จักจากฉากรำฉุยฉาย ในเรื่อง ภาพยนตร์ฉายติดต่อกันประมาณ 2 เดือน ทำรายได้มากกว่า 2 ล้าน นับเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู

และได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกประมาณ 300 เรื่อง ได้แสดงทุกบทบาทและทุกเรื่องที่แสดงได้รับความนิยมจากผู้ชม จนเชิด ทรงศรี ตั้งฉายาให้ว่า ดาราเงินล้าน ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง สองฝั่งฟ้า (2503), ดรรชนีนาง (2504), จำเลยรัก (2506), ดวงตาสวรรค์ (2506), โนราห์ (2509) ในจำนวนหลายเรื่องพิศมัยได้ใช้ความสามารถพิเศษในการรำไทย รับบทรำในเรื่องด้วย เช่น โนราห์ (2509), เมขลา (2510), สีดา (2511), หนึ่งนุช (2514), ค่าของคน (2514), สักขีแม่ปิง (2516), ระห่ำลำหัก (2518)

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ขับร้องเพลง หนาวตัก เป็นเพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง ดรรชนีนาง ประพันธ์คำร้อง โดย ครูสมาน กาญจนผะลิน และ ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) และในปี พ.ศ. 2511 ได้บันทึกแผ่นเสียงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมากทำให้ได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตช่วยการกุศลอยู่เนื่องๆ

ชีวิตครอบครัว พิศมัย วิไลศักดิ์ สมรสกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว และไม่มีบุตรด้วยกัน

ในปี พ.ศ. 2527 พิศมัย วิไลศักดิ์ ได้เริ่มแสดงละครเป็นครั้งแรกจาก เรื่อง ห้องที่จัดไม่เสร็จ แสดงทางช่อง 3 ต่อมาได้แสดงอีกกว่า 200 เรื่อง ระยะหลัง พิศมัย วิไลศักดิ์ หันมารับงานแสดงละคร และเป็นครูสอนศิลปะการแสดงให้กับนักแสดงรุ่นหลัง และได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2553

ภาพยนตร์

3

ละครโทรทัศน์

2

ซิตคอม

รางวัล

  • รางวัลสุพรรณเกียรติยศ ในฐานะที่อุทิศตนให้กับวงการภาพยนตร์ไทยและสังคมสม่ำเสมอ บุคคลในวงการให้การยอมรับ และมีจิตวิญญาณรักวงการบันเทิง ในฐานะ บุคคลเกียรติยศ ในงานประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2550 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์-นักแสดง) ประจำปี พ.ศ. 2553

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  • หนึ่งเดียว, ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย, www.popcornmag.com, 2549, ISBN 974-94228-8-0
  • ท่านขุน บุญราศรี, มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล, โกเมนเอก, 2548, ISBN 974-93603-9-7

แหล่งข้อมูลอื่น