พระเจ้ามีนเยเดะบะ
พระเจ้ามีนเยเดะบะ မင်းရဲဒိဗ္ဗ | |
---|---|
พระมหากษัตริย์พม่า | |
ครองราชย์ | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2171 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2172 (1 ปี 41 วัน) |
ก่อนหน้า | พระเจ้าอะเนาะเพะลูน |
ถัดไป | พระเจ้าตาลูน |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2151[1] หงสาวดี |
สวรรคต | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2172 (21 พรรษา) วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน Natdaw 991 ME[2] หงสาวดี |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตองอู |
พระราชบิดา | พระเจ้าอะเนาะเพะลูน |
พระราชมารดา | Khin myo Miat[3] |
ศาสนา | เถรวาท |
พระเจ้ามีนเยเดะบะ (พม่า: မင်းရဲဒိဗ္ဗ, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃.jɛ́ deɪ̯ʔ.pa̰]) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 ของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า พระองค์ครองราชบัลลังก์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2171 หลังจากที่ลอบปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้าอะเนาะเพะลูน ที่ทรงทราบว่าพระองค์ลักลอบเป็นชู้กับนางสนม[4] ธิดาของเจ้าเมืองเชียงตุง พระเจ้าอะเนาะเพะลูนได้ตรัสบริภาษพระองค์อย่างรุนแรงว่าสิ่งที่พระองค์ทำคือการทรยศและไม่สมควรมีพระชนม์อยู่[5]
หลังจากการลอบปลงพระชนม์พระราชบิดา พระเจ้ามีนเยเดะบะก็ทำให้เหล่าเสนาบดีประกาศให้พระองค์เป็นกษัตริย์ แต่พระองค์ก็ยังต้องชิงบัลลังก์กับสองพระปิตุลา พระเจ้าตาลูนและมังรายกะยอฉะวา ซึ่งเสด็จไปที่รัฐฉานเพื่อระดมกำลังทหาร[5] พระเจ้ามีนเยเดะบะ ไม่มีพระราชอำนาจควบคุมอาณาจักร เกินกว่าพะโคซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร ตลอด พ.ศ. 2171 สองพระปิตุลาพระเจ้าตาลูนและมังรายกะยอฉะวา เสด็จกลับมาจากรัฐฉานและควบคุมพม่าตอนบน ในขณะที่คนอื่น ๆ จำนวนมากในพม่าไม่เห็นด้วยกับการปกครองของพระองค์ ใน พ.ศ. 2172 พระเจ้าทาลุนเสด็จลงมาจากอังวะเพื่อพิชิตพม่า กษัตริย์แห่งอาระกันส่งกองทัพไปช่วยพระเจ้ามีนเยเดะบะแต่ก็เปล่าประโยชน์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2172 กษัตริย์ผู้ทำปิตุฆาตถูกยึดอำนาจโดยผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์และส่งตัวพระองค์ให้กับพระเจ้าตาลูน[6] พระเจ้าตาลูนปฏิเสธคำขอของพระองค์ที่จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และสำเร็จโทษพระองค์ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ (Thaw Kaung 2010: 22): The ode Minydeippa eigyin was composed in 1608, after the prince was born.
- ↑ Hmannan Vol. 3 2003: 198
- ↑ Hmannan Vol. 3 2003: 144
- ↑ Rajanubhab, D., 2001, Our Wars With the Burmese, Bangkok: White Lotus Co. Ltd., ISBN 9747534584
- ↑ 5.0 5.1 Harvey 1925: 192–193
- ↑ Phayre 1967: 134
อ้างอิง
[แก้]- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Thaw Kaung, U (2010). Aspects of Myanmar History and Culture. Yangon: Gangaw Myaing.
ก่อนหน้า | พระเจ้ามีนเยเดะบะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอะเนาะเพะลูน | พระมหากษัตริย์พม่า (อาณาจักรพม่ายุคที่ 2) (พ.ศ. 2171 - 2172) |
พระเจ้าตาลูน |