ข้ามไปเนื้อหา

พรรคประชาธรรมไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคประชาธรรมไทย
ผู้ก่อตั้งพิเชษฐ สถิรชวาล
หัวหน้าพิเชษฐ สถิรชวาล
รองเลขาธิการสมภพ ทิพย์ยอแล๊ะ
เหรัญญิกวิชัย สถิรชวาล
โฆษกเยาวเรศน์ ชินภักดี
ผู้อำนวยการพลตรี จิรทีปต์ เรืองสมบูรณ์
รองผู้อำนวยการชูชีพ เยาวพัฒน์
ผู้ช่วยนายทะเบียนรุ่งโรจน์ อิบรอฮีม
ก่อตั้ง30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ถูกยุบ18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
แยกจากพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการ299/28 หมู่บ้านวิสต้าปาร์ค หมู่ 4 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
เว็บไซต์
http://www.prachatumthai.com/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคประชาธรรมไทย พรรคการเมืองของไทยที่ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 53/2561 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีนาย พิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, อดีตผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก., อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และอดีตผู้แทนการค้าไทย เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ[1] และเคยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2562 จำนวน 1 ที่นั่ง

ประวัติ

[แก้]

พรรคประชาธรรมไทย ได้รับหนังสือรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคจาก กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 ที่ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เพื่อรับรองระเบียบ ข้อบังคับ อุดมการณ์และนโยบายของพรรครวมถึงเพื่อทำการเลือกหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคโดยในงานได้มีนักร้องลูกทุ่ง นักแสดง และนักแต่งเพลงลูกทุ่งเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกพรรคเช่น รังษี เสรีชัย ไกรลาศ เกรียงไกร รุ่งเพชร แหลมสิงห์ และ ณพนรรจ์ ขวัญประภา โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายพิเชษฐ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ส่วนนายปณชัย แดงอร่าม เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก[2] และได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[3] แต่ในเวลาต่อมาทางพรรคได้ถอนคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคหลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 6 คนได้ขอลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกพรรคประชาธรรมไทย โดยได้มีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2 ต่อ กกต. เมื่อวันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

กระทั่งวันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 58/2561 (22) ที่ประชุมมีมติรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาธรรมไทย[4] ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธรรมไทยเมื่อวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติให้ยุบเลิกพรรคและได้ยื่นเรื่องการยุบเลิกพรรคไปยัง กกต. ซึ่งทาง กกต. ก็อนุมัติรับรองการยุบเลิกพรรคแล้ว ซึ่ง นายพิเชษฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ตามรอยนาย ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตหัวหน้า พรรคประชาชนปฏิรูป และพลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ อดีตหัวหน้า พรรคประชานิยม ที่ยุบเลิกพรรคและย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[5]

คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธรรมไทย

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
นาย พิเชษฐ สถิรชวาล หัวหน้าพรรค
พล.ท.วีระยุทธ  เพชรบัวศักดิ์ รองหัวหน้าพรรค คนที่๑
นาย สมเพชร  วัฒนะทรัพย์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ ๒
นางสาว วัลลภา สถิรชวาล เลขาธิการพรรค
นาย สมภพ ทิพย์ยอแล๊ะ รองเลขาธิการพรรค
นาย วิชัย สถิรชวาล เหรัญญิกพรรค
นางสาวพิมพ์ลักษณ์  ภิยะรัตน์ รองเหรัญญิกพรรค
นาย รุ่งโรจน์  อิบรอฮีม รองนายทะเบียนสมาชิกพรรค
พล.ต.จิรทีปต์  เรืองสมบูรณ์ ผู้อำนวยการพรรค
๑๐ นายชูชีพ  เยาวพัฒน์ รองผู้อำนวยการพรรค
๑๑ นางสาวเยาวเรศน์ ชินภักดี โฆษกพรรค
๑๒ นาย จำนง หมัดคง กรรมการคนที่ ๑
๑๓ นาย ธนภัทร  จันมลิ กรรมการคนที่ ๒
๑๔ นาย นิคม วงษ์ดินดำ กรรมการคนที่ ๓
๑๕ ร.ต.ต.อุดม ศิริจริยวัตร กรรมการคนที่ ๔

ประวัติการทำงานในรัฐสภา

[แก้]
ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พิเชษฐ สถิรชวาล ยื่นจองชื่อ'พรรคประชาธรรมไทย' ชู แก้3จังหวัดชายแดนใต้". มติชนออนไลน์. 2018-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "รมต.ยุคแม้วนั่งหัวหน้าพรรค 'ประชาธรรมไทย' อดีตนักร้องลูกทุ่งแห่ซบ". ThaiPost. 7 May 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""พิเชษฐ" ยื่นรายละเอียดจัดตั้ง "พรรคประชาธรรมไทย" แล้ว". คมชัดลึกออนไลน์. 2018-05-25.
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาธรรมไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา
  5. ""ประชาธรรมไทย" ยุบพรรคเรียบร้อย ตามรอย "ไพบูลย์โมเดล" เตรียมย้ายซบ พปชร". ข่าวสด. 2021-10-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]