โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์
Joseph Upatham School
ที่ตั้ง
Map
ข้อมูล
ชื่ออื่นย.อ.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญเรียนเป็นเลิศ เชิดชูวินัย พลานามัยสมบูรณ์ เพิ่มพูนคุณธรรม
ผู้ก่อตั้งพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย
รหัส3800201
ผู้อำนวยการบาทหลวงยอห์น บอสโก สุชาติ อุดมสิทธิพัฒนา
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีนกลาง
สี███ ███ เหลือง- เขียว
เพลงJoseph Concelebremus (ละติน)
มาร์ชยอแซฟ
มาร์ชซ่อนกลิ่น
มาร์ชต้นไม้
เว็บไซต์http://www.joseph.ac.th/jsb/

โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์เดิมนั้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดยุวชนชายเพื่อเป็นนักบวชโดยรับสมัครเฉพาะนักเรียนชายที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและมีความประสงค์จะเป็นนักบวช โดยนักเรียนจะต้องเรียนวิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาละติน และศาสนาคริสต์ ปัจจุบันรับนักเรียนจากทุกศาสนา เปิดการเรียนการสอนเป็นแบบสหศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะแบ่งเป็น แผนกชายและแผนกหญิง

ประวัติโรงเรียน[แก้]

พระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เด็กและเยาวชนของชาติพึงสมควรที่จะได้รับอย่างพอเพียง เพื่อจะได้มีวิชาความรู้และความสามารถ ที่จะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้ ท่านเห็นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน พระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง ได้มอบหมายให้พระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ซึ่งเป็นมุขนายกผู้ช่วยในเวลานั้น ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนของมิสซังกรุงเทพฯ ขึ้น เพื่อที่จะรองรับเด็ก และเยาวชนให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ พระสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย ได้เลือกพื้นที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 30 ถนนเพชรเกษม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ก่อสร้างเซมินารีและโรงเรียน และได้ตั้งชื่อว่ายอแซฟอุปถัมภ์ตามชื่อเซมินารีแห่งแรกในประเทศไทย (ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2209 ที่กรุงศรีอยุธยา โดยพระคุณเจ้าปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต โดยให้ชื่อบ้านเณรในสมัยนั้นว่า "บ้านเณรนักบุญยอแซฟ") เดิมนั้นได้รับสมัครเฉพาะนักเรียนชายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกแต่ปัจจุบันนั้นได้รับสมัครนักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นรวมถึงนักเรียนหญิงด้วย

โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ (Joseph Upatham School) เป็นโรงเรียนคาทอลิกสังกัดฝ่ายการศึกษามิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

บริหารงานโดยสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย คณะบาทหลวงมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ, คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ, และคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

สมเด็จพระสันตะปาปากับโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์[แก้]

  • ค.ศ. 1984

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จไปประกอบพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ และทรงเป็นประธานในพิธีบวชบาทหลวงใหม่จำนวน 23 องค์ พร้อมกับทรงปิดปีศักดิ์สิทธิ์สำหรับประเทศไทย ณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

  • ค.ศ.2004

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ทรงส่งพระราชสาสน์แสดงความยินดีแก่โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์เนื่องในโอกาศดำเนินกิจการครบรอบ40ปี

  • ค.ศ.2019

พระคาร์ดินัล แฟร์นันโด ฟิโลนี เป็นผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ไปประกอบพิธีฉลอง 350 ปี มิสซังสยาม ณ อาคารสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จลงณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ เพื่อตั้งขบวนเสด็จไปทรงคำนับบุญราศรีนิโคลัส บุญเกิด กฤษบำรุง ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน และทรงโปรดให้คริสตชนเข้าเฝ้าที่วัดนักบุญเปโตร

แผนก[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ได้มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาตอนปลาย มีการแบ่งเป็น 5 แผนก

  1. แผนกชาย
  2. แผนกหญิง
  3. แผนกอนุบาล
  4. แผนก English programe
  5. แผนก JS

สายการเรียน[แก้]

สายการเรียนของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์

มีการแบ่งแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 5 หลักสูตรได้แก่

  1. คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  2. ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์(คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ)
  3. ศิลปศาสตร์-ภาษาศาสตร์ โดยแบ่งวิชาเอกเป็น 3 วิชาได้แก่ เอกภาษาอังกฤษ เอกภาษาจีน เอกภาษาฝรั่งเศส
  4. หลักสูตรEnglish Programme
  5. หลักสูตรExtra English Course

มีการแบ่งแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็น 4 หลักสูตรได้แก่

  1. หลักสูตรคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  2. หลักสูตรสามัญ
  3. หลักสูตรIntensive English Course
  4. หลักสูตรEnglish Programme

มีการแบ่งแผนการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาเป็น 3 หลักสูตรได้แก่

  1. หลักสูตรสามัญ
  2. หลักสูตรIntensive English Course
  3. หลักสูตรEnglish Programme

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

มีสนามฟุตบอลจำนวน 5 สนาม สนามบาสเกตบอลจำนวน 8 สนาม สนามหญ้าสวนหย่อม ไม้ดอกไม้ประดับทั้งยืนต้น และล้มลุกทั่วบริเวณ ทะเลสาบขนาดประมาณ 30 ไร่ สวนผักและผลไม้ประมาณ 50 ไร่

ภายในบริเวณของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ได้มีการแบ่งพื้นที่สำหรับใช้งานต่างๆ หลายส่วนงาน ได้แก่

  1. บ้านเณรสามเณราลัย เป็นสถาบันที่ให้การอบรมเยาวชนเพื่อเป็นบาทหลวง มีหอพักประจำ มีระเบียบการอบรมเป็นของของตนเอง และในเวลาเดียวกันก็เรียนวิชาสามัญตามปกติด้วย มีนักเรียนประมาณ 200 คนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  2. โรงเรียนยอแซฟอุปถัมถ์-แผนกชาย เปิดสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในระดับชั้นประถมปีที่ 1 - มัธยนศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนประมาณ 4,500 คน ประกอบด้วยอาคารสันตะมารี อาคารยอแซฟ อาคารแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ อาคารฟรังซิสเซเวียร์ อาคารสหการ-วงโยธวาทิต และอาคารนักบุญสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2
  3. โรงเรียนยอแซฟอุปถัมถ์-แผนกหญิง เปิดสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับชั้นประถมปีที่ 1- มัธยนศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนประมาณ 1,900 คน ประกอบด้วยอาคารราฟาแอล อาคารอาเวมารีอา อาคารมีคาแอล อาคารอารักขเทวดา
  4. โรงเรียนยอแซฟอุปถัมถ์-แผนกอนุบาล เปิดสอนในระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวนนักเรียนประมาณ 400 คน ใช้อาคารคาเบเรียล
  5. โรงเรียนยอแซฟอุปถัมถ์แผนก English Programme เปิดสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (2544) เรียนสองภาษา จัดระดับชั้นเป็น Grade จำนวนนักเรียนประมาณ 300 คน ประกอบด้วยอาคารไมเคิล อาคารไมเคิล2 อาคารไมเคิล3 บ้านผู้หว่าน
  6. Nittayo English Language Centre ศูนย์ภาษาอังกฤษนิตโย เป็นสถาบันจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภาคปกติให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเน้นเรื่องของการสนทนาการพูด และการฟังเป็นหลัก
  7. หอพักนักเรียน - สำหรับนักเรียนประจำแบ่งออกเป็น
  • หอเล็ก - สำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้น ป.1 - ชั้น ป.6
  • หอโต - สำหรับนักเรียนชาย ระดับชั้น ม.1 - ชั้น ม.6
  • หอหญิง - สำหรับนักเรียนหญิง ระดับชั้น ป.1 - ชั้น ม.6

ภายในหอพักจะมีครูคอยให้การดูแล และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน มีระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

อธิการโรงเรียน[แก้]

สำนักเสมินาร์นักบุญยอแซฟ

วาระดำรงตำแหน่ง รายนาม
2508 บาทหลวงฟรังซิสเซเวียร์ ทองดี กฤษเจริญ
2508-2516 บาทหลวงมีคาแอล ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู
อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ (2515-2552) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณ
Cardinal Protopriest (2559-ปัจจุบัน)
2516-2519 บาทหลวงยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์
มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ (2530-2552) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งมุขนายกกิตติคุณ
2519-2526 บาทหลวงยอแซฟ ประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย
2526-2535 บาทหลวงยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย
มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกนครสวรรค์ (2552-ปัจจุบัน)
2535-2539 บาทหลวงเปโตร สุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์
2539-2542 บาทหลวงยวง สุเทพ พงษ์วิรัชไชย
2542-2547 บาทหลวงอิกญาซีโอ อดิศักดิ์ สมแสงสรวง
2547-2552 บาทหลวงยอห์น วิชชุกรณ์ เกตุภาพ
2552-2556 บาทหลวงยอแซฟ ประทีป กีรติพงศ์
2556-ปัจจุบัน บาทหลวงยอแซฟ ไชโย กิจสกุล

วัดพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

วาระดำรงตำแหน่ง รายนาม
2549-ปัจจุบัน บาทหลวงเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์

การบันทึกข้อตกลงMOU[แก้]


1.ปี2544

(Hawthorn-Melbourne English Language Centre,University of Melbourne(Australia))
2.ปี2558

  • สถาบันภาษาและด้านวัฒนธรรมแห่งคุณหมิง ประเทศจีน และ สถาบันภาษาจีนไชน่าวิส ตัวแทนสถาบันในกรุงเทพฯ

(Chinese Language and Culture School of Kunming,China and Chinaviz Language Institute (ฺBangkok Division))

  • บริษัท กู๊ดวิล ไชนีส คัลเชอร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด

(Goodwill Chinese Culture Communication Co.,Ltd.)
3.ปี2560

Stamford International University (Thailand)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ยอแซฟในโลกบันเทิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]