ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
Bangkok Hospital Pattaya
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง23 มิถุนายน พ.ศ. 2533
ผู้อำนวยการนายแพทย์สีหราช โลหชิตรานนท์
จำนวนเตียง400 เตียง
เว็บไซต์bangkokpattayahospital.com

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลเอกชน อยู่ทางภาคตะวันออก (ประเทศไทย) ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท กม.143 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (ในเขตเมืองพัทยา)

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2533 มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลมาตรฐาน ISO 9002 ปัจจุบันยกระดับมาตรฐานเป็น ISO 9001:2000 และในปีเดียวกันยังได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่นประเภทธุรกิจบริการที่มีชาวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการมากที่สุด นับเป็นแห่งที่สามของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ปี พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างอาคารศูนย์การแพทย์เฉพาะระบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการทางการแพทย์ที่เป็นการรักษาโรคเฉพาะสาขามากขึ้น สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่า 200 เตียง หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างอาคาร 15 ชั้น เพิ่มเติมเพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มอาคารเดิมโดยมีการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่และภูมิทัศน์บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ มีพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยได้วันละ 1,500 ถึง 1,800 คน และมีเตียงรองรับผู้ป่วยประมาณ 400 เตียง บนชั้นดาดฟ้าของตึก 15 ชั้น มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์เพื่อรับและส่งต่อสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย[1]

ในปี พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งศูนย์หัวใจขึ้นเป็นแห่งแรกของโรงพยาบาลเอกชนในภูมิภาคตะวันออก ที่ชั้น 3 อาคารบี ต่อมาได้ย้ายไปที่ชั้น 4 อาคารอีให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มเตียงรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหัวใจจาก 8 เตียง เป็น 29 เตียง พร้อมด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน CCU ปี พ.ศ. 2547 ได้รับมาตรฐานการรับรองกระบวนการคุณภาพ Hospital Accreditation ซึ่งเป็นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ด้วยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รับรางวัลการจัดการโรงพยาบาลดีเยี่ยมแห่งเอเชีย 3 ปีซ้อน คือ HMA Award : 2004 ในปี พ.ศ. 2547 HMA Award : 2005 ในปี พ.ศ. 2548 HMA Award : 2006 ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2552 ได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับนานาชาติ JCI (Joint Commission International) [2]

ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เฉพาะระบบที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

หน่วยงาน/ศูนย์บริการเฉพาะทาง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติโรงพยาบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-19. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14.
  2. หนังสือแนะนำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]