เฮนรี คิสซินเจอร์
เฮนรี คิสซินเจอร์ Henry Kissinger | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน 1973 – 20 มกราคม 1977 | |
ประธานาธิบดี | ริชาร์ด นิกสัน เจอรัลด์ ฟอร์ด |
ก่อนหน้า | William Rogers |
ถัดไป | Cyrus Vance |
ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม 1969 – 3 พฤศจิกายน 1975 | |
ประธานาธิบดี | ริชาร์ด นิกสัน เจอรัลด์ ฟอร์ด |
ก่อนหน้า | Walt Rostow |
ถัดไป | Brent Scowcroft |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 เฟือร์ท ประเทศเยอรมนี |
พรรคการเมือง | ริพับลิกัน |
บุตร | 2 |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ประจำการ | 1943–1946 |
ยศ | ![]() |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
เฮนรี คิสซินเจอร์ (อังกฤษ: Henry Kissinger) หรือชื่อเกิดคือ ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์ (เยอรมัน: Heinz Alfred Kissinger) เป็นนักการเมือง นักการทูต และที่ปรึกษาด้านภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เดิมเขาเป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิด เขาและครอบครัวซึ่งมีเชื้อสายยิวได้อพยพออกจากนาซีเยอรมนีและมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐเมื่อปีค.ศ. 1938 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ บทบาทของเขาที่ผลักดันข้อตกลงสันติภาพปารีสจนทำให้เกิดการหยุดยิงในสงครามเวียดนามทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีค.ศ. 1973 ท่ามกลางความเห็นแย้งของบรรดาคณะกรรมการรางวัลโนเบล[1]
คิสซินเจอร์เป็นบุคคลซึ่งเป็นทั้งที่รักและที่ชังในการเมืองอเมริกา เขาถูกประณามเป็นอาชญากรสงครามโดยเหล่าบรรณาธิการข่าว, นักการเมือง, นักกิจกรรม และนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีทฤษฎีสมคบคิดกันว่าเขามีส่วนรู้เห็นกับการทรมานและอุ้มหาย[2][3][4] เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐประหารในประเทศชิลี ค.ศ. 1973 และเป็นผู้ให้ "ไฟเขียว" แก่รัฐบาลทหารอาร์เจนตินาในสงครามสกปรก และมีส่วนที่สหรัฐเข้าเป็นผู้สนับสนุนปากีสถานในสงครามปลดแอกบังคลาเทศจนเกิดเป็นการสังหารหมู่[5] แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้รับการยกย่องเชิดชูในฐานะรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐที่มีผลงานที่สุดโดยวงการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[6]
ชีวิตตอนต้น[แก้]
คิสซินเจอร์เกิดในปีค.ศ. 1923 ที่เมืองเฟือร์ท รัฐไบเอิร์น ประเทศเยอรมนี โดยมีชื่อแรกว่า ไฮนทซ์ อัลเฟรท คิสซิงเงอร์ ครอบครัวเขาเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว[7] นายลูอิส คิสซิงเงอร์ (Louis Kissinger) ผู้บิดาเป็นครูสอนหนังสือ ส่วนนางเพาลา ชแตร์น (Paula Stern) มารดาเป็นแม่บ้าน เขามีน้องชายหนึ่งคนนามว่าวัลเทอร์ คิสซิงเงอร์ (Walter Kissinger) สกุลคิสซิงเงอร์ถูกตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1817 ตามชื่อเมืองบาทคิสซิงเงิน[8] โดยนายไมเออร์ เลิบ (Meyer Löb) บรรพบรุษของตระกูล ในปีค.ศ. 1938 ขณะที่เขามีอายุ 15 ปี เขาและครอบครัวอพยพหนีออกจากประเทศเยอรมนีจากผลของนโยบายต่อต้านชาวยิว
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
คิสซินเจอร์เป็นแฟนฟุตบอล (ซ็อคเกอร์) อย่างเข้มข้น เขาเคยเป็นนักเตะเยาวชนของสโมสรกรอยเธอร์ เฟือร์ท ซึ่งเป็นสโมสรในท้องถิ่น นอกจากนั้นเจ้าตัวยังเป็นแฟนทีมดังกล่าวอีกด้วย โดยหลังจากกรอยเธอร์ เฟือร์ท ขึ้นสู่บุนเดสลีกา ในฤดูกาล 2012-13 เขาได้ไปชมการแข่งขันที่สนามชปอร์ทพาร์คร็อนโฮฟ ซึ่งเป็นสนามเหย้าของทีมในเกมกับชัลเคอ 04 ในเดือนกันยายน 2012[9] และเคยนำฟุตบอลมาใช้เป็นข้อมูลทางการทูตที่แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของชาวรัสเซียในคิวบา[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Feldman, Burton (2001). The Nobel Prize: A History Of Genius, Controversy, and Prestige. Arcade Publishing. p. 16. ISBN 978-1-55970-537-0.
- ↑ "Henry Kissinger: Realpolitik and Kurdish Genocide". March 24, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ March 1, 2019.
- ↑ Rohter, Larry (March 28, 2002). "As Door Opens for Legal Actions in Chilean Coup, Kissinger Is Numbered Among the Hunted". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
- ↑ "Protesters Heckle Kissinger, Denounce Him for 'War Crimes'". The Times of Israel. January 30, 2015. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
- ↑ Bass, Gary (September 21, 2013). "Blood Meridian". The Economist. สืบค้นเมื่อ February 13, 2016.
- ↑ "The Best International Relations Schools in the World". Foreign Policy. February 3, 2015. สืบค้นเมื่อ August 8, 2015.
- ↑ Isaacson, Walter (1992). Kissinger: A Biography. Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-66323-0.
- ↑ "Die Kissingers in Bad Kissingen" [The Kissinger in Bad Kissingen] (ภาษาเยอรมัน). Bayerischer Rundfunk. June 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2007. สืบค้นเมื่อ February 3, 2007.
- ↑ https://www.reuters.com/article/soccer-germany-kissinger-idINDEE88E05Q20120915
- ↑ https://www.irishtimes.com/sport/soccer/how-henry-kissinger-spoke-football-when-playing-politics-1.3252429
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2466
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- ผู้ได้รับอิสริยาภรณ์เหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี
- ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ
- สมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เคบีอี
- ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว
- บุคคลจากเฟือร์ท
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์