ข้ามไปเนื้อหา

เกรียตา ทืนแบร์ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียตา ทืนแบร์ย

ทืนแบร์ยในปี.ศ. 2023
เกิดเกรียตา ตินติน เอเลอนอรา ทืนแบร์ย
3 มกราคม พ.ศ. 2546 (21 ปี)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
อาชีพนักกิจกรรมภูมิอากาศ, นักศึกษา
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
ขบวนการการนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ
ญาติ

เกรียตา ตินติน เอเลอนอรา ทืนแบร์ย (สวีเดน: Greta Tintin Eleonora Thunberg, ออกเสียง: [ˈɡrêːta ˈtʉ̂ːnbærj] ( ฟังเสียง) เป็นนักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน มุ่งเน้นที่ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 เมื่อเธออายุ 15 ปี ทืนแบร์ยใช้เวลาหลังเลิกเรียนถือป้ายเรียกร้องนอกรัฐสภาสวีเดนให้ดำเนินการด้านภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น ไม่ช้านักเรียนคนอื่น ๆ ก็มีส่วนร่วมในการประท้วงคล้าย ๆ กัน พวกเขาช่วยกันจัดการเคลื่อนไหวนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศภายใต้ชื่อ วันศุกร์เพื่ออนาคต หลังจากที่ทืนแบร์ยเข้าร่วมประชุมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2561 ก็เกิดการนัดหยุดเรียนของนักเรียนทุกสัปดาห์ ณ ที่ใดที่หนึ่งในโลก ใน พ.ศ. 2562 มีการประท้วงหลายเมืองซึ่งมีการประสานงานกันอย่างน้อยสองครั้ง มีนักเรียนเข้าร่วมมากกว่าหนึ่งล้านคน[1][2]

ทืนแบร์ยเป็นที่รู้จักจากกิริยาการพูดทื่อ ๆ[3] อย่างตรงไปตรงมา[4] ทั้งในที่สาธารณะและกับผู้นำและที่ประชุมทางการเมืองที่ซึ่งเธอเรียกร้องให้มีการดำเนินการทันทีเพื่อรับมือกับสิ่งที่เธออธิบายว่าเป็นวิกฤตการณ์ภูมิอากาศ ทืนแบร์ยโน้มน้าวให้พ่อแม่ของเธอรับเอารูปแบบการใช้ชีวิตหลายอย่างมาใช้เพื่อลดรอยเท้าคาร์บอน ซึ่งรวมถึงการไม่เดินทางทางอากาศและการไม่กินเนื้อสัตว์

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทืนแบร์ยได้ขึ้นปกนิตยสาร ไทม์ ซึ่งขนามนามเธอว่า "ผู้นำรุ่นต่อไป" และระบุว่า หลายคนมองว่าเธอเป็นแบบอย่างที่ดี[5] ทืนแบร์ยและกลุ่มเคลื่อนไหวการนัดหยุดเรียนยังได้ปรากฏในสารคดี 30 นาทีของนิตยสาร ไวซ์ ในชื่อ เมกเดอะเวิลด์เกรียตาอะเกน สื่อบางสำนักได้อธิบายถึงผลกระทบของเธอที่มีต่อเวทีโลกในฐานะ "ปรากฏการณ์เกรียตา ทืนแบร์ย"[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cohen, Ilana; Heberle, Jacob (19 March 2019). "Youth Demand Climate Action in Global School Strike". Harvard Political Review (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  2. Haynes, Suyin (24 May 2019). "Students From 1,600 Cities Just Walked Out of School to Protest Climate Change. It Could Be Greta Thunberg's Biggest Strike Yet". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
  3. "'Is my English OK?': Greta Thunberg's blunt speech to UK MPs". SBS News (ภาษาอังกฤษ). 25 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  4. "The Swedish teen holding world leaders accountable for climate change". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 25 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  5. Gilliver, Liam (16 May 2019). "Greta Thunberg On The Cover Of TIME: 'Now I Am Speaking to the Whole World'". Plant Based News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
  6. Watts, Jonathan (23 April 2019). "The Greta Thunberg effect: at last, MPs focus on climate change". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]