ข้ามไปเนื้อหา

เจฟฟ์ เบโซส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจฟฟ์ เบโซส
เบโซสเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2018
เกิดเจฟฟรีย์ เพรสตัน เบโซส
(1964-01-12) 12 มกราคม ค.ศ. 1964 (60 ปี)
แอลบูเคอร์คี สหรัฐ
อาชีพ
  • นักธุรกิจ
  • เจ้าของสื่อ
  • นักลงทุน
ปีปฏิบัติงาน1986–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากก่อตั้งแอมะซอนและบลูออริจิน
ตำแหน่งซีอีโอและประธานแอมะซอน
คู่สมรสMacKenzie Tuttle
(สมรส 1993; หย่า 2019)
บุตร4

เจฟฟรีย์ เพรสตัน เบโซส (อังกฤษ: Jeffrey Preston Bezos นามสกุลเดิม Jorgensen) เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1964 เป็นนักธุรกิจ เจ้าของสื่อ และนักลงทุน ชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อตั้ง ซีอีโอ และประธานของบริษัทค้าปลีกออนไลน์ แอมะซอน นิตยสาร ฟอบส์ จัดเขาว่าเป็นเศรษฐีแสนล้านคนแรก เบโซสเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 ได้รับการกล่าวว่าเป็น "คนที่ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่" หลังจากมีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 150 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม 2018[2] ในเดือนกันยายน 2018 ฟอบส์ ยังกล่าวว่าเขาเป็น "คนที่รวยมากกว่าใคร ๆ บนโลกใบนี้" โดยแอมะซอนได้ทำให้เขามีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มอีก 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้บริษัทเป็นบริษัทที่สองในประวัติศาสตร์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

เขาเกิดที่แอลบูเคอร์คีและเติบโตที่ฮิวสตันจากนั้นที่ไมแอมี เบโซสจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในปี ค.ศ. 1986 ปริญญาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เขาทำงานที่วอลล์สตรีตในหลายแขนงงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ถึง 1994 เขาได้ก่อตั้งแอมะซอนเมื่อปลายปี 1994 และได้เดินทางทางรถยนต์ข้ามมายังนครนิวยอร์กและซีแอตเทิล บริษัทเริ่มต้นในฐานะร้านหนังสือออนไลน์ จากนั้นก็เริ่มขยับขยายสินค้าและบริการด้านอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ รวมถึงวิดีโอและเสียงแบบส่งต่อเนื่อง การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และปัญญาประดิษฐ์ ปัจจุบันบริษัทเป็นบริษัทค้าขายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัททางอินเทอร์เน็ตที่มีรายได้มากที่สุด และบริษัทผู้ให้ผู้ช่วยเสมือน (Virtual assistant) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3] และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานบนกลุ่มเมฆผ่าน แอมะซอนเว็บเซอร์วิสซิส (Amazon Web Services)

เบโซสก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตยานอวกาศและบริษัทให้บริการเที่ยวบินท่องอวกาศที่ชื่อ บลูออริจิน ในปี 2000 บลูออริจินได้ทดลองเที่ยวบินไปอวกาศสำเร็จครั้งแรกในปี 2015 แผนของบริษัทที่กำลังทำอยู่คือ เที่ยวบินท่องอวกาศเชิงพาณิชย์สำหรับมนุษย์[4] เขายังได้ซื้อหนังสือพิมพ์เจ้าใหญ่ของอเมริกา เดอะวอชิงตันโพสต์ ในปี 2013 ด้วยเงิน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้ลงทุนต่าง ๆ ผ่านบริษัทที่ลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยง ที่ชื่อ เบโซสเอกซ์เพนดิชันส์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Forbes Profile: Jeff Bezos". Forbes. Real Time Net Worth. Online: updated every 24-hour market cycle. [Forbes real time net worths] are calculated from locked in stock prices and exchange rates from around the globe.... as well as the vetting of personal balance sheets...{{cite web}}: CS1 maint: location (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. "This Is The Richest Person in the World". Forbes. 2019. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
  3. "Unveiling Business Strategy: Amazon". Analytics Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). November 10, 2019. สืบค้นเมื่อ December 12, 2019.
  4. Sheetz, Michael (January 23, 2019). "Blue Origin successfully launches experiments for NASA as Bezos' space company nears first human flights". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 12, 2019.