ออคัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออคัส
แผนที่โลกแสดงออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐด้วยสีเขียว ประเทศที่เหลือทั้งหมดแสดงด้วยสีเทา
ผู้ลงนามในออคัส
ก่อตั้ง15 กันยายน 2021; 2 ปีก่อน (2021-09-15)
ประเภทพันธมิตรทางทหาร
วัตถุประสงค์ความมั่นคงร่วมกัน
ภูมิภาค
อินโด-แปซิฟิก
สมาชิก
ดินแดนและน่านน้ำอาณาเขตของออสเตรเลีย (เหลือง), สหราชอาณาจักร (น้ำเงิน), และ สหรัฐ (เขียว)

ออคัส (อังกฤษ: AUKUS, /ˈɔːkəs/; เป็นอักษรย่อจากชื่อของประเทศผู้ลงนามร่วม) เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[1]

ภายใต้กติกาสัญญานี้ สหรัฐและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะช่วยเหลือออสเตรเลียในการพัฒนาและใช้งานเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ โดยเป็นการเพิ่มบทบาททางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาคแปซิฟิก[2] แม้ว่าในการประกาศร่วมของนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน ของออสเตรเลีย, นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร และประธานาธิบดีโจ ไบเดิน ของสหรัฐ จะไม่มีการเอ่ยชื่อประเทศอื่นใด แต่แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อจากทำเนียบขาวก็ระบุว่าการลงนามนี้ได้รับการวางแผนมาเพื่อต่อต้านอิทธิพลของประเทศจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกซึ่งเป็นคำอธิบายที่นักวิเคราะห์เห็นพ้องต้องกัน[3] นักวิเคราะห์และสื่อหลายรายยังมองว่าพันธมิตรดังกล่าวเป็นหนทางหนึ่งที่จะปกป้องสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) จากการขยายตัวของประเทศจีน[4][5] ข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ได้รับการอธิบายว่าเป็นพฤติการณ์หนึ่งของการแผ่ขยายอาวุธนิวเคลียร์[6][7][8]

ออคัสมีลักษณะเป็นข้อตกลงที่สืบทอดจากกติกาสัญญาแอนซัสซึ่งมีอยู่แล้วระหว่างประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และสหรัฐ โดยประเทศนิวซีแลนด์ "ถูกกันออกไป" จากออคัสเนื่องจากมีนโยบายห้ามใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ไม่มีคำแถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับประเด็นนี้[9][10][11] ในวันที่ 17 กันยายน 2021 ประเทศฝรั่งเศสเรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำออสเตรเลียและสหรัฐกลับประเทศเนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวมาพร้อมกับการยกเลิกข้อตกลงซื้อขายเรือดำน้ำระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย[12]

ออคัสครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนประกอบนิวเคลียร์ (ซึ่งอาจจำกัดอยู่เฉพาะสหรัฐและสหราชอาณาจักร) ในโครงสร้างพื้นฐานด้านการป้องกันนิวเคลียร์[1] ข้อตกลงนี้จะเน้นที่ความสามารถทางการทหารโดยแยกจากกลุ่มพันธมิตรแบ่งปันข่าวกรองไฟฟ์อายส์ซึ่งรวมประเทศนิวซีแลนด์และประเทศแคนาดาไว้ด้วย[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ward, Alexander. "Biden to announce joint deal with U.K. and Australia on advanced defense-tech sharing". Politico (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
  2. Sanger, David E.; Kanno-Youngs, Zolan (15 September 2021). "Biden Announces Defense Deal With Australia in a Bid to Counter China". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
  3. "Pact with U.S., Britain, will see Australia scrap French sub deal-media". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
  4. "China vows to resist 'interference' as Taiwan welcomes support from Aukus allies". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Improving defence capabilities is key for Taiwan to line up with Aukus, say experts". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  6. "What does the Australian submarine deal mean for non-proliferation?". The Economist. 2021-09-17. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
  7. "China vows to resist 'interference' as Taiwan welcomes support from Aukus allies". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Improving defence capabilities is key for Taiwan to line up with Aukus, say experts". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  9. "New Australia, United Kingdom, United States defence pact 'sidelines New Zealand', focus on nuclear capabilities". Newshub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
  10. "New Zealand is missing from AUKUS". Australian Financial Review (ภาษาอังกฤษ). 15 September 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
  11. "Aukus submarines banned from New Zealand as pact exposes divide with western allies". The Guardian. 16 September 2021.
  12. Shields, Bevan (18 September 2021). "France recalls its ambassadors to Australia and United States amid submarine fury". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
  13. "Aukus: China denounces US-UK-Australia pact as irresponsible". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.