จอร์จา เมโลนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จา เมโลนี
นายกรัฐมนตรีอิตาลี คนที่ 31
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ประธานาธิบดีแซร์โจ มัตตาเรลลา
ก่อนหน้ามารีโย ดรากี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2520 (47 ปี)
โรม, ประเทศอิตาลี
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคฟาเตลีอิตาลิยา (เอฟดีไอ)
พรรคอนุรักษ์นิยมและปฏิรูปนิยมยุโรป
ลายมือชื่อ

จอร์จา เมโลนี (อิตาลี: Giorgia Meloni; เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2520) เป็นนักการเมืองชาวอิตาลีซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นอกจากนี้เธอยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิตาลีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 รวมทั้งยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมและปฏิรูปนิยมยุโรป (อีซีอาร์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2520[1][2] ที่กรุงโรม บิดาเป็นนักจัดรายการวิทยุ มารดาเป็นนักแสดง เธอเข้าร่วมกับกลุ่มเยาชนก้าวหน้าของขบวนการสังคมอิตาลี (เอ็มเอสไอ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวนีโอฟาสซิสต์ และเธอยังได้เป็นแกนนำของอาซียอเนสติวเดนเอซา ซึ่งเป็นขบวนการนักศึกษาของพรรคพันธมิตร (เอเอ็น) ในปี พ.ศ. 2538[2] เธอเริ่มดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะสมาชิกสภากรุงโรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปี พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นเธอได้เป็นประธานกลุ่มกิจเยาวชนของพรรคพันธมิตรในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2551 เธอได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนของอิตาลีในรัฐบาลของซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี[3] ซึ่งในช่วงนั้นเธอได้ก่อตั้งพรรคฟาเตลีอิตาลิยา (เอฟดีไอ) ขึ้นมา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด จนกระทั่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2565 หลังมารีโย ดรากีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในทัศนคติการเมืองของเธอถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มการเมืองฝ่ายขวาจัด[4][5] เธอเป็นสัญลักษณ์ของอนุรักษ์นิยมคริสเตียน และต่อต้านการุณยฆาต ความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้เธอยังถูกมองว่าเป็นพวกคตินิยมเชื้อชาติและต่อต้านมุสลิม เธอเคยสนับสนุนและเห็นชอบกับความสัมพันธ์ที่แนบแน่นต่อประเทศรัสเซียของอิตาลี แต่เมื่อรัสเซียรุกรานยูเครนในปี พ.ศ. 2565 รัฐบาลของเธอได้ให้การสนับสนุนทางอาวุธและสิทธิมนุษยชนกับยูเครน[6]และคัดค้านการรุกรานของรัสเซีย

ในปี พ.ศ. 2565 เธออยู่ในอันดับที่ 7 ของสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกโดยนิตยสารฟอบส์[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pietromarchi, Virginia (19 September 2022). "Who is Italy's leadership hopeful Giorgia Meloni?". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  2. 2.0 2.1 "Biografia del ministro Giorgia Meloni" [Biography of Minister Giorgia Meloni] (ภาษาอิตาลี). Chigi Palace. November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2022.
  3. "Giorgia Meloni". Corsera Magazine (ภาษาอิตาลี). 7 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2007. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
  4. Harlan, Chico; Pitrelli, Stefano (13 September 2022). "A far-right politician is poised to become Italy's first female leader". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  5. Khrebtan-Hörhager, Julia; Pyatovskaya, Evgeniya (19 September 2022). "Giorgia Meloni – the political provocateur set to become Italy's first far-right leader since Mussolini". The Conversation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 13 October 2022.
  6. Ciriaco, Tommaso (21 February 2023). "Le lacrime, il fango, i fiori. Meloni a Bucha nella 'città non sconfitta': "Con voi fino alla fine"". la Repubblica (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 26 March 2023.
  7. "Ursula von der Leyen, Giorgia Meloni, Rihanna: chi sono le 100 donne più potenti del mondo" [Ursula von der Leyen, Giorgia Meloni, Rihanna: who are the 100 most powerful women in the world]. Forbes Italia (ภาษาอิตาลี). 6 December 2022. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Giorgia Meloni