ข้ามไปเนื้อหา

บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Person of the Year
ชาลส์ ลินด์เบิร์ก บุคคลแห่งปีคนแรกของนิตยสารไทม์คนแรก (พ.ศ. 2470)
ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดโดยไทม์
เดิมเรียกว่า
  • Man of the Year
  • Woman of the Year
รางวัลแรกพ.ศ. 2470; 98 ปีที่แล้ว (2470)
เว็บไซต์www.time.com/poy

บุคคลแห่งปี (อังกฤษ: Person of the Year หรือเดิม Man of the Year) เป็นฉบับประจำปีของนิตยสารข่าวไทม์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอและพรรณนาถึงบุคคล กลุ่ม แนวคิดหรือวัตถุซึ่ง "ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ...ได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในปีนั้น"[1]

ประวัติ

[แก้]

ธรรมเนียมการเลือกบุคคลแห่งปีเริ่มต้นใน พ.ศ. 2470 โดยบรรณาธิการนิตยสารไทม์พิจารณาเรื่องที่น่าสนใจเป็นข่าวที่เป็นไปได้ระหว่างสัปดาห์ข่าวช้า แนวคิดดังกล่าวยังเป็นความพยายามที่จะเยียวยาความกระดากของบรรณาธิการในปีเดียวกันนั้นซึ่งไม่ได้มีนักบินชาลส์ ลินเบิร์กบนปกหลังการบินเที่ยวประวัติศาสตร์ข้ามแอตแลนติก จนถึงสิ้นปี ไทม์จึงตัดสินว่าเรื่องปกเสนอลินเบิร์กเป็นบุคคลแห่งปีจะสนองจุดประสงค์ทั้งสองได้[2]

นับแต่นั้น บุคคล ชนชั้นของบุคคล คอมพิวเตอร์และดาวเคราะห์โลก ล้วนได้เคยถูกเลือกสำหรับฉบับพิเศษสิ้นปีทั้งสิ้น ใน พ.ศ. 2542 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Person of the Year[3] อย่างไรก็ดี สตรีเพียงผู้เดียวที่ได้รับการกล่าวขานหลังมีการเปลี่ยนชื่อนี้ส่วนบุคคลมี "ผู้รายงานเบาะแส" (Whistleblower) ประกอบด้วย ซินเธีย คูเปอร์ม โคลีน โรว์ลีย์ และเชอร์รอน วัตคินส์ใน พ.ศ. 2545 และเมลินดา เกตส์ ร่วมกับบิล เกตส์และโบโนใน พ.ศ. 2548 ก่อนหน้านั้น มีสตรีสี่คนที่ได้รับการกล่าวขานโดยบุคคลเป็นสตรีแห่งปี วอลลิส ซิมพ์สัน ใน พ.ศ. 2479, ซ่ง เหม่ยหลิง (มาดามเจียง ไคเช็ก) ใน พ.ศ. 2480, สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ใน พ.ศ. 2495 และโคราซอน อากีโน ใน พ.ศ. 2529 มีหลายชนชั้นบุคคลซึ่งประกอบด้วยทั้งบุรุษและสตรีหรือเฉพาะสตรี ได้แก่ นักรบเพื่ออิสรภาพฮังการีใน พ.ศ. 2499, "นักวิทยาศาสตร์สหรัฐ" ใน พ.ศ. 2503, ผู้มีอายุยี่สิบห้าปีหรือต่ำกว่าใน พ.ศ. 2509, ชาวอเมริกากลางใน พ.ศ. 2512, "สตรีอเมริกา" ใน พ.ศ. 2528, "ทหารอเมริกัน" ใน พ.ศ. 2546, คุณ ใน พ.ศ. 2549, และ "ผู้ประท้วง" ใน พ.ศ. 2554 (แสดงภาพบนปกเป็นสตรี)

นับแต่มีการจัดบุคคลแห่งปีมา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนได้เคยเป็นบุคคลแห่งปีอย่างน้อยครั้งหนึ่ง ยกเว้นแคลวิน คูลิดจ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะที่ออกฉบับแรก, เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ประธานาธิบดีคนถัดมา และเจอรัลด์ ฟอร์ด ส่วนใหญ่ได้รับการจัดให้เป็นบุคคลแห่งปีในปีที่ถูกเลือกตั้งหรือขณะที่อยู่ในตำแหน่ง มีเพียงผู้เดียวที่ได้รับการจัดให้เป็นบุคคลแห่งปีก่อนได้รับเลือกตั้ง คือ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ผู้ซึ่งได้รับการจัดใน พ.ศ. 2487 เป็นผู้บัญชาการสูงสุดกำลังรุกรานฝ่ายสัมพันธมิตร แปดปีก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ภายหลังเขาได้รับการจัดเป็นบุคคลแห่งปีอีกครั้งใน พ.ศ. 2502 ขณะอยู่ในตำแหน่ง

นิตยสารไทม์ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เสนอให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นบุคคลแห่งศตวรรษ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และมหาตมะ คานธีถูกเลือกให้เป็นรอง[4]

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์เป็นเพียงบุคคลเดียวที่เคยได้รับการจัดถึงสามครั้ง ใน พ.ศ. 2475, 2477 และ 2484

รายชื่อบุคคลแห่งปี

[แก้]

ผู้ที่ได้รับการเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปีมีดังนี้

ประจำปี ผู้รับเลือก ดำรงชีพอยู่ช่วง (พ.ศ.) หมายเหตุ
พ.ศ. 2470 (1927) สหรัฐอเมริกา ชาลส์ ลินด์เบิร์ก 2445 – 2517 เป็นคนแรกที่ขับเครื่องบินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี พ.ศ. 2470
พ.ศ. 2471 (1928) สหรัฐอเมริกา วอลเตอร์ ไครสเลอร์ 2418 – 2483 เป็นผู้ก่อตั้งไครสเลอร์ในปี พ.ศ. 2468 และสร้างอาคารไครสเลอร์ในนิวยอร์กในปี พ.ศ. 2471
พ.ศ. 2472 (1929) สหรัฐอเมริกา โอเวน ยัง 2417 – 2505 ประธานบริษัทเจเนอรัลอีเล็กตริก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท RCA และ NBC เป็นผู้เสนอ "แผนการของยัง" เพื่อปลดหนี้สินของเยอรมนีในปี พ.ศ. 2472
พ.ศ. 2473 (1930) บริติชราช มหาตมะ คานธี 2412 – 2491 เป็นผู้นำการประท้วงอย่างสันติ สัตยานุเคราะห์ ใน พ.ศ. 2473 เป็นบุคคลแรกที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันที่ได้รับเลือก
พ.ศ. 2474 (1931) ประเทศฝรั่งเศส ปีแยร์ ลาวาล 2426 – 2488 นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (วาระ 2474 – 2475, 2478 – 2479 และ 2485 – 2487)
พ.ศ. 2475 (1932) สหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (ครั้งที่ 1) 2425 – 2488 นายกเทศมนตรีนิวยอร์ก (2471 – 2475) ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2476)
พ.ศ. 2476 (1933) สหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ จอห์นสัน 2425 – 2485 เป็นผู้สนับสนุนแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐ (The New Deal)
พ.ศ. 2477 (1934) สหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (ครั้งที่ 2) 2425 – 2488 จากผลงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐ
พ.ศ. 2478 (1935) จักรวรรดิเอธิโอเปีย เฮลี เซลาสซีที่ 1 2435 – 2518 จักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย ผู้ต่อต้านการรุกรานโดยอิตาลีในสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง พ.ศ. 2478
พ.ศ. 2479 (1936) สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร วอลลิส ซิมป์สัน 2439 – 2529 พระชายาชาวอเมริกันในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักรซึ่งสละราชสมบัติในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือก
พ.ศ. 2480 (1937) ไต้หวัน เจียง ไคเชก 2430 – 2518 อดีตผู้นำจีน (2471 – 2492) ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน และสงครามจีน–ญี่ปุ่น เป็นสามีภรรยาคู่แรกที่ได้รับเลือก
ไต้หวัน ซ่ง เหม่ย์หลิง 2441 – 2546
พ.ศ. 2481 (1938) นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ 2432 – 2488 จากการขยายอิทธิพลของเยอรมนีในยุโรป ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
พ.ศ. 2482 (1939) สหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน (ครั้งที่ 1) 2421 – 2496 ในปี 2482 สตาลินเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และผู้นำโดยพฤตินัยของสหภาพโซเวียต เขาควบคุมดูแลการลงนามสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีก่อนบุกครองโปแลนด์ตะวันออก
พ.ศ. 2483 (1940) สหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล (ครั้งที่ 1) 2417 – 2508 เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรระหว่างการอพยพดันเคิร์กและยุทธการที่บริเตน
พ.ศ. 2484 (1941) สหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (ครั้งที่ 3) 2425 – 2488 นำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ในวันที่ 11 ธันวาคม 2484
พ.ศ. 2485 (1942) สหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน (ครั้งที่ 2) 2421 – 2496 นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต ผู้บัญชาการยุทธการที่สตาลินกราด
พ.ศ. 2486 (1943) สหรัฐอเมริกา จอร์จ มาร์แชลล์ (ครั้งที่ 1) 2423 – 2502 นายพลแห่งกองทัพบกสหรัฐ นำชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง
พ.ศ. 2487 (1944) สหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (ครั้งที่ 1) 2433 – 2512 เป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุดในทวีปยุโรประหว่างปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
พ.ศ. 2488 (1945) สหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน (ครั้งที่ 1) 2427 – 2515 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาหลังแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2488 ผู้อนุญาตการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ
พ.ศ. 2489 (1946) สหรัฐอเมริกา เจมส์ เอฟ. เบิร์นส 2422 – 2515 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2490 (1947) สหรัฐอเมริกา จอร์จ มาร์แชลล์ (ครั้งที่ 2) 2423 – 2502 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2491 (1948) สหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน (ครั้งที่ 2) 2427 – 2515 ภายหลังชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2
พ.ศ. 2492 (1949) สหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล (ครั้งที่ 2) 2417 – 2508 บุคคลแห่งครึ่งศตวรรษ
พ.ศ. 2493 (1950) สหรัฐอเมริกา ทหารอเมริกัน (ครั้งที่ 1)
(The American Fighting-Man)
เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี เป็นการเลือกอย่างนามธรรมครั้งแรก
พ.ศ. 2494 (1951) โมฮัมหมัด มอสซาเดค 2425 – 2510 นายกรัฐมนตรีแห่งอิหร่าน ได้รับคัดเลือกเนื่องจากผลงานการควบคุมกิจการน้ำมันในประเทศ
พ.ศ. 2495 (1952) สหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 2469 – 2565 จากการเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2496 (1953) ประเทศเยอรมนีตะวันตก ค็อนราท อาเดอเนาเออร์ 2419] – 2510 มุขมนตรีเยอรมนี ผู้สร้างชาติเยอรมนีตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
พ.ศ. 2497 (1954) สหรัฐอเมริกา จอห์น ดัลเลส 2431 – 2502 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2498 (1955) สหรัฐอเมริกา ฮาร์โลว์ เคอร์ติส 2436 – 2505 รับตำแหน่งซีอีโอและประธานบริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ ในปี พ.ศ. 2496
พ.ศ. 2499 (1956) นักต่อสู้เพื่อเอกราชของฮังการี
(The Hungarian freedom fighter)
เกิดการปฏิวัติฮังการีจากอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2499
พ.ศ. 2500 (1957) สหภาพโซเวียต นีกีตา ครุชชอฟ 2437 – 2514 ผู้นำสหภาพโซเวียต
พ.ศ. 2501 (1958) ประเทศฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล 2433 – 2513 ในฐานะผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบรัฐสภาเป็นระบอบกึ่งประธานาธิบดี
พ.ศ. 2502 (1959) สหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (ครั้งที่ 2) 2433 – 2512 จากความนิยมในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2
พ.ศ. 2503 (1960) สหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน
(U.S. Scientists)
ได้แก่ Linus Pauling, Isidor Isaac Rabi, Edward Teller, Joshua Lederberg, Donald A. Glaser, Willard Libby, Robert Woodward, Charles Draper, William Shockley, Emilio Segrè, John Enders, Charles Townes, George Beadle, James Van Allen และ Edward Purcell
พ.ศ. 2504 (1961) สหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี 2460 – 2506 จากนโยบายด้านต่างประเทศที่แข็งกร้าวต่อคิวบา และการประกาศนโยบายด้านการสำรวจอวกาศ
พ.ศ. 2505 (1962) นครรัฐวาติกัน ประเทศอิตาลี สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 2424 – 2506 จากการจัดให้มี The Second Ecumenical Council of the Vatican (พ.ศ. 2505-2508)
พ.ศ. 2506 (1963) สหรัฐอเมริกา มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ 2472 – 2511 จากการเป็นผู้นำการเดินขบวนอย่างสันติ ที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506]
พ.ศ. 2507 (1964) สหรัฐอเมริกา ลินดอน บี. จอห์นสัน (ครั้งที่ 1) 2451 – 2516 รองประธานาธิบดีสหรัฐ รับตำแหน่งสืบต่อจากประธานาธิบดีเคนเนดีที่ถูกลอบสังหารใรปี พ.ศ. 2506 และชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในช่วงปลาย พ.ศ. 2507
พ.ศ. 2508 (1965) สหรัฐอเมริกา วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ 2457 – 2548 ผู้บัญชาการรบของกองทหารสหรัฐในเวียดนาม
พ.ศ. 2509 (1966) บุคคลอายุต่ำกว่า 25 ปี ยุคหลังสงครามโลก
(The Inheritor)
ยุคเบบีบูมหลังสิ้นสุดสงครามโลก ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นจนมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
พ.ศ. 2510 (1967) สหรัฐอเมริกา ลินดอน บี. จอห์นสัน (ครั้งที่ 2) 2451 – 2516 จากนโยบายผลักดันกองทหารสหรัฐเพื่อเอาชนะในสงครามเวียดนาม
พ.ศ. 2511 (1968) สหรัฐอเมริกา นักบินอวกาศยานอพอลโล 8 แฟรงก์ บอร์แมน จิม โลเวลล์ และ วิลเลียม แอนเดอร์ส เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่โคจรรอบดวงจันทร์
พ.ศ. 2512 (1969) สหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันแถบตอนกลางของสหรัฐอเมริกา (Middle Americans)
พ.ศ. 2513 (1970) ประเทศเยอรมนีตะวันตก วิลลี บรันท์ 2456 – 2535 มุขมนตรีเยอรมนีผู้กล่าวคำขอโทษต่อชาวยิวต่อกรณีการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี ที่กรุงวอร์ซอ โปแลนด์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2513
พ.ศ. 2514 (1971) สหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน (ครั้งที่ 1) 2456 – 2537 จากนโยบายยกระดับความสัมพันธ์กับจีน (โดยอาศัยกีฬาปิงปอง)
พ.ศ. 2515 (1972) สหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน (ครั้งที่ 2) 2456 – 2537 เดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการ พบปะกับเหมาเจ๋อตง และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
สหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซิงเกอร์ 2466 – 2566 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ผู้ควบคุมนโยบายต่างประเทศ
พ.ศ. 2516 (1973) สหรัฐอเมริกา จอห์น ซิริคา 2447 – 2535 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสูงสหรัฐ ผู้รับผิดชอบคดีวอเตอร์เกต ซึ่งทำให้ประธานาธิบดีนิกสันต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง
พ.ศ. 2517 (1974) ประเทศซาอุดีอาระเบีย สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูด 2449 – 2518 ผู้อยู่เบื้องหลังการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ภายหลังวิกฤตการณ์น้ำมัน พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2518 (1975) สหรัฐอเมริกา สตรีอเมริกัน
(The American women)
2319 – 2517 ต่อการเรียกร้องความเสมอภาคของสิทธิสตรี
พ.ศ. 2519 (1976) สหรัฐอเมริกา จิมมี คาร์เตอร์ เกิด 2467 จากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐต่ออดีตประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด ใน พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2520 (1977) ประเทศอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต 2461 – 2524 ประธานาธิบดีอียิปต์ เป็นผู้นำชาติอาหรับคนแรกที่ไปเยือนอิสราเอลหลังเกิดสงครามหกวัน
พ.ศ. 2521 (1978) ประเทศจีน เติ้ง เสี่ยวผิง (ครั้งที่ 1) 2447 – 2540 ผู้นำสูงสุดของจีน ต่อการประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ
พ.ศ. 2522 (1979) รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี 2445 – 2532 ผู้นำอิหร่าน ผู้ประกาศการปฏิวัติอิสลาม
พ.ศ. 2523 (1980) สหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกน (ครั้งที่ 1) 2454 – 2547 จากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ต่ออดีตประธานาธิบดีคาร์เตอร์
พ.ศ. 2524 (1981) ประเทศโปแลนด์ แลค วาแวนซา เกิด 2486 ผู้นำสหภาพแรงงานโซลิดาริตี้เข้าต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากโซเวียต ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโปแลนด์
พ.ศ. 2525 (1979) คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ความนิยมอย่างแพร่หลาย เป็นครั้งแรกที่ไทม์ประกาศชื่อสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์
พ.ศ. 2526 (1983) สหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกน (ครั้งที่ 2) 2454 – 2547 จากความตึงเครียดของสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐอเมริกาและโซเวียต
สหภาพโซเวียต ยูรี อันโดรปอฟ 2457 – 2527
พ.ศ. 2527 (1984) สหรัฐอเมริกา ปีเตอร์ อูเบอร์รอธ เกิด 2480 ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่สหรัฐเป็นเจ้าภาพ
พ.ศ. 2528 (1985) ประเทศจีน เติ้ง เสี่ยวผิง (ครั้งที่ 2) 2447 – 2540 จากความสำเร็จในนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน
พ.ศ. 2529 (1986) ประเทศฟิลิปปินส์ คอราซอน อากีโน 2476 – 2552 ผู้นำการต่อสู้ทางการเมืองกับอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
พ.ศ. 2530 (1987) สหภาพโซเวียต มิคาอิล กอร์บาชอฟ (ครั้งที่ 1) 2474 – 2565 ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ผู้ประกาศนโยบายเปเรสตรอยกา เป็นผู้นำการการปฏิรูปทางการเมืองของโซเวียต
พ.ศ. 2531 (1988) โลก ปีแห่งโลก
พ.ศ. 2532 (1989) สหภาพโซเวียต มิคาอิล กอร์บาชอฟ (ครั้งที่ 2) 2474 – 2565 ประกาศนโยบายกลาสนอสต์ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน และได้รับเลือกให้เป็นบุคคลแห่งทศวรรษ
พ.ศ. 2533 (1990) สหรัฐอเมริกา จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช 2467 – 2561 จากการนำทหารสหรัฐเข้าสู่สงครามอ่าวเปอร์เซีย
พ.ศ. 2534 (1991) สหรัฐอเมริกา เท็ด เทอร์เนอร์ เกิด 2481 ผู้ก่อตั้งซีเอ็นเอ็น ในฐานะที่เป็นสำนักข่าวที่ประสบความสำเร็จจากการรายงานข่าวอย่างฉับไวในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย
พ.ศ. 2535 (1992) สหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน (ครั้งที่ 1) เกิด 2489 จากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ต่ออดีตประธานาธิบดีบุช
พ.ศ. 2536 (1993) ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศอิสราเอล รัฐปาเลสไตน์ ผู้นำสันติภาพ ในแอฟริกาใต้ และอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เนลสัน แมนเดลา เฟรเดอริก วิลเลม เด เคลิร์ก ยัสเซอร์ อาราฟัต และ ยิตส์ฮัก ราบิน ต่อความพยายามเสริมสร้างสันติภาพ
พ.ศ. 2537 (1994) นครรัฐวาติกัน ประเทศโปแลนด์ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 2463 – 2548 จากพระอุตสาหะ เสด็จไปเยือนที่ต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
พ.ศ. 2538 (1995) สหรัฐอเมริกา นิวต์ กิงริช เกิด 2486 ผู้นำสมาชิกสภาจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งชนะการเลือกตั้ง ได้รับเสียงข้างมากเหนือพรรคเดโมแครตเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี
พ.ศ. 2539 (1996) สหรัฐอเมริกา ประเทศไต้หวัน เดวิด โฮ เกิด 2495 นักวิจัย ผู้พยายามคิดค้นหาวิธีรักษาโรคเอดส์
พ.ศ. 2540 (1997) สหรัฐอเมริกา แอนดรูว์ โกรฟ 2479 – 2559 ผู้ก่อตั้งอินเทล ในฐานะที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีการผลิตคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2541 (1998) สหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน (ครั้งที่ 2) 2489 – ปัจจุบัน จากกรณีอื้อฉาวทางเพศกับโมนิกา ลูวินสกี
สหรัฐอเมริกา เคนเนธ สตาร์ 2489 – 2565 อัยการพิเศษสหรัฐ ผู้สืบสวนคดีอื้อฉาวทางเพศของบิล คลินตัน
พ.ศ. 2542 (1999) สหรัฐอเมริกา เจฟฟรีย์ เบโซส เกิด 2507 ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จสูงสุด
พ.ศ. 2543 (2000) สหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ครั้งที่ 1) เกิด 2489 จากการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เหนืออดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ท่ามกลางความอื้อฉาวต่อผลการนับคะแนนในรัฐฟลอริดาซึ่งน้องชายของบุชเป็นผู้ว่าการรัฐอยู่
พ.ศ. 2544 (2001) สหรัฐอเมริกา รูดอล์ฟ กุยลิอานี เกิด 2487 นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก จากความเป็นผู้นำในการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้คน หลังการวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545 (2002) สหรัฐอเมริกา ผู้เปิดเผยข้อมูลปกปิดของธุรกิจยักษ์ใหญ่ (Whistleblower) Cynthia Cooper จาก Worldcom, Sherron Watkins จาก Enron และ Coleen Rowley จากสำนักงานสอบสวนกลาง
พ.ศ. 2546 (2003) สหรัฐอเมริกา ทหารอเมริกัน (ครั้งที่ 2)
(The American soldier)
ผู้มีส่วนร่วมในสงครามรุกรานอิรัก
พ.ศ. 2547 (2004) สหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (ครั้งที่ 2) เกิด 2489 จากการชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2
พ.ศ. 2548 (2005) สหรัฐอเมริกา ประเทศไอร์แลนด์ (The Good Samaritans) โบโน, บิลล์ เกตส์ และเมลินดา เกตส์
พ.ศ. 2549 (2006) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (You) เนื่องจากความนิยมในอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้งานทุกคนต่างมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นเว็บ 2.0 มายสเปซ ยูทูบ วิกิพีเดีย ฯลฯ [5]
พ.ศ. 2550 (2007) ประเทศรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน เกิด 2495 ประธานาธิบดีรัสเซีย ผู้ผลักดันเศรษฐกิจรัสเซียจนพ้นจากความตกต่ำ
พ.ศ. 2551 (2008) สหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา เกิด 2504 ใน พ.ศ. 2551 โอบามาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาชาวแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2552 (2009) สหรัฐอเมริกา เบน เบอร์นันเก เกิด 2496 ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
พ.ศ. 2553 (2010) สหรัฐอเมริกา มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เกิด 2527 ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก
พ.ศ. 2554 (2011) ผู้ประท้วง
(The Protester)
เป็นตัวแทนขบวนการประท้วงทั่วโลกจำนวนมาก เช่น อาหรับสปริง ขบวนการผู้โกรธ (Indignants Movement) ขบวนการเลี้ยงชา (Tea Party movement) และขบวนการยึดครอง (Occupy Movement) ตลอดจนการประท้วงในประเทศกรีซ อินเดีย รัสเซีย ชิลี ฯลฯ
พ.ศ. 2555 (2012) สหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา เกิด 2504 ในปี 2555 โอบามาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่สอง
พ.ศ. 2556 (2013) นครรัฐวาติกัน ประเทศอาร์เจนตินา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประสูติ 2479 ประมุขแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิกที่ได้รับเลือกตั้งในปี 2556 หลังสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนติกที่ 16 ลาออก
พ.ศ. 2557 (2014) นักสู้อีโบลา
(Ebola fighters)
คำนี้หมายถึงคนงานสาธารณสุขที่ช่วยต่อสู้การระบาดของโรคไวรัสอีโบลา มิได้หมายรวมเฉพาะแพทย์และพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมผู้ดูแลรถพยาบาล ผู้ฝังศพ เป็นต้น ด้วย
พ.ศ. 2558 (2015) ประเทศเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล เกิด 2497 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี มีความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สินในยุโรป วิกฤตผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ
พ.ศ. 2559 (2016) สหรัฐอเมริกา ดอนัลด์ ทรัมป์ (ครั้งที่ 1) เกิด 2489 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน
พ.ศ. 2560 (2017) กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการคุกคามทางเพศ
(The Silence Breakers)
กลุ่มบุคคลหญิงในวงการบันเทิงที่กล้าเปิดโปงพฤติกรรมประพฤติผิดทางเพศ
พ.ศ. 2561 (2018) เหล่าผู้คุ้มครอง และสงครามความจริง
(The Guardians and the War on Truth)
ญะมาล คอชุกญี, มาเรีย เรสซา, วา โลน, จ่อ โซ อู, The Capital Gazette
พ.ศ. 2562 (2019) ประเทศสวีเดน เกรียตา ทืนแบร์ย
(Greta Thunberg)
เกิด 2546
พ.ศ. 2563 (2020) สหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน เกิด 2485 ประธานาธิบดีสหรัฐและรองประธานาธิบดีสหรัฐ หลังจากชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563
สหรัฐอเมริกา กมลา แฮร์ริส เกิด 2507
พ.ศ. 2564 (2021) ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา อีลอน มัสก์ เกิด 2514 ซีอีโอบริษัทเทสลา, ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์, บุคคลที่รวยที่สุดในโลกประจำปี 2021
พ.ศ. 2565 (2022) ประเทศยูเครน วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย[6] เกิด 2521 ประธานาธิบดียูเครนตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดยูเครนในการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
ประเทศยูเครน จิตวิญญาณแห่งยูเครน[7] "จิตวิญญาณแห่งยูเครน" เป็นตัวแทนของ "ความอดทนของประชาชนชาวยูเครน และการต่อต้านของชาวยูเครนในพื้นที่ยึดครองของรัสเซียในยูเครน [en] รวมถึงความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อยูเครน"
พ.ศ. 2566 (2023) สหรัฐอเมริกา เทย์เลอร์ สวิฟต์ เกิด 2532 นักร้องและนักแต่งเพลงเจ้าของคอนเสิร์ตทัวร์ดิเอราส์ทัวร์ระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2567 ที่กลายเป็นคอนเสิร์ตทัวร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล[8] ส่งผลกระทบในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2563 ไทม์กล่าวว่าสวิฟต์เป็นบุคคลแห่งปีคนแรกที่ได้รับการยอมรับจาก "ความสำเร็จด้านศิลปะ" สวิฟต์เคยปรากฏบนปกนิตยสารในฐานะบุคคลแห่งปีใน พ.ศ. 2560 ในฐานะกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการคุกคามทางเพศ ทำให้เขาเป็นหญิงคนแรกที่ปรากฏบนปกนิตยสารในฐานะบุคคลแห่งปีเป็นครั้งที่สอง[9]
พ.ศ. 2567 (2024) สหรัฐอเมริกา ดอนัลด์ ทรัมป์ (ครั้งที่ 2) เกิด 2489 ในปี 2024 ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 ต่อรองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน กมลา แฮร์ริส และกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่สองที่ชนะการเลือกตั้งไม่ติดต่อกัน 2 สมัยหลังจาก โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในปี 1892[10][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Person of the Year: 75th Anniversary Celebration (Special Collector's ed.). New York: Time Books. 2002. OCLC 52817840.
  2. Time (2002) p. 1.
  3. First "Person" of the Year เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (rather than "Man" of the Year) is Jeff Bezos of amazon.com.
  4. Golden, Frederic (January 3, 2000). "Person of the Century: Albert Einstein". Time. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.[ลิงก์เสีย]
  5. "'You' named Time's person of 2006". BBC. 2006-12-17.
  6. "Volodymyr Zelensky Is Time's 2022 Person of the Year". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
  7. "The Spirit of Ukraine and Time's 2022 Person of the Year". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2023. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
  8. Gensler, Andy (December 8, 2023). "Taylor Swift Sets All-Time Touring Record With $1 Billion Gross". Pollstar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2023. สืบค้นเมื่อ December 8, 2023.
  9. Shah, Simmone (6 December 2023). "Taylor Swift Makes History as Person of the Year". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2023. สืบค้นเมื่อ 6 December 2023.
  10. Contorno, Steve; Holmes, Kristen (December 12, 2024). "Trump named Time's 'Person of the Year' for second time". CNN. สืบค้นเมื่อ December 12, 2024.
  11. Cortellessa, Eric (December 12, 2024). "Donald Trump 2024 TIME Person of the Year". Time. สืบค้นเมื่อ December 12, 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]