ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธีโอดอร์ รูสเวลท์)
ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 26
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2444 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2452
ก่อนหน้าวิลเลียม แมกคินลีย์
ถัดไปวิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2401
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
เสียชีวิต6 มกราคม พ.ศ. 2462 (60 ปี)
ออยสเตอร์เบย์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
พรรคการเมืองพรรคริพับลิกัน (พ.ศ. 2423-2454, พ.ศ. 2459-2462)
คู่สมรสแอลิซ ฮาธาเวย์ ลี โรเซอเวลต์ (พ.ศ. 2423)
เอดิธ เคอร์มิท คาโรว (พ.ศ. 2429)
บุตรแอลิซ ลี โรเซอเวลต์
ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ III
เคอร์มิท โรเซอเวลต์
อีเทล แคโรว โรเซอเวลต์
อาร์ชิบอล์ด บุลลอตช์ โรเซอเวลต์
เควนติน โรเซอเวลต์
บุพการีทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ซีเนียร์
มาร์ธา สตีวาร์ต บุลลอตต์
การศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ลายมือชื่อ
ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ในปี พ.ศ. 2447

ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (อังกฤษ: Theodore Roosevelt) (27 ตุลาคม พ.ศ. 2401 - 6 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐ ผู้คนนิยมเรียกเขาว่า เท็ดดี หรือตัวย่อ T.R. ซึ่งโรเซอเวลต์นั้นคือแรงบันดาลใจให้ก่อให้เกิดตุ๊กตาหมีอย่าง หมีเท็ดดี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในด้านการบริหารประเทศ โรเซอเวลต์ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร เขาได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันถึง 2 สมัย 8 ปี และใบหน้าของเขาก็ได้สลักไว้ในอนุสรณ์สถานแห่งชาติภูเขารัชมอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นประธานาธิบดีที่มีความสามารถและมีบทบาทมากคนหนึ่งของสหรัฐ เขายังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดในปี ค.ศ. 1905 อีกด้วย

โดยมีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพียง 2 คนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในคริสตจักรปฏิรูปดัตช์ คือ มาร์ติน แวน บูเรน ประธานาธิบดีคนที่ 8 และเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ไม่ได้มีเชื้อสายอังกฤษ รวมถึงไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เนื่องจากมีเชื้อสายดัตช์ และทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ เนื่องจากมีเชื้อสายดัตช์เป็นส่วนใหญ่[1] รวมถึงมีเชื้อสายอังกฤษ สกอต ไอริช เวลส์ เยอรมัน และฝรั่งเศส[2]

วัยเด็ก[แก้]

ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2401 ที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เขาเป็นบุตรคนที่ 2 ของ ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ซีเนียร์ (หรือผู้พ่อ) กับนางมิทที บูลลอช เขามีพี่น้องไม่รวมตัวเขา 3 คนคือ แอนนา โควเลส โรเซอเวลต์ (พี่สาว) เอลเลียท บูลลอช โรเซอเวลต์ (น้องชาย) คอรินี โรเซอเวลต์ โรบินสัน (น้องสาว) ในวัยเด็กนั้น โรเซอเวลต์เป็นเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอ และป่วยเป็นโรคหอบหืด ซึ่งในวัยเด็กโรเซอเวลต์ ซีเนียร์ พ่อของเขาได้มีอิทธิพลต่อตัวเขามาก ซึ่งเป็นแรงผลักดันและแรงบันดาลใจของเขาในเวลาต่อมา

โรเซอเวลต์เรียนจบจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ด้วยคะแนนที่ดีมาก เขาได้จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 โรเซอเวลต์นับว่าเป็นนักอ่านตัวยง เขาชอบอ่านหนังสือแนวประวัติศาสตร์ อัตชีวประวัติ ปรัชญา วาทศิลป์ รวมถึงจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ภายในหนังสือ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่มากกว่าตำราเรียนที่มีอยู่ เขาชื่นชอบการเล่นกีฬามาก โดยเฉพาะการชกมวย ซึ่งโรเซอเวลต์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการแข่งชกมวยของฮาวาร์ด โรเซอเวลต์ได้พยายามหัดเล่นกีฬาหลาย ๆ อย่าง เพื่อลบปมด้อยเรื่องสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอในวัยเด็ก นอกจากนี้แล้ว เขายังมีความสนใจในโลกธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยชื่นชอบทั้งการล่าสัตว์และการจับแมลงอีกด้วย

ครอบครัว[แก้]

โรเซอเวลต์แต่งงานครั้งแรกกับ แอไลส์ ฮาธาเวย์ ลี (29 กรกฎาคม ค.ศ. 186114 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884) ในปี ค.ศ. 1880 ซึ่งเธอเสียชีวิตในอีก 4 ปีต่อมา โรเซอเวลต์และลีมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คนชื่อ แอไลส์ ลี โรเซอเวลต์ ลองวอร์ธ โรเซอเวลต์แต่งงานอีกครั้งในปี ค.ศ. 1886 กับ เอดิธ เคอร์มิท คาโรว โรเซอเวลต์กับคาโรวมีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็นบุตรชาย 4 คนและบุตรสาว 1 คนได้แก่

การทำงาน[แก้]

โรเซอเวลต์ เป็นหนึ่งในประธานาธิบดีอเมริกาผู้มีชื่อเสียงเและสำคัญมากที่สุดผู้หนึ่ง โรเซอเวลต์เป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรงและเป็นผู้นำที่กระฉับกระเฉง การจัดการสำคัญของการบริหารของโรเซอเวลต์ก็เพื่อจะสร้างความเสมอภาคในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขาเชื่อว่าเขาควรเป็นตัวแทนประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน และคนงานคอขาว หรือนักธุรกิจ โรเซอเวลต์เรียกชื่อโปรแกรมนี้ว่าการจัดการที่เสมอภาค ปีค.ศ. 1902 เขาชักชวนประเทศเยอรมันให้ตัดสินการโต้แย้งระหว่างอเมริกาและเวเนซุเอลา ในปี 1903 เขาได้คลองปานามา เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914 ตอนแรกโรเซอเวลต์ปฏิเสธที่จะเข้าข้างฝ่ายใด แต่หลังจากสองสามเดือนผ่านไป เขาก็ตัดสินใจว่าผลประโยชน์ของอเมริกาและโลกต้องได้รับชัยชนะเหนือเยอรมันเป็นดีที่สุด ความสามารถโดยธรรมชาติของโรเซอเวลต์ผสมกับการประสบความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอของเขา ทำให้เขาประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแสดงความเป็นผู้นำด้านการควบคุม โรเซอเวลต์ผลักดันการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเขายึดทฤษฎีที่ว่า 1. ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของประชาชนทุกคน 2. การป่าไม้ที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะให้ปริมาณไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ 3. หมู่บ้านริมแม่น้ำควรได้รับการพัฒนาเป็นหน่วยรวม ปีค.ศ. 1905 เขาเสนอความช่วยเหลือเพื่อยุติสงครามระหว่างรัสเซียญี่ปุ่น การเป็นกลางของเขาประสบผลสำเร็จและทำให้เขาได้รับรางวัลสันติภาพโนเบล ในทางตรงกันข้าม เขากลับยังส่งกองทหารอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกในปี 1917

การเมือง[แก้]

โรเซอเวลต์ และครอบครัวในปี ค.ศ. 1903

ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ เป็นนักอนุรักษนิยม สนับสนุนการใช้กฎหมายก้าวหน้าเพื่อช่วยเหลือคนยากจน เขาดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 25 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบปีคนที่ 26 ภายหลังการลอบสังหารประธานาธิบดี วิลเลียม แมกคินลีย์ ในปี ค.ศ. 1901 และได้รับเลือกตั้งอีกหนึ่งสมัย

ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ลาออกจากพรรครีพับลิกัน และลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ในปี ค.ศ. 1912 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ผู้ที่ชนะเลือกตั้ง คือ ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน จากพรรคเดโมแครต

ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ผลักดันให้โครงการขุดคลองปานามาสำเร็จในปี ค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446) เขาเป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ชื่อของเขาได้ใช้เป็นชื่อเรือดำน้ำ และเรือบรรทุกเครื่องบิน

โรเซอเวลต์ ในชุดเครื่องแบบทหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. James Patrick Byrne; Philip Coleman; Jason Francis King. Ireland and the Americas: Culture, Politics, and History. p. 848.
  2. Vought, Hans P. (2004). The Bully Pulpit and the Melting Pot: American Presidents and the Immigrant, 1897–1933. Macon, Georgia: Mercer University Press. p. 29. ISBN 0-86554-887-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]