ความตกลงโดฮา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความตกลงโดฮา
ความตกลงเพื่อนำสันติภาพสู่อัฟกานิสถาน
ซัลเมย์ เคาะลีลซาด (ซ้าย) ตัวแทนสหรัฐ และอับดุล ฆานี บาราดาร์ (ขวา) ตัวแทนตอลิบาน ลงนามความตกลงที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
ประเภทความตกลงสันติภาพ
บริบทสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–2564)
วันลงนาม29 กุมภาพันธ์ 2020; 4 ปีก่อน (2020-02-29)
ที่ลงนามเชอราตันแกรนด์โดฮา โดฮา กาตาร์
ผู้ลงนาม ซัลเมย์ เคาะลีลซาด
อับดุล ฆานี บาราดาร์
ภาคี สหรัฐ
ตอลิบาน
ภาษา
Agreement for Bringing Peace to Afghanistan ที่ วิกิซอร์ซ

ความตกลงโดฮา (อังกฤษ: Doha Agreement) มีอีกชื่อว่า ความตกลงเพื่อนำสันติภาพสู่อัฟกานิสถาน (Agreement for Bringing Peace to Afghanistan) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ลงนามโดยสหรัฐกับกลุ่มตอลิบานในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เพื่อยุติสงครามอัฟกานิสถาน[1] โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาความยาว 4 หน้า ที่เชอราตันแกรนด์โดฮาในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ และเผยแพร่เอกสารลงในเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ความตกลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถอนทัพเนโททั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานโดยแลกกับการที่ตอลิบานให้คำมั่นว่าจะไม่ให้อัลกออิดะฮ์เข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตอลิบาน รวมถึงการเจรจาที่ยังดำเนินอยู่ระหว่างตอลิบานกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน สหรัฐตกลงที่จะถอนกำลังทหารจาก 13,000 นายให้เหลือ 8,600 นายภายใน 135 วัน (เมื่อถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563) ตามมาด้วยการถอนกำลังทั้งหมดภายใน 14 เดือน (เมื่อถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) นอกจากนี้ สหรัฐจะปิดฐานทัพทหาร 5 แห่งภายใน 135 วัน และได้แสดงเจตจำนงที่จะยกเลิกการลงโทษทางเศรษฐกิจกับตอลิบานในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ความตกลงนี้ได้รับการสนับสนุนจากจีน รัสเซีย และปากีสถาน[3] และได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[4] แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน[3] ส่วนอินเดียแสดงความยินดีกับความตกลงนี้[5][6]

ถึงแม้จะมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแล้ว แต่ในภายหลังกลุ่มผู้ก่อการกบฏยังคงโจมตีกองกำลังความมั่นคงอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตพันกว่าคน อย่างไรก็ตาม การถอนกำลังทหารตามความตกลงยังคงดำเนินต่อไป เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เหลือทหารสหรัฐประจำการในอัฟกานิสถานเพียง 2,500 นาย และเนโทถอนทัพออกจนหมดเมื่อถึงช่วงปลายฤดูร้อนในปีนั้น สหรัฐถอนทหารโดยสมบูรณ์ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งตรงกับช่วงที่ตอลิบานใช้กำลังยึดครองประเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Qazi, Shereena (February 29, 2020). "Afghanistan's Taliban, US sign agreement aimed at ending war". Al-Jazeera. สืบค้นเมื่อ March 6, 2021.
  2. Agreement for Bringing Peace to Afghanistan between the Islamic Emirate of Afghanistan which is not recognized by the United States as a state and is known as the Taliban and the United States of America (PDF). United States Department of State (Report). February 29, 2020. สืบค้นเมื่อ August 17, 2021.
  3. 3.0 3.1 Basu, Nayanima (12 September 2020). "India asserts Afghanistan's 'national sovereignty' as peace talks with Taliban start in Qatar". ThePrint. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
  4. "Security Council resolution endorses moves towards long-sought Afghanistan peace". United Nations. 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ September 11, 2021.
  5. Bhattacherjee, Kallol (29 February 2020). "U.S.-Taliban agreement | India hails peace deal in "contiguous neighbour"". The Hindu. สืบค้นเมื่อ September 11, 2021.
  6. "India Loath to Welcome US-Taliban Agreement but Notes All Afghans Have Hailed Deal". The Wire. March 1, 2020. สืบค้นเมื่อ August 17, 2021.