ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำโขง"

พิกัด: 33°42′30″N 94°41′42″E / 33.708333°N 94.695°E / 33.708333; 94.695
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
== ลำน้ำสาขา ==
== ลำน้ำสาขา ==
ลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามระบบลุ่มน้ำประธาน ประกอบด้วย
ลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามระบบลุ่มน้ำประธาน ประกอบด้วย

{|
|-
| valign = "top" width="50%" |
=== [[ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง]] ===
* [[แม่น้ำรวก]]
** [[แม่น้ำสาย]]
* [[แม่น้ำแม่จัน]]
* [[แม่น้ำอิง]]
* [[แม่น้ำเหือง]]
* [[แม่น้ำเลย]]
* [[แม่น้ำหลวง]]
* [[แม่น้ำสงคราม]]
** [[แม่น้ำอูน]]
* [[แม่น้ำเค็ม]]
* [[ห้วยบางทราย]]
* [[ห้วยละห้า]]

=== [[ลุ่มน้ำกก]] ===
* [[แม่น้ำกก]]
** [[แม่น้ำฝาง]]
** [[แม่น้ำลาว]]

=== [[ลุ่มน้ำชี]] ===
* [[แม่น้ำชี]]
** [[ลำปาว]]
** [[ลำน้ำเซิน]]
** [[ลำน้ำพรม]]
| valign = "top" width="50%" |
=== [[ลุ่มน้ำมูล]] ===
* [[แม่น้ำมูล]]
** [[ลำตะคอง]]
** [[ลำเชียงไกร]]
** [[ลำพระเพลิง]]
** [[ลำแซะ]]
** [[ลำจักราช]]
** [[ลำปลายมาศ]]
** [[ลำนางรอง]]
** [[ลำชี]]
** [[ห้วยสำราญ]]
** [[ห้วยตามาย]]
** [[ห้วยขยุง]]
** [[ลำโดมใหญ่]]
** [[ลำโดมน้อย]]
** [[ลำพังชู]]
** [[ลำเสียวใหญ่]]
** [[ลำเสียวน้อย]]
** [[ลำเซบก]]
** [[ลำเซบาย]]
** [[ห้วยเสนง]]

=== [[ลุ่มน้ำโตนเลสาบ]] ===
* [[ทะเลสาบเขมร]] และ[[แม่น้ำโตนเลสาบ]]
** [[แม่น้ำเสียมราฐ]]
** ลุ่มน้ำโตนเลสาบในประเทศไทย <ref>[http://www.sakaeoceo.com/chapter3/data19.htm ข้อมูลแหล่งน้ำ] ศูนย์ปฏิบัติการณ์จังหวัดสระแก้ว</ref>
*** [[ห้วยลำสะโตน]]
*** [[ห้วยตะเคียน]]
*** [[ห้วยนางาม]]
*** [[ห้วยพรมโหด]]
*** [[คลองน้ำใส]]
*** [[คลองโป่งน้ำร้อน]]
|}


[[ไฟล์:Mekong.jpg|thumb|280px|right|ทิวทัศน์แม่น้ำโขงก่อนพระอาทิตย์ตก]]
[[ไฟล์:Mekong.jpg|thumb|280px|right|ทิวทัศน์แม่น้ำโขงก่อนพระอาทิตย์ตก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:41, 14 ธันวาคม 2559

แม่น้ำโขง
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มแม่น้ำโขง
ชื่อแหล่งน้ำแม่น้ำโขง
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทแม่น้ำ
ไหลผ่านธงของประเทศจีน จีน

ธงของประเทศพม่า พม่า
ธงของประเทศลาว ลาว
 ไทย
ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา

ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม
ความยาว4,880 กม.
พื้นที่ลุ่มน้ำ759,000 ตร.กม. [1]
ระดับความสูงของต้นน้ำ5224
ปริมาณน้ำเฉลี่ย2,506.6 ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่73.99 ลิตร/วินาที/ตร.กม. [2]
แผนที่
caption=แผนที่แสดงเขตระบบแม่น้ำของแม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (อังกฤษ: Mekong River) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก แม่น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง

ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก

นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง

สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก (Pangasianodon gigas)

แม่น้ำโขงกับความเชื่อพื้นบ้าน

คนไทยและคนลาวมีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค หรืองูขนาดใหญ่ที่มีฤทธิ์มาก ว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ตำนานพญานาคที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงก็เช่น ตำนานวังนาคินทร์คำชะโนด

นอกจากนี้ ทุกวันออกพรรษาจะมีประชาชนจำนวนมากไปเยือนริมฝั่งแม่น้ำของในประเทศไทย แถบอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เพื่อดูปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก จังหวัดที่มีปรากฏการณ์บั่งไฟพญานาคที่มีประชาชนนิยมไปเฝ้าดูมากที่สุด คือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีกลุ่มนักวิจัยจากหลายสถาบันได้ออกมาชี้ชัด หรือหาหลักฐานอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่าเกิดจากกลุ่มก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในแม่น้ำโขง อาทิเช่น ก๊าซมีเทน เป็นต้น แต่ก็ยังมิได้มีหลักฐานชี้ชัดเป็นที่แน่นอน ว่าเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดจากการกระทำของพญานาค หรือ เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับการชมภูมิทัศน์ของลำน้ำโขงที่มีชื่อเสียงได้แก่ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ตอนบนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และพม่า

ลำน้ำสาขา

ลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามระบบลุ่มน้ำประธาน ประกอบด้วย

ทิวทัศน์แม่น้ำโขงก่อนพระอาทิตย์ตก

สะพานข้ามแม่น้ำโขง

ภายในประเทศจีน

  • สะพาน Lan Cang และ Lushi
  • สะพาน S323

ภายในประเทศจีน-ลาว

พรมแดนประเทศพม่า-ลาว

  • สะพานมิตรภาพพม่า-ลาว

พรมแดนประเทศไทย-ลาว

ภายในประเทศลาว

  • สะพานไชยบุรี-หลวงพระบาง
  • สะพานปากเซ
  • สะพานเมืองของ
  • สะพานอุดมไซ

ภายในประเทศกัมพูชา

  • สะพาน Prek Tamak
  • สะพานคิซุนะ
  • สะพาน Takhmao
  • สะพาน Prek Kdam

ภายในประเทศกัมพูชา-ลาว

ภายในประเทศเวียดนาม

  • สะพานเกิ่นเทอ (ข้ามแม่น้ำบาสัก - แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง)
  • สะพาน Mỹ Thuận
  • สะพาน Rạch Miễu

ภายในประเทศเวียดนาม-ลาว

ความสัมพันธ์ทางสื่อสารมวลชนกับชีวิตชาวแม่น้ำโขง

Mekong Community TV (MCTV)

เป็นการเสนอข่าวสารและข้อมูลต่างๆของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ออกอากาศในข่าวภาคค่ำทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2551 โดยได้ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์แต่ละประเทศบนลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ตัวแทนประเทศละ 1 สถานี มีดังต่อไปนี้ (ไม่มีตัวแทนจากประเทศพม่า)

รายการแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต

สัญลักษณ์รายการ แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต

รายการแม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต ถือว่าเป็นรายการประเภทสารคดีที่เล่าถึงชีวิตของคนบนผืนแผ่นดินลุ่มน้ำโขง ทั้ง ประเทศ ซึ่งร่วมมือสร้างสารคดี เป็นเวลายาวนานถึง 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2551 จำนวนการออกอากาศมีทั้งสิ้น 20 ตอน โดยในประเทศไทย ออกอากาศในปี พ.ศ. 2551 รายการนี้ ถือว่าเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สถานีโทรทัศน์แต่ละประเทศบนลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ตัวแทนประเทศละ 1 สถานี มีดังต่อไปนี้

แม่น้ำโขงกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ดูที่บทความ ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

33°42′30″N 94°41′42″E / 33.708333°N 94.695°E / 33.708333; 94.695