เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณ

พิกัด: 41°9′25″N 126°11′14″E / 41.15694°N 126.18722°E / 41.15694; 126.18722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศมณฑลจี๋หลิน มณฑลเหลียวหนิง  จีน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv) (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2547 (คณะกรรมการสมัยที่ 28)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณ (จีน: 高句丽王城、王陵及贵族墓葬) คือแหล่งมรดกโลกที่ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีในเมือง 3 เมือง ได้แก่ เมืองอู๋นฺหวี่ชาน ในมณฑลเหลียวหนิง เมืองกั๋วเน่ย (กุกแนซง - ตามภาษาเกาหลี) และเมืองหวันตูชาน (ฮวันโด - ตามภาษาเกาหลี) ในมณฑลจี๋หลิน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสุสานอีก 40 แห่ง ซึ่งเป็นของราชวงศ์ 14 แห่ง และขุนนาง 26 แห่ง ทั้งหมดแสดงถึงร่องรอยวัฒนธรรมโกคูรยอซึ่งได้มีอำนาจเหนือบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและคาบสมุทรเกาหลี ในช่วง 277 ปีก่อน ค.ศ. จนถึง ปี ค.ศ. ที่ 668

แหล่งโบราณคดีในเมืองอู๋หนิ่วได้ทำการขุดค้นไปเพียงเล็กน้อย ส่วนเมืองกั๋วเน่ย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองจี๋หนิงในปัจจุบันนั้นได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงรอง หลังจากเมืองหลวงของโคกูรยอได้ย้ายไปตั้งที่กรุงเปียงยาง และสำหรับเมืองหวันตู หนึ่งในเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอนั้น ได้มีร่องรอยของพระราชวังและสุสานจำนวนกว่า 37 แห่ง

มรดกโลก[แก้]

เมืองหลวงและสุสานของอาณาจักรโคกูรยอโบราณได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

41°9′25″N 126°11′14″E / 41.15694°N 126.18722°E / 41.15694; 126.18722