ข้ามไปเนื้อหา

เทียนชานในซินเจียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียนชานในซินเจียง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
The Tian Shan range on the border between China and Kyrgyzstan with Khan Tengri (7,010 m) visible at center.
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii) (ix)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประกอบด้วยพื้นที่ 4 พื้นที่ ได้แก่ โทมูร์ คาลาจุน-เควอร์เตอหนิง ปาอินปูคูเคอ และปกตา (Tomur, Kalajun-Kuerdening, Bayinbukuke and Bogda) รวมพื้นที่ 606,833 เฮกแตร์ (6,068.33 ตร.กม. หรือ 3,792,706 ไร่) พื้นที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูเขาเทียนชานแห่งเอเชียกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซินเจียงเทียนชานมีรูปลักษณะภูมิประเทศทางกายภาพที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และมีพื้นที่ที่มีทิวทัศน์งดงาม ได้แก่หิมะและภูเขาหิมะที่มียอดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ป่าและทุ่งหญ้าที่บริสุทธิ์ แม่น้ำและทะเลสาบที่ใสสะอาด และหุบเขาหินแดง ภูมิทัศน์เหล่านี้ตัดกันกับภูมิทัศน์ของทะเลทรายอันกว้างใหญ่ที่อยู่ติดกัน ก่อให้เกิดภาพตรงกันข้ามของสภาพแวดล้อมของความร้อนและความหนาว ความแห้งและความเปียก ความเปล่าเปลี่ยวและความอุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่และระบบนิเวศยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ตั้งแต่ยุคไพลโอซีน และเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา แหล่งนี้ยังมีพื้นที่แผ่เข้าไปภายในทะเลทรายตากลิมากัน ซึ่งเป็นหนึ่งในทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดและอยู่บนพื้นที่สูงที่สุดของโลก มีชื่อเสียงด้วยเนินทรายขนาดใหญ่และพายุทรายที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น ซินเจียงเทียนชานยังเป็นถิ่นที่อยู่ของพืชพันธุ์เฉพาะถิ่นและพืชพันธุ์โบราณ ซึ่งบางชนิดหายากและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

มรดกโลก

[แก้]

เทียนชานในซินเจียงได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 37เมื่อปี 2556ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

อ้างอิง

[แก้]