ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง


ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง เป็นลุ่มแม่น้ำสายหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ และเป็นลุ่มแม่น้ำสายหลักของภาคอีสานและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชนิด[1]
แม่น้ำโขง[แก้]
ดูบทความหลักที่ แม่น้ำโขง
แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต และมีจุดกำเนิดร่วมกับอีก 2 แม่น้ำ คือ แม่น้ำแยงซี และ แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านถึง 7 ประเทศ จนกระทั่งไหลไปออกทะเลจีนใต้ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม มีลำน้ำสาขาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำอีกจำนวนมาก เช่น แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี, แม่น้ำสงคราม, หนองหาน, ทะเลสาบเขมร
แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายของชนิดปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ และแม่น้ำคองโกในทวีปแอฟริกา[2]
ชนิดปลา[แก้]
(อาทิ)[3]
ปลากระดูกอ่อน[แก้]
- วงศ์ปลาฉลาม
- ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลาฉนาก
- ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง (Pristis microdon)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลากระเบนธง
- ปลากระเบนลาว (Dasyatis laoensis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Himantura chaophraya)
- ปลากระเบนลายเสือ (Himantura oxyrhyncha)
ปลากระดูกแข็ง[แก้]
- วงศ์ปลากราย
- วงศ์ปลาตูหนา
- ปลาไหลหูขาว (Anguilla marmorata)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลาหลังเขียว
- ปลาหมากผาง (Tenualosa thibaudeaui)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลากะตัก
- ปลาแมว (Setipinna melanochir)
- วงศ์ปลาตะเพียน
- ปลาแปบควาย (Paralaubuca spp.)
- ปลาสะนากยักษ์ (Aaptosyax grypus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus)
- ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae)
- ปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus)
- ปลาซิวควาย (Rosbora tornieri)
- ปลาซิวควายข้างเงิน (Rasbora argyrotaenia)
- ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis)
- ปลายี่สก (Probarbus jullieni)
- ปลาเอินตาขาว (Probarbus labeamajor)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาเอินฝ้าย (Probarbus labeaminor)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาเกล็ดถี่ (Thynnichthys thynnoides)
- ปลาตะกาก (Cosmochilus harmandi)
- ปลาตะโกก (Cyclocheilichthys enoplos)
- ปลาโจกไหม (Cyclocheilichthys furcatus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาเสือข้างลาย (Puntius partipentazona)
- ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides)
- ปลาน้ำฝายหลังดำ (Sikukia stejnegeri)
- ปลาตะเพียน (Barbonymus gonionotus)
- ปลาตะเพียนทอง (Barbonymus altus)
- ปลากระแห (Barbonymus schwanenfeldi)
- ปลาตะพาก (Hypsibarbus wetmorei)
- ปลาปากหนวด (Hypsibarbus vernayi)
- ปลาตะพากส้ม (Hypsibarbus malcolmi)
- ปลาหนามหลังขาว (Mystacoleucus ectypus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหนามหลัง (Mystacoleucus marginatus)
- ปลากระมัง (Puntioplites proctozysron)
- ปลากระมังครีบสูง (Puntioplites falcifer)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาปากเปี่ยน (Scaphognathops spp.)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหว้าหน้านอ (Bangana behri)
- ปลาเพ้า (Bangana sinkleri)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาบัว (Labeo dyocheilus)
- ปลากาดำ (Epalzeorhynchos chrysophekadion)
- ปลากาแดง (Epalzeorhynchos frenatum)
- ปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis)
- ปลาสร้อยน้ำเงิน (Cirrhinus jullieni)
- ปลาแกง (Cirrhinus molitorella)
- ปลานวลจันทร์น้ำจืด (Cirrhinus microlepis)
- ปลาสะอี (Mekongina erythrospila)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาไน (Cyprinus carpio)**เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- ปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus)**เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- ปลายี่สกเทศ (Labeo rohita)**เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- ปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus vittatus)
- วงศ์ปลาหมู
- ปลารากกล้วย (Acanthopsis spp.)
- ปลาหมูขาว (Yasuhikotakia modesta)
- ปลาหมูค้อ (Yasuhikotakia morleti)
- วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง
- ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus aymonieri)
- ปลามูด (Gyrinocheilus pennocki)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลากด
- ปลาดุกมูน (Bagrichthys obscurus)
- ปลากดเหลือง (Hemibagrus spp.)
- ปลากดคัง (Hemibagrus wickioides)
- ปลากดหม้อ (Hemibagrus wickii)
- วงศ์ปลาเนื้ออ่อน
- ปลาคางเบือน (Belodontichthys truncatus)
- ปลาดังแดง (Hemisilurus mekongensis)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาน้ำเงิน (Micropogon apogon)
- ปลาแดง (Micropogon bleekeri)
- ปลาขาไก่ (Krytopterus crytopterus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาค้าวขาว (Wallago attu)
- ปลาค้าวดำ (Wallago micropogon)
- วงศ์ปลาสวาย
- ปลาสวายหนู (Helicophagus waandersii)
- ปลาบึก (Pangasianodon gigas)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาสวาย (Pangasianodon hypopthalmus)
- ปลาสังกะวาดท้องคม (Pteropangasius pleurotaenia)
- ปลาเทโพ (Pangasius larnaudii)
- ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei)
- ปลาโมง (Pangasius conchophilus)
- ปลาเผาะ (Pangasius bocourti)
- ปลายาว (Pangasius krempfi)
- ปลาสังกะวัง (Pangasius polyuranodon)
- วงศ์ปลาแค้
- ปลาแค้วัว (Bagarius bagarius)
- ปลาแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli)
- ปลาแค้งู (Bagarius suchus)
- วงศ์ปลาดุก
- ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus)
- ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)
- ปลาดุกรัสเซีย (Clarias gariepinus)**ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- วงศ์ปลากดทะเล
- ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลากระทุงเหว
- ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila)
- วงศ์ปลาเข็ม
- วงศ์ปลาหัวตะกั่ว
- ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax)
- วงศ์ปลาแป้นแก้ว
- ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis)
- วงศ์ปลาเสือตอ
- ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher)
- ปลาเสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลากะพงขาว
- ปลากะพงขาว (Lates calcarifer)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลาจวด
- ปลาม้า (Boesemania microlepis)
- วงศ์ปลาอินทรี
- ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (Scomberomorus sinensis)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลากุเรา
- ปลาหนวดพราหมณ์ (Polynemus paradiseus)**ปลาอพยพ
- วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ
- ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotes chatareus)
- ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ (Toxotes microlepis)
- วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ
- ปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepis fasciatus)
- วงศ์ปลาบู่
- ปลาบู่หมาจูแม่น้ำโขง (Brachygobius mekongensis)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาบู่ทราย
- ปลาบู่ (Oxyeleotris marmorata)
- วงศ์ปลาหมอ
- ปลาหมอ (Anabas testudineus)
- วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ
- ปลาดุมชี (Nandus oxythynchus)
- วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
- ปลากระดี่หม้อ (Trichogaster trichogaster)
- ปลากระดี่นาง (Trichogaster microlepis)
- ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis)
- ปลากัดอีสาน (Betta smaragdina)**ปลาท้องถิ่น
- ปลากริมมุก (Trichopsis pumilus)
- ปลากริมอีสาน (Trichopsis schalleri)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาแรด (Osphronemus goramy)
- ปลาแรดแม่น้ำโขง (Osphronemus exodon)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาช่อน
- วงศ์ปลาหมอสี**ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
- ปลานิล (Oreochromis niloticus)
- วงศ์ปลาซิวข้าวสาร
- ปลาซิวข้าวสารสงคราม (Oryzias songkhramensis)**ปลาท้องถิ่น
- วงศ์ปลาไหลนา
- ปลาไหลนา (Monopterus albus)
- วงศ์ปลากระทิง
- ปลาหลดหลังจุด (Macrognathus semiocellatus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาหลด (Macrognathus siamensis)
- ปลากระทิง (Mastacembelus armatus)
- วงศ์ปลาลิ้นหมา
- ปลาใบไม้ (Brachirus harmandi)
- วงศ์ปลายอดม่วง
- ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (Cynoglossus microlepis)
- ปลายอดม่วงลาย (Cynoglossus fledmanni)
- วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
- ปลาปักเป้าทองแม่น้ำโขง (Auriglobus nefastus)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาปักเป้าดำ (Tetraodon cochinchinensis)
- ปลาปักเป้าขน (Tretraodon baileyi)**ปลาท้องถิ่น
- ปลาปักเป้าปากขวด (Tetraodon cambodgiensis)
- ปลาปักเป้าควาย (Tetraodon suvatti)**ปลาท้องถิ่น
กรณีเขื่อนปากมูล[แก้]
หลังจากมีการสร้างและเปิดใช้เขื่อนปากมูลขึ้นในปี พ.ศ. 2537 พบว่ามีชนิดปลาที่พบในแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขงลดลงมาก เนื่องจากเป็นผลกระทบของการสร้างเขื่อน ซึ่งในเรื่องนี้ชาวบ้านพื้นถิ่นได้คัดค้านและประท้วงมาโดยตลอด
จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปิดประตูเขื่อนปากมูลขึ้นทั้ง 8 บาน เป็นระยะเวลา 1 ปี ทางคณะนักวิจัยไทบ้าน ได้ลงพื้นที่ศึกษาและสำรวจชนิดปลาที่พบในแม่น้ำมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พบว่ามีชนิดปลาเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำมูลและสาขาของแม่น้ำโขงในบริเวณใกล้เคียงกัน 265 ชนิด ซึ่งเป็นปลาที่อพยพจากแม่น้ำโขง 134 ชนิด โดยเป็นปลาจากต่างถิ่น (ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น) 7 ชนิด และหลายชนิดเป็นปลาอพยพที่ต้องเดินทางไกลเป็นพันกิโลเมตรจากดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด อาทิ ปลาไหลหูขาว, ปลากะพงขาว เพื่อเจริญเติบโต
จากการศึกษาพบว่าการอพยพของปลาในลุ่มน้ำแห่งนี้ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี การเริ่มอพยพมาอาศัย เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน และเริ่มอพยพย้ายกลับ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม จากเดิมที่เคยเชื่อว่าปลาจะอพยพย้ายถิ่นเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Mekong Development" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
- ↑ หนังสือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน พ.ศ. 2543 โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย ISBN 974-87081-5-2
- ↑ "หนังสือ ความรู้ท้องถิ่นเรื่องพันธุ์ปลา แม่น้ำโขง : งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น [[พ.ศ. 2549]] ([[ดาวน์โหลด]])". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.