พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ28 มีนาคม พ.ศ. 2415
สิ้นพระชนม์24 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (46 ปี)
ราชสกุลสุทัศนีย์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาหม่อมหลวงนวม

มหาอำมาตย์ตรี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร (28 มีนาคม พ.ศ. 2415 — 24 ตุลาคม พ.ศ. 2461) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมหลวงนวม

พระประวัติ[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมหลวงนวม (ราชสกุลปาลกะวงศ์; ธิดาหม่อมราชวงศ์เนตร) เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2415 ต่อมาได้เข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา ทรงสอบในมูลบท 1 วาห์นิติ 1 ได้ และทรงได้รับพระราชทานรางวัลที่ 1 ในคราวนั้น

พระองค์สุทัศน์ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทย มณฑลปราจิณบุรี ต่อมาทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2446 และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงโยธาธิการ ได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท และทรงเข้ารับราชการที่กระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงคมนาคม[1] ได้รับพระราชทานยศเป็น "มหาอำมาตย์ตรี"

นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นเจ้าของคณะหุ่นกระบอก เรียกกันในชื่อสามัญว่า "หุ่นพระองค์สุทัศน์" เป็นคณะหุ่นกระบอกสำคัญที่ก่อให้เกิดความนิยมมหรสพชนิดนี้[2] และทรงพระนิพนธ์บทหุ่นกระบอกเรื่องสิงห์สุริยวงษ์ เป็นคำกลอนไว้

พระองค์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2460 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว [3]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร ประชวรพระโรคไข้จับ สิ้นพระชนม์ที่วังในคลองวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2461 สิริพระชันษา 46 ปี

การนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสด็จเป็นองค์ประธานในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะแตรสังข์จ่าปี่จ่ากลองตามพระเกียรติยศ เมื่อเสร็จการสรงพระศพแล้ว เจ้าพนักงานทรงเครื่องสุกำพระศพเสร็จเชิญลงลองใน แล้วเชิญขึ้นตั้งบนชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศพระองค์เจ้า ตั้งเครื่องสูง 3 ชั้น แวดล้อม 4 องค์ การนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประโคมแตรสังข์ กลองชนะ จ่าปีจ่ากลอง ประจำพระศพ กับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป ฉันเพล 4 รูป มีกำหนด 15 วัน[4] และพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463[5]

พระโอรสและธิดา[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร เป็นต้นราชสกุล สุทัศนีย์ ณ อยุธยา[6] มีพระโอรสและพระธิดา 10 องค์ ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าทัศน์สุเทพ สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมบัว (ประสูติ พ.ศ. 2438) มีโอรส คือ
    1. หม่อมราชวงศ์ทวยเทพ สุทัศนีย์ มีบุตร คือ
      1. หม่อมหลวงธารทิพย์ สุทัศนีย์
  2. หม่อมเจ้าเสพย์จิตรจำนงค์ สุทัศนีย์ บางแห่งว่าหม่อมเจ้าเสพย์จิตรบรรจง สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมผัน (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 2 มีนาคม พ.ศ. 2515) เสกสมรสกับหม่อมถวิล และมีหม่อมอีกหลายคน มีโอรสและธิดา ดังนี้
    1. นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์ไพฑูรย์ สุทัศนีย์ เกิดแต่หม่อมถวิล
    2. นาวาเอก หม่อมราชวงศ์วุฒิ สุทัศนีย์ เกิดแต่หม่อมถวิล
    3. หม่อมราชวงศ์หญิงนิภาพันธุ์ สุทัศนีย์ เกิดแต่หม่อมถวิล
    4. แพทย์หญิง หม่อมราชวงศ์หญิงอาภาธร สุทัศนีย์ เกิดแต่หม่อมถวิล
    5. หม่อมราชวงศ์พงษ์พันธุ์ สุทัศนีย์
    6. หม่อมราชวงศ์สานิตย์ สุทัศนีย์
  3. หม่อมเจ้าวรพงศ์พัฒนา สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมผัน (พ.ศ. 2442 — 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2513) มีธิดา คือ
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงศรีวรพงศ์ สุทัศนีย์
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์พัฒนา สุทัศนีย์
  4. หม่อมเจ้าหญิงดาราจรัส สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมผัน (ประสูติปี พ.ศ. 2452)
  5. หม่อมเจ้าหญิงชัชวาลย์ฉวี สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมผัน ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อทำการสมรสกับสามัญชน
  6. หม่อมเจ้าศรีสุทัศนวงศ์ สุทัศนีย์ ไม่ทราบหม่อมมารดา (20 ตุลาคม พ.ศ. 2454 — 7 มกราคม พ.ศ. 2505)
  7. หม่อมเจ้าพงศ์นิภาธร สุทัศนีย์ ประสูติแต่หม่อมผัน
  8. หม่อมเจ้าหญิงบวรวิจิตร สุทัศนีย์ ประสูติแด่หม่อมผัน (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 — 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อทำการสมรสกับสามัญชน
  9. หม่อมเจ้าพิศประไพทัศน์ ไม่ทราบหม่อมมารดา (พ.ศ. 2462 — 19 สิงหาคม พ.ศ. 2465)
  10. หม่อมเจ้านพรัตน์จำนงค์ สุทัศนีย์ ไม่ทราบหม่อมมารดา (พระราชทานเพลิงศพปี พ.ศ. 2516)

พระยศ[แก้]

พระยศพลเรือน[แก้]

  • – อำมาตย์โท
  • 17 พฤษภาคม 2457 – อำมาตย์เอก[7]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • 8 ธันวาคม 2460 – นายหมวดเอก[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • พ.ศ. 2452 - เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้น 3 (เงิน)[13]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แจ้งความกระทรวงคมนาคม เรื่อง เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง
  2. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๒ หุ่นกระบอกไทย / คณะหุ่นกระบอก[ลิงก์เสีย]
  3. รายพระนามแลรายนามผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี พุทธศักราช 2460 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 เมษายน 2460
  4. ข่าวสิ้นพระชนม์ วันที่ 27 ตุลาคม 2461 ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 35 หน้า 1793 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/1793.PDF
  5. การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 พฤษภาคม 2463 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/540.PDF
  6. "ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 13 กุมภาพันธู์ 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 2167 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2459 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2166.PDF
  10. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 31 หน้า 2382 วันที่ 10 มกราคม 2457
  11. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 หน้า 2387 วันที่ 28 มกราคม 130
  12. โรงเรียนมหาดเล็ก. บาญชีพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน ศก 128. กรุงเทพ : โรงพิมพ์สามมิตร, พ.ศ. 2452. 70 หน้า. หน้า 7.
  13. พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 26 หน้า 2633 วันที่ 6 มีนาคม 128