ผู้ใช้:Mr.nana/สมุดจด 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Welcome to note Mr.nana 2

บทความแนะนำประจำสถานีย่อย (เรียงตามวันเกิด)[แก้]

นิยายวิทยาศาสตร์[แก้]

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ.683 ม.ศ.1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ อ.สินชัย กระบวนแสง ได้วิเคราะห์เหตุผลการแต่งไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไท ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้วย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตกนรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร

ดาราศาสตร์[แก้]

จุดมืดดวงอาทิตย์ (อังกฤษ: Sunspot) คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนผิวดวงอาทิตย์ (โฟโตสเฟียร์) ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 4000-4500 เคลวิน เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวิน ถ้าเรานำจุดมืดออกมาจากดวงอาทิตย์มันจะสามารถเปล่งแสงสว่างได้มากกว่าแสงจากการเชื่อมเหล็ก เสียอีก จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้วย

การ์ตูนญี่ปุ่น[แก้]

โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもんโรมาจิDora'emonทับศัพท์: โดะระเอะมง) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน โดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส มีเดีย

ประเทศไทย[แก้]

ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร

ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น

ฟุตบอล[แก้]

ฟุตบอลโลก 2010 ฟุตบอลโลก ฟีฟ่า 2010 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ที่เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยเริ่มการคัดเลือกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีฟุตบอลทีมชาติสมาชิกฟีฟ่า เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 204 จาก 208 ทีม ฟุตบอลโลกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันซึ่งมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมากที่สุด เทียบเท่ากับจำนวนประเทศในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และยังเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกที่ชาติจากทวีปแอฟริกาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หลังจากที่แอฟริกาใต้ประมูลชนะโมร็อกโกและอียิปต์ในการเสนอชื่อ ทั้งนี้ ทีมชาติอิตาลีจะลงแข่งขันเพื่อป้องกันตำแหน่งชนะเลิศที่ได้มาในฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศเยอรมนี

ทีมชาติสเปนซึ่งชนะเลิศมาจากการแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2551 ชนะเลิศในการแข่งขันกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1 ต่อ 0 ประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยอันเดรส อีเนียสตาทำประตูให้กับสเปน และทำให้ทีมสเปนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นสมัยแรก ส่วนเจ้าภาพ, ผู้ชนะเลิศครั้งก่อนอย่างอิตาลี รวมถึงฝรั่งเศสซึ่งเป็นทีมรองชนะเลิศครั้งก่อน ล้วนแต่ตกรอบแรก โดยที่อาร์เจนตินา (รอบ 8 ทีม), บราซิล (รอบ 8 ทีม) และเยอรมนี (รอบรองชนะเลิศ) ตกรอบแพ้คัดออก

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์[แก้]

การเขียนโปรแกรม เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแล (ขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น เป็นหลักของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ) ซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริธึมที่จะใช้ (อัลกอริธึม คือ วิธีคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งอาจง่าย หรือยาก ขั้นตอนน้อย หรือ มาก ก็ได้ แต่ อัลกอริธึมที่ดี จะง่ายกว่า และขั้นตอนน้อยกว่า โดยจะต้องได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน หรือดีกว่า) ซึ่งการเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์

การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ซอร์สโค้ดสามารถใช้งานได้ โดยจะประกอบด้วย

1. คอมไพล์ เป็นการแปลซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้แฟ้มข้อมูลที่สามารถทำงานได้ เช่น ภาษาพาสคาล,ภาษาซี,ภาษาเบสิกเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า คอมไพเลอร์

2. อินเทอร์พรีท เป็นการแปลซอร์สโค้ดให้เป็นภาษาเครื่อง(machine language)ทุกครั้งที่ต้องการใช้โปรแกรม เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอลเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า อินเทอร์พรีทเตอร์

3. แอสเซ็ม เป็นการแปลซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง(machine language) หนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้แฟ้มข้อมูลที่สามารถทำงานได้ ใช้กับ ภาษาแอสเซ็มบลี เท่านั้นเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า แอสเซ็มเบลอร์

การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน

สถาบันอุดมศึกษาไทย[แก้]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อังกฤษ: Sukhothai Thammathirat Open University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับ (มหาวิทยาลัยเปิด) หนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิด โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล แห่งเดียวในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบมหาวิทยาลัยเปิด โดย รับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่มีชั้นเรียนตามปรกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป โดยดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน

คณิตศาสตร์[แก้]

พิกัด หมายถึง ค่าของตัวเลขที่ใช้อธิบายตำแหน่งของจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากน้ำทะเลก็เป็นพิกัดอย่างหนึ่งที่อธิบายตำแหน่งของจุดเหนือระดับพื้นผิวโลก ส่วนระบบพิกัดคือวิธีการอย่างเป็นระบบที่มีการให้ค่าคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับแทนตำแหน่งของแต่ละจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ซึ่งคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับหนึ่งชุดจะหมายถึงตำแหน่งเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ดังตัวอย่าง สามสิ่งอันดับที่ประกอบด้วย ละติจูด ลองจิจูด และอัลติจูด (ระดับความสูง) เป็นระบบพิกัดที่ใช้ระบุตำแหน่งของจุดเหนือพื้นผิวโลก

พิกัดอาจนิยามได้ในบริบททั่วไป เช่น ถ้าหากเราไม่สนใจความสูง ดังนั้นละติจูดและลองจิจูดจึงสามารถเป็นระบบพิกัดเหนือพื้นผิวโลกก็ได้ โดยสมมติให้โลกมีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม พิกัดเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญในดาราศาสตร์ ซึ่งใช้สำหรับอธิบายตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าโดยไม่สนใจระยะทาง

ฟิสิกส์[แก้]

สนามแม่เหล็ก อาจเกิดขึ้นได้จากกระแสไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น สปินของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามอย่างหลังนี่เองเป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ

สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล

เทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้]

ไฟล์:Asimo 1.jpg

อาซิโม (อังกฤษ: ASIMO) (ญี่ปุ่น: アシモโรมาจิashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสรเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต

บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนิยามของชื่อ ASIMO ว่าย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัยซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ (アジモフ) นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด แม้ว่าชื่อในภาษาญี่ปุ่นของอาซิโมและอสิมอฟจะสะกดใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า อะชิโมะ (ญี่ปุ่น: 脚もโรมาจิashimo) ที่แปลว่า "มีขาด้วย"

อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี (P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น

เคมี[แก้]

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: Electronegativity) คือการวัดความสามารถของอะตอมหรือโมเลกุลในการที่จะดึงดูดอิเล็กตรอน ในส่วนของการเชื่อมต่อทางเคมี ประเภทของการเชื่อมต่อส่วนใหญ่วัดกันที่ความแตกต่างใน อิเล็กโตรเนกาติวิตี ระหว่างอะตอมที่เกี่ยวข้อง อะตอมที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีคล้ายกัน จะขโมย อิเล็กตรอนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็น พันธะโควาเลนต์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าอิเล็กโตรเนกาติวิตี แตกต่างกันมากอิเล็กตรอนจะย้ายไปอยู่กับอะตอมใดอะตอมหนึ่งอย่างถาวร และเปลี่ยนเป็นการเชื่อมต่อแบบ พันธะไอออนิกแทน และยิ่งไปกว่านั้นถ้าอะตอมหนึ่งอะตอมใดมีแรงดึงดูดมากกว่าอีกอะตอมหนึ่งก็จะเกิดการเชื่อมต่อแบบโพลาร์ พันธะโควาเลนต์

ภาษา[แก้]

เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก (ไข่) และก่อนหน้า (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูงในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฃ ขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน) เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) (กลุ่มเสียง /ค/, [kʰ]) สามารถใช้เป็นมาตราตัวสะกดในมาตรากักได้ (แม่กก) ซึ่งเดิมทีนั้น ได้มีการคาดกันว่าเสียงของ ฃ นั้นมีความแตกต่างจากเสียง ข แต่กลับเพี้ยนไป

ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่

อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ที่ลำดับอักษร แบบเดียวกันกับอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ ทั้งสิ้น จึงให้เหตุผลว่า อักษร ฃ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฯลฯ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. 1826 และก็ได้เติมพยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย เพื่อใช้แทนเสียงที่ภาษาในสมัยนั้นมีอยู่ให้ครบถ้วน หรือไม่ก็คาดว่า ฃ ได้รับการดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤตนั่นเอง

นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมือง (ของอาณาจักรล้านนา) ภาษาไทขาว และอื่น ๆ อีก ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานว่ายังมีการใช้งานกันอยู่บ้างในปัจจุบัน

ดนตรี[แก้]

ไมเคิล แจ็กสัน (อังกฤษ: Michael Jackson) (29 สิงหาคม ค.ศ. 195825 มิถุนายน ค.ศ. 2009) มีชื่อเต็มว่า ไมเคิล โจเซฟ แจ็กสัน (อังกฤษ: Michael Joseph Jackson) ได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชาเพลงป็อป (King of Pop)

เขาเป็นลูกคนที่ 7 ของครอบครัวแจ็กสัน ปรากฏตัวครั้งแรกในระดับอาชีพด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกวงเดอะแจ็กสันไฟฟ์ ในปี 1969 เขาเริ่มมีผลงานเดี่ยวในปี 1971 ขณะที่ยังคงเป็นสมาชิกของวงอยู่ ในปี 1982 มีผลงานอัลบั้มที่ชื่อ Thriller ซึ่งถือเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาล และสี่อัลบั้มเดี่ยวที่เหลือก็ยังถือว่าเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอัลบั้มหนึ่ง อันประกอบด้วยชุด Off the Wall (1979), Bad (1987), Dangerous (1991) และ HIStory (1995)

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาเริ่มมีความโดดเด่นในวงการเพลงป็อป และถือเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่มีแฟนเพลงมากมายผ่านทางช่องเอ็มทีวี ความนิยมของเขามาจากการออกอากาศมิวสิกวิดีโอทางช่องเอ็มทีวี อย่างเช่นเพลง "Beat It", "Billie Jean" และ "Thriller—เพลงนี้ได้รับเอ่ยถึงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมิวสิกวิดีโอจากอุปกรณ์การประชาสัมพันธ์ไปเป็นรูปแบบของศิลปะ— มิวสิกวิดีโอเหล่านี้ได้ช่วยให้ช่องที่เพิ่งเปิดใหม่นี้มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น วิดีโอเพลง "Black or White" และ "Scream" ก็ยังคงเปิดบ่อยทางช่องเอ็มทีวีในคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วย ลีลาบนเวทีของแจ็กสันและมิวสิกวิดีโอ แจ็กสันสร้างความโด่งดังกับท่าเต้นซับซ้อนโดยใช้ร่างกายมากมายหลาย ๆ ท่า อย่างเช่นท่าเต้นหุ่นยนต์และท่าเต้นมูนวอล์ก ส่วนเอกลักษณ์ด้านดนตรีและเสียงร้องของเขายังเป็นอิทธิพลให้กับศิลปินแนวฮิปฮอป ป็อป และอาร์แอนด์บี ให้อีกหลายคน อิทธิพลเพลงของเขามีแพร่กระจายไปสู่คนหลายรุ่น

แจ็กสันหาเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อมูลนิธิการกุศลของเขา มีซิงเกิลการกุศลมากมายที่สนับสนุนให้กับ 39 องค์กร ชีวิตส่วนตัวของเขามักปรากฏตัวโดยการปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและพฤติกรรมให้คนอื่นจำไม่ได้ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่ทำลายภาพลักษณ์ที่ดีของเขาด้วยเช่นกัน เขายังถูกข้อกล่าวหาลวนลามทางเพศเด็กในปี 1993 แต่ก็ปิดลงโดยเขาไม่มีความผิดเนื่องจากมีหลักฐานไม่เพียงพอ แจ็กสันมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และยังมีข้อมูลรายงานขัดแย้งในเรื่องฐานะการเงินของเขาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 แจ็กสันแต่งงานมาแล้วสองครั้ง มีลูกสามคน ต่อมาในปี 2005 เขามีข้อพิพาทอีกครั้งเรื่องล่วงละเมิดทางเพศและอีกหลายคดี แต่เขาก็ไม่มีความผิด (ซึ่งในภายหลังคู่กรณีหลายรายได้ออกมายอมรับว่า แจ็กสัน ไม่ได้กระทำ และที่กล่าวหา เพราะเป็นเด็ก และถูกผู้ปกครองบังคับ โดยหวังที่จะได้รับเงินค่าเสียหาย)

เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่ศิลปินที่มีชื่ออยู่ใน ร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ถึงสองครั้ง ผลงานของเขาประสบความสำเร็จได้รับสถิติหลายครั้งจากกินเนสบุ๊ค รวมถึงในหัวข้อ เป็นหนึ่งใน"ศิลปินบันเทิงที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล" เขาได้รับรางวัลแกรมมี่ 13 ครั้ง มี 13 ซิงเกิลที่ขึ้นอันดับ 1 ในฐานะนักร้องเดี่ยว และมียอดขายรวมกว่า 750 ล้านชุดทั่วโลก เขาถือเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมเพลงป็อปมากว่า 4 ทศวรรษ ไมเคิล แจ็กสันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2009 อายุได้ 50 ปี

โลกของสัตว์[แก้]

งูจงอาง (อังกฤษ: King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467 น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น

งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

วิดีโอเกม[แก้]

ไฟล์:Dota63-loading-screen.png

ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ (อังกฤษ: Defense of the Ancients; ตัวย่อ: DotA) เป็นฉาก (scenario) ดัดแปลงสำหรับเกมวางแผนเรียลไทม์ วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส และภาคต่อ วอร์คราฟต์ 3: บัลลังก์น้ำแข็ง โดยพัฒนาต่อมาจากแผนที่ "อีออนออฟสไตรฟ์" (Aeon of Strife) ในเกม สตาร์คราฟต์; จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมในฉาก คือ การทำลายฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม (เรียกว่า แอนเชียนส์) ซึ่งมีการป้องกันอย่างแน่นหนาตรงมุมของแผนที่ โดยผู้เล่นจะได้ควบคุมยูนิตทรงพลัง ที่เรียกว่า "ฮีโร่" ร่วมกับพลพรรคซึ่งถูกควบคุมผ่านปัญญาประดิษฐ์ เรียกว่า "ครีป" (Creep) และจากรูปแบบการเล่นของเกมเล่นตามบทบาท ผู้เล่นจะเลเวลอัพฮีโร่ของตนและใช้ทองเพื่อซื้อไอเท็มระหว่างการเล่น

พรรณพฤกษา[แก้]

ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม. และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีชีส์

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์ คีโตน และสารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก

ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก จนมีตลาดเป็นสากล ในขณะทุเรียนชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิด

ประวัติศาสตร์[แก้]

สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ หรือ สงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย เป็นหนึ่งในสงครามครั้งแรก ๆ ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรพม่า สงครามเริ่มขึ้นนับจากการรุกรานของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอูผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2091 วอกศก อันเป็นผลมาจากความวุ่นวายในการผลัดแผ่นดินและการแย่งชิงราชสมบัติของอาณาจักรอยุธยา ความขัดแย้งดังกล่าวยุติลงโดยมีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยา

สงครามครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่านำมาซึ่งการรบสมัยใหม่ช่วงแรกโดยทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส และเป็นที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ไทยว่าสมเด็จพระสุริโยทัยสวรรคตในการรบบนหลังช้าง

กองทัพอยุธยาฝ่ายตั้งรับได้รับชัยชนะและกองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากแผ่นดินอยุธยา แต่ในระหว่างเดินทัพกลับ กองทัพพม่าได้จับกุมพระราเมศวรและสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งเมืองพิษณุโลก ซึ่งเสียทีแก่ข้าศึกในระหว่างการไล่ตี กลับไปด้วย เพื่อแลกกับการเจรจาให้พม่าถอนทัพอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ชัยชนะครั้งนี้เป็นชัยชนะที่ไม่เด็ดขาด จึงได้นำไปสู่การรุกรานอีกครั้งในสงครามช้างเผือก รัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2106 และสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2112 ตามลำดับ

ศาสนา[แก้]

สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของมหาวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมหาวิหารในยุโรปตะวันตก

มหาวิหาร คือคริสต์ศาสนสถานที่มีสังฆราช (bishop) เป็นประมุข และเป็นวัดที่เป็นที่นั่งของสังฆราช (วัดประจำตำแหน่ง) ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของสังฆมณฑล (Diocese หรือ See) ที่อยู่ใต้การปกครองของสังฆราชที่กำหนดไว้ มหาวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “อาสนะสังฆราช” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการสักการะบูชา (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่นนิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์โธด็อกซ์ หรือ นิกายอังกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นมหาวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นมหาวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ มหาวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมหาวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่

ประเทศฝรั่งเศส[แก้]

หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)

โลกวรรณศิลป์[แก้]

พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี พ.ศ. 2364-2366 และแต่งๆ หยุดๆ ไปตลอดเป็นระยะ สิ้นสุดการประพันธ์ราว พ.ศ. 2388 รวมเวลามากกว่า 20 ปี

เนื้อเรื่องของ พระอภัยมณี ส่วนใหญ่คือเหตุการณ์ในชีวิตของตัวละครพระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่นๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น เขากับน้องชายคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป มีบุตรชายชื่อสินสมุทร พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เขามีบุตรกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย เรื่องราวในช่วงหลังของ พระอภัยมณี เป็นการผจญภัยของรุ่นลูกๆ ของพระอภัยมณี โดยมีสุดสาครกับนางเสาวคนธ์เป็นตัวละครหลัก เรื่องราวของสุดสาครโดยเฉพาะในช่วง กำเนิดสุดสาคร (พระอภัยมณี ตอนที่ 24-25) นับว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากอีกชุดหนึ่ง

พระอภัยมณี จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเค้าโครงเรื่องของพระอภัยมณีแหวกประเพณีของวรรณคดีในยุคเก่า มีจินตนาการล้ำยุคอยู่มากมาย และมีตัวละครจากหลากหลายชนชาติ แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความเปิดกว้าง ความเป็นนักคิดยุคใหม่ของผู้ประพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี นักวิชาการจำนวนมากพากันศึกษากลอนนิทาน พระอภัยมณี เพื่อค้นคว้าหาแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงแนวคิดของสุนทรภู่กับวรรณกรรมโบราณ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของบรรดานักเดินเรือที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคการค้าสำเภา นอกจากนี้ แนวคิดที่สุนทรภู่สอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ทำให้ผลงานชิ้นนี้โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมาก เพราะผู้คนล้วนใช้บทกลอนเหล่านั้นเป็นคติสอนใจ เช่น บทกลอนในช่วงที่พระฤๅษีสอนสุดสาคร เป็นต้น

เมื่อเข้าสู่ยุคของการพิมพ์ พระอภัยมณี ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้นโดยโรงพิมพ์ของหมอสมิท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความนิยมของเรื่องมีมากขนาดที่หมอสมิทสามารถจำหน่ายนิทานคำกลอนเรื่องนี้ขายดิบขายดีจนมีเงินสร้างตึกได้ ในยุคต่อมา มีการดัดแปลงและถ่ายทอดวรรณกรรมชิ้นนี้ออกไปในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่าร้อยแก้ว การ์ตูน รวมทั้งภาพยนตร์ และละคร บทกลอนหลายช่วงในเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กลายเป็นคติสอนใจที่ผู้คนทั่วไปจดจำกันได้

สิ่งลึกลับ[แก้]

โมอาย (อังกฤษ: Moai) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมอายถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติลาปานุย ประเทศชิลี โมอายเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่ก็มีบางตัวซึ่งมี Pukau ลักษณะคล้ายหมวกเป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมอายเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ราโน ราราคู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมอายอยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์

จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกะทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบ โมอายเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม

ลักษณะที่เด่นชัดของโมอาย คือ ส่วนหัว แต่ก็มีโมอายหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมอายที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมอายนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา

ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ รูปปั้นโมอายถูกแกะสลักโดยพวกโพลิเนเชียน (Polynesian) ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่า พวกโพลิเนเชียนอาจสร้างโมอายขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้น หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว

เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมอาย (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมอายซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไป เกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมอายไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมอายจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดี ๆ มาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

ภาพยนตร์[แก้]

ก้านกล้วย (พ.ศ. 2549) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ สร้างโดย กันตนาแอนิเมชัน เป็นเรื่องราวที่ได้แรงบันดาลใจจากเกร็ดบางส่วนของพงศาวดาร ว่าลักษณะคชลักษณ์ของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ชื่อตามพงศาวดารนั้นคือ เจ้าพระยาปราบหงสาวดีหรือเดิมชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือ พลายภูเขาทอง โดยในเรื่องใช้ชื่อว่า ก้านกล้วย เป็นตัวเอก ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ได้ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด คนไทยที่ได้ไปศึกษาทางฟิล์มและวิดีโอที่เน้นด้านการทำแอนิเมชันที่สหรัฐอเมริกา และได้เคยร่วมงานสร้างตัวละครและทำภาพเคลื่อนไหวที่เคยร่วมงานกับบริษัทวอลท์ดิสนีย์ และ บลูสกายสตูดิโออย่าง ทาร์ซาน (Tarzan) , ไอซ์เอจ (Ice Age) และ แอตแลนติส (Atlantis: The Lost Empire) มาเป็นผู้กำกับ พร้อมกลุ่มนักแอนิเมชันทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 100 คน

ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นฉากที่เป็นภูมิทัศน์แบบไทย ต้นไม้ ไม้ดอก สภาพป่า และประเพณีไทย เช่น การคล้องช้าง การนำฉากหมู่บ้านทรงไทย แสดงพืชพรรณไม้ไทย เช่น ต้นราชพฤกษ์ (หรือคูน หรือลมแล้ง) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติ ในฤดูกาลต่างๆ รวมทั้งการออกดอกเหลืองอร่ามในหน้าแล้ง แสดงฉากประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

ก้านกล้วย เป็นแอนิเมชันที่สร้างด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ อีกเรื่องหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้เทคนิคดังกล่าว คือ ปังปอนด์ และ แอนิเมชันซึ่งถือเป็นเรื่องแรกของไทยคือ สุดสาคร ซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติ

ก้านกล้วย ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็น ภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ ทางช่อง 7 สี ใช้ชื่อว่า "ก้านกล้วย ผจญภัย" ฉายทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-17.30 น. มีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น โดยใช้ตัวละครเดิม

เวลา[แก้]

ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ

ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชควบคู่กันไป ในปฏิทินปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างปีคริสต์ศักราชกับปีพุทธศักราชจะต่างกัน 543 ปี

แพทยศาสตร์[แก้]

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการที่เซลล์เหล่านี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่ออื่น ๆ อาจโดยการที่เซลล์เจริญเติบโตเข้าไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ (การบุกรุก) หรือการกระจายเซลล์ไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย)   การเจริญเติบโตที่ไม่สามารถควบคุมได้นี้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ ทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของเซลล์สูญเสียไป เนื้อเยื่อดังกล่าวจะถูกเรียกว่า เนื้อร้าย ส่วนคำว่า เนื้องอก นั้นหมายถึงก้อนของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเนื้อร้าย (อาจเป็นมะเร็ง) หรือเป็นเนื้องอกไม่ร้าย (ไม่เป็นมะเร็ง)

พระพุทธศาสนา[แก้]

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา ([วิสาขปูชา] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ปัจจุบัน[แก้]

ข่าวเด่น
เบือร์เซินในปี พ.ศ. 2559
เบือร์เซินในปี พ.ศ. 2559

วิทยาศาสตร์[แก้]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

การทหาร[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามนับได้ว่าขยายเป็นวงกว้างไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีช่วงเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่แน่นอน เป็นการรบระหว่างฝ่ายอักษะและฝ่ายสัมพันธมิตร บนภาคพื้นทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ตลอดระยะเวลาของสงคราม มีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 70 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายสูงสุดด้วยเช่นกัน ส่วนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ศูนย์กลางอำนาจของโลกไม่ได้อยู่ที่ทวีปยุโรปอีกต่อไป แต่แกว่งไปหาประเทศมหาอำนาจใหม่ที่ผงาดขึ้นมาในสงครามเย็น นั่นคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

เภสัชกรรม[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระราชโอรสองค์ที่ 52 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้าย

ประเทศจีน[แก้]

กวนอู (อังกฤษ: Guan Yu;จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ