ชมพูทวีป
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
ชมพูทวีป (อังกฤษ: Jambudvīpa) มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa)[1][2] ประการที่ 2 หมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรุทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป)[3]
ทวีปในทิศอื่น[แก้]
ที่อยู่ของมนุษย์หรือมนุสสภูมินั้นอยู่บนพื้นดิน (หรือเรียกว่า ดาวเคราะห์) ลอยอยู่กลางอากาศในระดับเดียวกับไหล่เขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล (หรือทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียก กาแล็กซี่) ผืนแผ่นดินใหญ่ (ดาวเคราะห์) ทั้ง 4 ที่ลอยอยู่ในทิศทั้ง 4 เรียกว่า "ทวีป" มีชื่อและที่ตั้ง ดังนี้
- ปุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
- อมรโคยานทวีป (อปรโคยานทวีป) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
- ชมพูทวีป (โลกมนุษย์ที่เราอยู่) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
- อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ
ลักษณะทั่วไปของชมพูทวีปชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)มีมรกตเป็นรัตนะชาติประจำทวีป แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ท้องฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว[แก้]
- มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง 4 ศอก มีอายุเป็น อายุกัป หรือเฉลี่ยโดยอายุของมนุษย์ทั้งหมด ปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) คือ 75 ปี
- มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
- สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง 80,000 ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารหยาบขึ้น อายุก็ลดลง
- ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง 10 ปี เท่านั้น
- ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"
เรื่องของชมพูทวีป เหตุที่เรียกชื่อดังนี้ เพราะทวีปนี้มีไม้หว้าเป็นพญาไม้ประจำทวีป (ต้นชมพู แปลว่าต้นหว้า) ไม้หว้าต้นนี้อยู่ในป่าหิมพานต์ ลำต้นวัดโดยรอบ 15 โยชน์ จากโคนถึงยอดสูงสุด 100 โยชน์ จากโคนถึงค่าคบสูง 50 โยชน์ ที่ค่าคบมีกิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง 4 แต่ละกิ่งยาว 50 โยชน์ วัดจากโคนต้นไปทางทิศไหนก็จะสูงเท่ากับความยาวในแต่ละทิศ คือ 100 โยชน์ ใต้กิ่งหว้าทั้ง 4 นั้น เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลาย ผลหว้ามีกลิ่นหอม รสหวานปานน้ำผึ้ง หมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้น บางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำ แล้วงอกออกเป็นเนื้อทอง และถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทร เรียกทองนั้นว่า ทองชมพูนุท เพราะอาศัยเกิดมาจาก ชมพูนที
ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง 3 ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือน อย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน 3 ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วนมนุษย์ในชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน
คุณลักษณะพิเศษบางประการที่มนุษย์ในชมพูทวีปประเสริฐกว่ามนุษย์ในทวีปอื่น เพราะสามารถสร้างความดีได้อย่างเต็มที่มากกว่า คุณลักษณะที่พิเศษ 3 ประการนั้น คือ[4]
1. สูรภาวะ คือ มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
2. สติมันตะ คือ มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย
3. พรหมจริยวาส คือ สามารถประพฤติพรหมจรรย์ คือ อุปสมบทได้
แต่ละยุคในชมพูทวีป อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้ ...
และมีแคว้นเล็กๆอีก 5 แคว้นคือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ
แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบอบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบอบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้
ชนชาติที่เชื่อกันว่า เป็นชนชาติดั่งเดิมของอินเดียคือ เผ่าซานโตล (Santole) มุนดา (Mundas) โกลาเรีย (Kolaria) ตูเรเนียน (Turanians) ดราวิเดียน (Dravidians) คนพวกนี้เป็นพวกผิวดำจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันยังพอมีหลงเหลืออยู่ที่รัฐพิหาร และเบงกอล ของอินเดีย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อินเดียสมัยพุทธกาล ,Samkokview.com .สืบค้นเมื่อ 16/04/2559
- ↑ ความหมายชมพูทวีป ,พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) .สืบค้นเมื่อ 16/04/2559
- ↑ ชมพูทวีป - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ,http://dict.longdo.com/ .สืบค้นเมื่อ 16/04/2559
- ↑ จักรวาลเชิงพุทธ "gl102:3 [Dou book online]". book.dou.us.