จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

เป็นพยัญชนะตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก และก่อนหน้า จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า "ฅ คน"

อักษร ฅ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น แทนเสียง [kʰ] ไม่มีในตำแหน่งตัวสะกด

ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในบันเทิงคดีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่

อักษร ฅ นี้เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทดั้งเดิม ในชุดอักษรสำหรับภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ลำดับอักษร แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ มักจะไม่มีตัวอักษร ฅ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่มีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด)

ประวัติการใช้ ฅ[แก้]

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฅ อยู่ 2 คำ ได้แก่ "แฅว" (แคว)และ "ฅุ๋ม" (คุ้ม, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน)การใช้ ฅ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นไปอย่างแม่นยำ หมายความว่า ไม่มีการใช้ ค ในคำที่ใช้ ฅ นั้นเลย อย่างไรก็ตาม ในสมัยใกล้เคียงกัน มีการใช้ ฅ ในศิลาจารึกหลักอื่น ได้แก่ คำว่า ฅ (คอ), ฅ้อน (ค้อน), ฅา (คา), ฅาบ (คาบเวลา), ฅืน (กลับคืน), แฅน (ดูแคลน), แฅ่ง (แข้ง), แฅว (แคว), ฅวาม (ความ) และ ฅวาง (คว้าง)

ในสมัยหลังจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เริ่มมีการใช้ และ สับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น ใช้ "ฅ่ำ" บ้าง "ค่ำ" บ้าง ทั้งนี้มีคำว่า ฅวาม เพิ่มเข้ามา ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา การใช้ ฅ เริ่มลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีใช้ ทว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การใช้ ฅ ในตำราว่าด้วยอักขรวิธีของไทยในสมัยนั้น

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฅ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 มีอยู่คำเดียว คือ ฅอ (คอ)

ครั้นถึงสมัย รัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็ระบุว่า "ฅ เป็นพยัญชนะตัวที่ห้าของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้แล้ว" เป็นอันหมดวาระของ นับแต่นั้นมา

ฅ หายไปไหน[แก้]

นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฅ (และ ฃ) และสันนิษฐานว่า ฅ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ค โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่โฆษะ (ส่วน ฃ นั้น เป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ) ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อย ๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ค แทน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฅ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "คน" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก่อนหน้าที่จะใช้เป็นชื่อพยัญชนะ เฉพาะในสยามไม่เคยเขียนด้วย (นั่นคือ ฅน) มาก่อนเลย แต่มาจาก "ฅ ฅอคน" (คอของคน) ในแบบเรียน ก ไก่ สมัยก่อน

จากนั้น เครื่องพิมพ์ดีดได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และการจัดเรียงอักษรแบบ QWERTY นั้น ไม่สามารถบรรจุอักษรลงไปทั้งหมดได้ จึงทำการตัดแปลงตัวอักษรที่ใช้ ฅ และ ฃ เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มในแป้นพิมพ์ดีด แต่สำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ จะมี ฅ และ ฃ อยู่ แต่จะไว้คนละตำแหน่งกันแล้วแต่ยี่ห้อ เช่น หน้า Backspace บน Enter หลังปุ่ม Shift บ้าง (ส่วนใหญ่ ทั้งสองอักษรจะวางบนแป้น backslash ซึ่งจะมีเครื่องหมาย "|" กับ "\")

ปัจจุบันสามารถพบเห็นการใช้ ฅ ในชื่อเฉพาะบางอย่างเช่น รายการโทรทัศน์ คนค้นฅน หรือภาพยนตร์ ฅนไฟบิน และในเอกสารที่ถอดมาจากตัว ᨤ ในอักษรธรรมล้านนา[1] เช่นคำว่า ฅิง ฅืน ฅาบ ฅวาย และ ฅน เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. มาลา คำจันทร์ (2008). พจนานุกรมคำเมือง. เชียงใหม่: บุ๊คเวิร์ม. ISBN 978-974-84-1855-1.
  • สุริยา รัตนกุล. ฃ ฅ หายไปไหน?. วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มิถุนายน-ตุลาคม พ.ศ. 2515 หน้า 29-59. ISSN: 0125-3670