ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส
![]() | |||||||
ฉายา | Les Bleus ("สีน้ำเงิน") L'Equipe Tricolore ("ทีมสามสี") La Sélection ("ผู้ถูกเลือก") ทีมตราไก่ (ฉายาในภาษาไทย) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส | ||||||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ดีดีเย เดช็อง | ||||||
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | กี สเตฟาน | ||||||
กัปตัน | อูว์โก โยริส | ||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | ลีลีย็อง ตูว์ราม (142) | ||||||
ทำประตูสูงสุด | ตีแยรี อ็องรี (51) | ||||||
สนามเหย้า | สตาดเดอฟร็องส์ | ||||||
รหัสฟีฟ่า | FRA | ||||||
อันดับฟีฟ่า | 2 ![]() | ||||||
อันดับฟีฟ่าสูงสุด | 1 (พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – พฤษภาคม ค.ศ. 2002) | ||||||
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด | 27 (กันยายน ค.ศ. 2010) | ||||||
อันดับอีแอลโอ | 5 (28 มีนาคม ค.ศ. 2018) | ||||||
อันดับอีแอลโอสูงสุด | 1 (กรกฎาคม ค.ศ. 2007) | ||||||
อันดับอีแอลโอต่ำสุด | 44 (พฤษภาคม ค.ศ. 1928 กันยายน ค.ศ. 1930) | ||||||
| |||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||||||
![]() ![]() (บรัสเซลส์, เบลเยียม; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904) | |||||||
ชนะสูงสุด | |||||||
![]() ![]() (โอแซร์, ฝรั่งเศส; 6 กันยายน ค.ศ. 1995) | |||||||
แพ้สูงสุด | |||||||
![]() ![]() (ลอนดอน, อังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908) | |||||||
ฟุตบอลโลก | |||||||
เข้าร่วม | 14 (ครั้งแรกใน 1930) | ||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ, 1998 และ 2018 | ||||||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||||||
เข้าร่วม | 8 (ครั้งแรกใน 1960) | ||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ, 1984 และ 2000 | ||||||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||||||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2001) | ||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ, 2001 และ 2003 | ||||||
เกียรติยศ
|
ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Équipe de France de football) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศฝรั่งเศส เคยเป็นชั้นนำทีมหนึ่งในทวีปยุโรป มีผลงานชนะเลิศฟุตบอลโลก 2 ครั้งใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2018 และเป็นแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1984 และ ปี ค.ศ. 2000
ประวัติทีม[แก้]
ทีมชาติฝรั่งเศสตั้งทีมขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1904 ในช่วงที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 โดยลงเล่นในเกมอย่างเป็นทางการนัดแรกกับเบลเยียมในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 ซึ่งเกมดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 3-3 ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ฝรั่งเศสได้ลงเล่นในเกมระดับชาติในสนามของตนเองอย่างเป็นทางการในเกมที่พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่สนามปาร์กเดแพร็งส์ ต่อหน้าผู้ชมราว 500 คน และพวกเขาก็เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะไปด้วยคะแนน 1-0
ในปี ค.ศ. 1932 ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย โดยเกมแรกในรายการนี้ของฝรั่งเศสคือถล่มทีมชาติเม็กซิโก 4-1 โดยลูว์เซียง โลร็อง ที่เป็นผู้ยิงประตูแรกของเกม กลายเป็นนักเตะที่ทำประตูแรกสุดของศึกฟุตบอลโลกอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสกลับแพ้ 1-0 ใน 2 เกมต่อมากับอาร์เจนตินาและชิลี ทำให้ต้องตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย
ในปี ค.ศ. 1934 ฝรั่งเศสยังคงต้องผิดหวังต่อไป เมื่อตกรอบแรกจากการแพ้ออสเตรีย แต่พวกเขาทำผลงานได้ดีอย่างผิดหูผิดตาในครั้งที่พวกเขารับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1938 หลังจากฝ่าด่านไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนจะแพ้ให้กับอิตาลีด้วยคะแนน 3-1
ในยุคทศวรรษที่ 1950 นับเป็นยุคทองของวงการฟุตบอลของฝรั่งเศส จากการแจ้งเกิดของนักเตะชื่อดังอย่างฌุสต์ ฟงแตน เจ้าของตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของฟุตบอลโลก และแรมง กอปา ตำนานดาวยิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสสามารถคว้าอันดับ 3 จากการถล่มทีมชาติเยอรมนีตะวันตก 6-2 โดยฟงแตนยิงคนเดียว 4 ประตู
ในปี ค.ศ. 1960 ฝรั่งเศสรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เป็นครั้งแรก แต่พวกเขากลับทำได้แค่อันดับ 4 หลังจากแพ้ทีมชาติเชโกสโลวาเกีย 2-0 แต่หลังจากนั้น ฝรั่งเศสกลับดำดิ่งลงไปอย่างเห็นได้ชัดจากการที่เปลี่ยนตัวผู้จัดการทีมบ่อยครั้ง รวมถึงความล้มเหลวในการผ่านเข้าไปเล่นในการแข่งขันระดับเมเจอร์หลายรายการ โดยพวกเขาไม่สามารถประสบความสำเร็จแบบเป็นชิ้นเป็นอันได้เลยในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970
เมื่อในยุคทศวรรษที่ 1980 ฝรั่งเศสกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการนำทัพของมีแชล ปลาตีนี ตัวทำเกมจอมเทคนิค และสามสุดยอดกองกลางอย่างฌ็อง ตีกานา, อาแล็ง ฌีแร็ส และลูยส์ แฟร์น็องแดซ ที่ประสานงานร่วมกันจนถูกขนานนามว่า สี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ (Magic Square) พวกเขาพาทีมชาติฝรั่งเศสคว้าแชมป์รายการเมเจอร์ระดับนานาชาติได้สำเร็จในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ โดยปลาตีนีได้เป็นดาวซัลโวของรายการด้วยการยิงไปถึง 9 ประตู รวมถึงหนึ่งในประตูในเกมที่ชนะสเปนด้วยคะแนน 2-0 ในนัดชิงชนะเลิศ
นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ฝรั่งเศสยังสามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกปี ค.ศ. 1984 ก่อนที่จะคว้าแชมป์รางวัลอาร์เตมีโอ ฟรังกี (คอนเฟเดอเรชันส์คัพในปัจจุบัน) ในปีถัดมาทำให้พวกเขาได้รับการยกให้เป็นทีมเต็ง 1 สำหรับการครองแชมป์ฟุตบอลโลก 1986 แต่แล้วก็ยังคงต้องรอตำแหน่งแชมป์ต่อไป หลังจากทำได้แค่อันดับ 3 ด้วยการแพ้เบลเยียม 4-2
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1996 ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นมาสู่การเป็นยอดทีมของวงการลูกฟุตบอลโลก จากการที่เข้าสู่ยุคผลัดใบโดยนำนักเตะดาวรุ่งเข้ามารับใช้ชาติหลายต่อหลายคน ในยูโร 1996 ฝรั่งเศสทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องหยุดอยู่ที่รอบตัดเชือกเช่นเดิมหลังจากแพ้สาธารณรัฐเช็ก ต่อมาในฟุตบอลโลก 1998 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพฝรั่งเศสสามารถระเบิดฟอร์มเก่งด้วยการถล่มบราซิล สุดยอดทีมจากฟุตบอลโลก ในนัดชิงชนะเลิศ 3-0 พร้อมทั้งคว้าแชมป์ไปครองอย่างยิ่งใหญ่ของทีม
ในปี ค.ศ. 2000 ฝรั่งเศสยังคงรักษาความฟอร์มที่ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ยูโร 2000 ด้วยการชนะอิตาลี 2-1 ในนัดชิงชนะเลิศ ภายใต้การเล่นเกมและสร้างสรรค์เกมของซีเนดีน ซีดาน สุดยอดกองกลางจอมเทคนิคของฝรั่งเศส ทำให้พวกเขาทำสถิติเป็นชาติแรกที่ครองแชมป์ทั้งฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโรนัลตั้งแต่ที่เยอรมนีตะวันตกเคยทำได้เมื่อปี 1974 นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังขึ้นไปอันดับ 1 ในการจัดอันดับโลกของฟีฟ่าอีกด้วย
อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสเริ่มจะกลับสู่ความตกต่ำอีกครั้ง หลังจากไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลโลก 2002 ได้สำเร็จแต่ที่น่าตกใจกว่านั้นคือพวกเขาต้องหยุดอยู่ที่รอบแรกเท่านั้น ก่อนที่ผลงานจะดีขึ้นมาในยูโร 2004 โดยฝรั่งเศสผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ แต่ก็ปราชัยต่อกรีซ เจ้าของแชมป์ในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 2006 ฝรั่งเศสเกือบจะไม่ผ่านไปเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 แต่ยังดีที่บรรดานักเตะรุ่นเก่าที่เคยประกาศตัดสินใจอำลาทีมชาติเปลี่ยนใจกลับมาช่วยทีมอีกครั้ง และพวกเขาก็ยังโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างต่อเนื่องในรอบสุดท้าย หลังจากสู้และสามัคคีกันจนสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ แต่ก็ต้องแพ้อิตาลีจากการดวลจุดโทษไป 5-3 ไปอย่างน่าเสียดาย 2 ปีต่อมาในยูโร 2008 ฝรั่งเศสก็ไปไม่ถึงฝั่งฝันอีกครั้งหลังจากตกรอบแรก เนื่องจากถูกจับให้อยู่ในกลุ่มที่มีแต่ทีมเต็งที่จะเป็นแชมป์ โดยมีเนเธอร์แลนด์ อิตาลี และโรมาเนีย เป็นสมาชิกร่วมกลุ่มด้วยการเป็นที่ 4 ของกลุ่ม
ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 ฝรั่งเศสต้องผิดหวังอีกครั้งหลังตกรอบแรกในการคัดเลือกทีมไปแข่งขันที่ฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ นอกจากนั้นยังมีปัญหาภายในทีมอีกระหว่างนักเตะและผู้ฝึกสอนอีกด้วย ต่อมาในยูโร 2012 ทีมชาติฝรั่งเศสก็เริ่มทำผลงานเริ่มดีขึ้นมา โดยในรอบแบ่งกลุ่มสามารถเป็นรองแชมป์กลุ่มได้ เป็นรองเพียงอังกฤษเท่านั้น แต่แล้วในรอบสิบหกทีมสุดท้ายก็ต้องปราชัยแพ้ให้กับทีมเต็งของรายการนี้อย่างสเปนไป 2-0
ในฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ทีมชาติฝรั่งเศสผ่านเข้าได้ถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนแพ้ให้กับทีมชาติเยอรมนีไป 0-1 ซึ่งในครั้งนั้นทีมชาติเยอรมนีก็ได้เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 2014 และในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ทีมชาติฝรั่งเศสสามารถสร้างผลงานผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับทีมชาติโครเอเชีย ซึ่งเป็นการผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ของทีมชาติฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้คว้าแชมป์สมัยที่ 2 โดยการเอาชนะโครเอเชีย 4-2
เกียรติประวัติ[แก้]
- แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 เจ้าภาพ
- แชมป์ฟุตบอลโลก 1998 เจ้าภาพ
- แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000
- แชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ปี 2001 และ ปี 2003
- แชมป์ฟุตบอลโลก 2018
ผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนยุโรป – กลุ่ม ดี ในวันที่ 24, 28 และ 31 มีนาคม 2021[2]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | อูว์โก โยริส (กัปตัน) | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 123 | 0 | ![]() |
16 | GK | สแตฟว์ ม็องด็องดา | 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (36 ปี) | 34 | 0 | ![]() |
23 | GK | มิค เมญอง | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 (25 ปี) | 1 | 0 | ![]() |
GK | อาลฟงส์ อาเรออลา | 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (28 ปี) | 3 | 0 | ![]() | |
2 | DF | แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ | 28 มีนาคม ค.ศ. 1996 (25 ปี) | 33 | 2 | ![]() |
3 | DF | แพร็สแนล กีมแปมเบ | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (25 ปี) | 15 | 0 | ![]() |
4 | DF | ราฟาแอล วาราน | 25 เมษายน ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 73 | 5 | ![]() |
5 | DF | เกลม็อง ล็องแกล | 17 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (25 ปี) | 12 | 1 | ![]() |
12 | DF | ลีโอ ดูบัวส์ | 14 กันยายน ค.ศ. 1994 (26 ปี) | 7 | 0 | ![]() |
18 | DF | กูร์ต ซูมา | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (26 ปี) | 8 | 1 | ![]() |
19 | DF | ลูว์กา ดีญ | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (27 ปี) | 36 | 1 | ![]() |
20 | DF | แฟร์ล็อง แมนดี | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1995 (25 ปี) | 7 | 1 | ![]() |
21 | DF | ลูกัส แอร์น็องแดซ | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (25 ปี) | 24 | 0 | ![]() |
6 | MF | ปอล ปอกบา | 15 มีนาคม ค.ศ. 1993 (28 ปี) | 78 | 10 | ![]() |
13 | MF | ต็องกี อึนดอมเบเล | 28 ธันวาคม ค.ศ. 1996 (24 ปี) | 7 | 0 | ![]() |
14 | MF | อาเดรียง ราบีโย | 3 เมษายน ค.ศ. 1995 (26 ปี) | 14 | 0 | ![]() |
17 | MF | มูซา ซีซอโก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (31 ปี) | 67 | 2 | ![]() |
7 | FW | อ็องตวน กรีแยซมาน | 21 มีนาคม ค.ศ. 1991 (30 ปี) | 89 | 35 | ![]() |
8 | FW | ตอมา เลอมาร์ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (25 ปี) | 24 | 4 | ![]() |
9 | FW | ออลีวีเย ฌีรู | 30 กันยายน ค.ศ. 1986 (34 ปี) | 107 | 44 | ![]() |
10 | FW | กีลียาน อึมบาเป | 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (22 ปี) | 42 | 16 | ![]() |
11 | FW | อุสมาน แดมเบเล | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (23 ปี) | 23 | 3 | ![]() |
15 | FW | กีงส์แล กอมาน | 13 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (24 ปี) | 29 | 5 | ![]() |
22 | FW | วีซาม แบน แยแดร์ | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (30 ปี) | 12 | 2 | ![]() |
ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้[แก้]
รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้
ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร | ถูกเรียกครั้งล่าสุด |
---|---|---|---|---|---|---|
GK | สแตฟว์ ม็องด็องดา | 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (36 ปี) | 16 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ |
DF | เบอนัว เทรมูลีนัส | 28 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 2 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง) |
DF | ลออิก แปแร็ง | 7 สิงหาคม ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 0 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง) |
DF | เอริก อาบีดาล | 11 กันยายน ค.ศ. 1979 (41 ปี) | 67 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
DF | กาแอล กลีชี | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 20 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
DF | รอด ฟานี | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1981 (39 ปี) | 5 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
DF | กูร์ต ซูมา | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (26 ปี) | 0 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
DF | อาดีล รามี | 27 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 26 | 1 | ![]() |
v. ![]() |
MF | ฟร็องก์ รีเบรี | 7 เมษายน ค.ศ. 1983 (38 ปี) | 81 | 16 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ |
MF | เกลม็อง เกรอนีเย | 7 มกราคม ค.ศ. 1991 (30 ปี) | 5 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ |
MF | มักซีม กอนาลง | 10 มีนาคม ค.ศ. 1989 (32 ปี) | 6 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง) |
MF | ดีมีทรี ปาแย็ต | 29 มีนาคม ค.ศ. 1987 (34 ปี) | 7 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
MF | ฌอซูว์อา กีลาวอกี | 19 กันยายน ค.ศ. 1990 (30 ปี) | 5 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
MF | ซามีร์ นัสรี | 26 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (33 ปี) | 41 | 5 | ![]() |
v. ![]() |
MF | เอเตียน กาปู | 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 (32 ปี) | 7 | 1 | ![]() |
v. ![]() |
MF | ฌอแฟร กงดอกบียา | 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (28 ปี) | 1 | 0 | ![]() |
v. ![]() |
FW | อาแล็กซ็องดร์ ลากาแซ็ต | 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (29 ปี) | 2 | 0 | ![]() |
ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง) |
FW | อ็องเดร-ปีแยร์ ฌีญัก | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (35 ปี) | 17 | 4 | ![]() |
v. ![]() |
สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด[แก้]
แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เล่นที่ยิงประตูให้ทีมชาติมากที่สุด[แก้]
แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน
อันดับ | ชื่อ | ช่วงเวลา | ประตู | จำนวนนัดที่ลงเล่น | สโมสร | ค่าเฉลี่ย |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ตีแยรี อ็องรี | 1997–2010 | 51 | 123 | อาแอส มอนาโก ยูเวนตุส อาร์เซนอล บาร์เซโลนา |
0.42 |
2 | ออลีวีเย ฌีรู | 2011–ปัจจุบัน | 44 | 107 | มงเปอลีเย อาร์เซนอล เชลซี |
0.41 |
3 | มีแชล ปลาตีนี | 1976–1987 | 41 | 72 | น็องซี แซ็งต์-เตเตียน ยูเวนตุส |
0.57 |
4 | อ็องตวน กรีแยซมาน | 2014–ปัจจุบัน | 35 | 89 | เรอัลโซซิเอดัด อัตเลติโก มาดริด บาร์เซโลนา |
0.39 |
5 | ดาวิด เตรเซเแก | 1998–2008 | 34 | 71 | อาแอส มอนาโก ยูเวนตุส |
0.47 |
6 | ซีเนดีน ซีดาน | 1994–2006 | 31 | 106 | บอร์โด ยูเวนตุส เรอัลมาดริด |
0.28 |
7 | ฌุสต์ ฟงแตน | 1953–1960 | 30 | 21 | โอเฌเซ นิส แร็งส์ |
1.42 |
ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง | 1986–1995 | 30 | 54 | โอลิมปิก มาร์แซย์ เอซี มิลาน บาเยิร์นมิวนิก |
0.55 | |
9 | ยูริ จอร์เกฟฟ์ | 1993–2002 | 28 | 82 | อาแอส มอนาโก ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง อินเตอร์ มิลาน ไคเซอร์สเลาเทิร์น โบลตัน |
0.34 |
10 | การีม แบนเซมา | 2007–ปัจจุบัน | 27 | 81 | โอลิมปิก ลียง เรอัลมาดริด |
0.33 |
11 | ซิลแว็ง วิลตอร์ | 1999–2006 | 26 | 92 | บอร์โด อาร์เซนอล โอลิมปิก ลียง |
0.28 |
12 | ฌ็อง แว็งซ็อง | 1953–1961 | 22 | 46 | ลีล สตาด เดอ แร็งส์ |
0.47 |
13 | ฌ็อง นีกอลา | 1933–1938 | 21 | 25 | รูอ็อง | 0.84 |
14 | ปอล นีกอลา | 1920–1931 | 20 | 35 | เรด สตาร์ แอฟเซ | 0.57 |
เอริก ก็องโตนา | 1987–1995 | 20 | 45 | โอลิมปิก มาร์แซย์ มงเปอลีเย ลีดส์ ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
0.38 | |
16 | ฌ็อง บาแร็ตต์ | 1944–1952 | 19 | 32 | ลีล | 0.57 |
17 | โรเฌร์ ปีอ็องโตนี | 1952–1961 | 18 | 37 | น็องซี แร็งส์ |
0.48 |
แรมง กอปา | 1952–1962 | 18 | 45 | แร็งส์ เรอัลมาดริด |
0.40 | |
19 | โรล็อง บล็องก์ | 1989–2000 | 16 | 97 | มงเปอลีเย นาโปลี นีม แซ็ง-เตเตียน โอแซร์ บาร์เซโลนา โอลิมปิก มาร์แซย์ อินเตอร์ มิลาน |
0.16 |
ฟร็องก์ รีเบรี | 2006–2014 | 16 | 81 | โอลิมปิก มาร์แซย์ บาเยิร์นมิวนิก |
0.20 | |
กีลียาน อึมบาเป | 2017– | 16 | 42 | ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง | 0.38 | |
22 | เออแฌน มาแอส | 1911–1913 | 15 | 11 | เรด สตาร์ แอฟเซ | 1.36 |
แอฟวร์ แรเวลลี | 1966–1975 | 15 | 30 | แซ็ง-เตเตียน นีซ |
0.50 | |
ดอมีนิก รอเชโต | 1975–1986 | 15 | 49 | แซ็ง-เตเตียน ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง |
0.30 | |
|
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]
- ฟาเบียง บาร์แตซ
- โลร็อง บล็อง
- มีแชล ปลาตีนี
- เอริก กองโตนา
- ซีเนดีน ซีดาน
- ลีลีย็อง ตูว์ราม
- ดีดีเย เดช็อง
- ฌุสต์ ฟงแตน
- ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง
- แอมานุแอล เปอตี
- ดาวิด ฌีโนลา
- รอแบร์ ปีแร็ส
- นีกอลา อาแนลกา
- ตีแยรี อ็องรี
- ดาวิด เทรเซแก
- มาร์แซล เดอซายี
- อาแล็ง ฌีแร็ส
- ฌ็อง ตีกานา
- ลูยส์ แฟร์น็องแดซ
- สเตฟาน กีวาร์ช
- แรมง กอปา
- ญูริ จอร์เกฟฟ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help) - ↑ "France - Pays-Bas et France - Luxembourg". FFF. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
- ↑ Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
- ↑ Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.