พุทธศักราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พุทธกาล)

พุทธศักราช ย่อว่า พ.ศ. เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย ตลอดจนประชากรจีนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามสำหรับโอกาสทางศาสนาพุทธ มีเพียงประเทศไทยที่ใช้ในระบบราชการ แม้ศักราชนี้มีที่มาร่วมกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการทดปฏิทิน ชื่อเดือนและเรียงลำดับเดือน การใช้วัฏจักร ฯลฯ ในประเทศไทย พ.ศ. เป็นระบบการนับปีที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติไทย

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "พุทธกาล" และ "พุทธสมัย" ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาที่พระโคตมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ คือ ช่วงเวลา 80 ปีก่อนพุทธศักราช แต่บางทีก็ใช้คำเหล่านี้หมายถึง ช่วงเวลาที่เชื่อว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่หลังการปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงมีการใช้ x ปีก่อนพุทธกาล เพื่อหมายถึง x ปีก่อนพุทธศักราช เป็นต้น

การเริ่มต้นนับ พ.ศ.ของประเทศไทย จะไม่เหมือนกันกับที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานหรือผ่านไปแล้ว 1 วัน กล่าวคือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือนหก(เดือนสากล) หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือนหก(เดือนสากล) เพราะประเทศไทย จะเริ่มนับ พ.ศ. 1 ภายหลังจากวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเกือบ 1 ปี โดยให้เริ่มในเดือนมกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับการติดต่อประเทศตะวันตกและอื่นๆ ที่นับ ค.ศ. และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มปีใหม่[ต้องการอ้างอิง]

แต่หากเป็นการนับพ.ศ.แบบโหรไทย จะมีการนับที่แตกต่างออกไป เริ่มในวัน 1 ค่ำ เดือนอ้าย(ไทยโบราณถือว่าหมดฝนมืดครึ้มเข้าสู่แสงสว่าง ส่วนมากตรงกับเดือนธันวาคม)[ต้องการอ้างอิง]

ต้นยุคอ้างอิง[แก้]

ต้นยุคอ้างอิง (epoch) ของพุทธศักราชตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 544 (ขึ้น 15 ค่ำเดือนวิสาขะ อัญจนศก 148)[1] ส่วน พ.ศ. แบบไทยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 543 จึงทำให้ พ.ศ. แบบไทยช้ากว่าของประเทศอื่นอยู่เกือบ 1 ปี

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kala Vol. 1 2006: 38

พุทธศักราชในประเทศไทย จากเว็บคลังสารสนเทศสถาบันนิติบัญญัติ

แหล่งข้อมูลอื่น[ดูดวงราศีประจำวันอังคาร 1][แก้]

นายสมชาย.ชาคริต


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "ดูดวงราศีประจำวันอังคาร" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="ดูดวงราศีประจำวันอังคาร"/> ที่สอดคล้องกัน