แม่น้ำยูรัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำยูรัล
ภาพถ่ายแม่น้ำยูรัลจากเครื่องบิน ระหว่างโวรัลกับอาเตอเรา ประเทศคาซัคสถาน
ที่ตั้ง
ประเทศคาซัคสถาน, รัสเซีย
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งเทือกเขายูรัล
ปากน้ำทะเลแคสเปียน
 • พิกัด
46°53′N 51°37′E / 46.883°N 51.617°E / 46.883; 51.617พิกัดภูมิศาสตร์: 46°53′N 51°37′E / 46.883°N 51.617°E / 46.883; 51.617
ความยาว2,428 กิโลเมตร (1,509 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ231,000 ตารางกิโลเมตร (89,000 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย400 cubic metre per second (14,000 cubic foot per second)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนUral River Delta and adjacent Caspian Sea coast
ขึ้นเมื่อ10 มีนาคม ค.ศ. 2009
เลขอ้างอิง1856[1]

แม่น้ำยูรัล (อังกฤษ: Ural River; รัสเซีย: Урал, ออกเสียง: [ʊˈraɫ]) มีอีกชื่อว่า แม่น้ำยาอิค (รัสเซีย: Яик; บัชกอร์ต: Яйыҡ, อักษรโรมัน: Yayıq, ออกเสียง: [jɑˈjɯq]; คาซัค: Жайық / Jaiyq / جايىق, ออกเสียง [ʑɑˈjəq]) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากประเทศรัสเซียถึงประเทศคาซัคสถานซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป โดยไหลลงมาจากทางใต้ของเทือกเขายูรัลและสิ้นสุดที่ทะเลสาบแคสเปียน โดยแม่น้ำสายนี้มีความยาวประมาณ 2428 กิโลเมตร และมีความยาวเป็นอันดับ 3 ของทวีปยุโรป รองจากแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดานูบ น้ำในแม่น้ำยูรัลไหลลงสู่ทะเลสาบแคสเปียนในประเทศคาซัคสถาน ซึ่งร้อยละ 70 ของน้ำในแม่น้ำยูรัลได้มาจากการละลายของหิมะ ส่วนที่เหลือมาจากปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ต้นกำเนิดของแม่น้ำยูรัลเกิดจากเทือกเขายูรัลซึ่งมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเส้นแบ่งทวีประหว่างยุโรปกับเอเชีย

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล (Ural delta) มีลักษณะยาว และเรียวคล้ายกับตีนนก (bird’s foot)[2] ซึ่งการแสดงการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะนี้สามารถบอกได้ว่า เกิดจากอิทธิพลการไหลของแม่น้ำเป็นหลัก และได้รับอิทธิพลจากคลื่นเล็กน้อย ซึ่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปีในสหรัฐอเมริกามีลักษณะแบบนี้เช่นกัน

การสะสมของตะกอน (sediment supply) โดยปกติปริมาณตะกอนรวมประมาณ 310 g/m³ ส่วนในฤดูน้ำหลากจะมีปริมาณตะกอนเพิ่มขึ้นจนถึง 2400 g/m³ และในฤดูหนาวจะมีปริมาณตะกอนต่ำสุดประมาณ 0.5 g/m³ [3]

ลักษณะสภาพแวดล้อมในอดีต[แก้]

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลมีลักษณะยาวและเรียวคล้ายกับตีนนก[2]

สภาพแวดล้อมในอดีตของดินดอนสามเหลี่ยมจะเป็นลักษณะของธารน้ำแข็ง เพราะเมื่อก่อนถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งอยู่ในยุคน้ำแข็งและยุคน้ำแข็งละลาย เมื่อน้ำแข็งละลาย ก็มีการพัฒนามาเป็นแม่น้ำต่างๆ โดยได้พาตะกอนจากพื้นดินโดยเฉพาะบริเวณที่เป็น ที่ราบธารน้ำแข็งรัสเซีย ลักษณะของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัลเริ่มมีการคงสภาพในช่วงไพลสโตซีน (Pleistocene)[4]

ปัจจัยของระดับน้ำทะเลที่มีผลต่อดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล

แม่น้ำยูรัล เริ่มมีการเปลี่ยนตำแหน่งและทิศทางในช่วงหลังยุคที่น้ำทะเลลด โดยมีการขยายตัวไปถึง 32 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 522 ตารางกิโลเมตร และยื่นเข้าไปในคาบสมุทรเปชนอย (Peshnoy) ในประเทศคาซัคสถาน

การพัฒนามาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล

ในแต่ละปี แม่น้ำยูรัลจะมีการกัดเซาะจากคลื่นและจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล เกิดเป็นลักษณะของทางน้ำ เมื่อตะกอนมีการสะสมตัวมากขึ้นจะเกิดเป็นลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำยูรัล ซึ่งจะแสดงลักษณะการกระทำที่เกิดจากแม่น้ำเป็นหลัก[5]

ซากดึกดำบรรพ์[แก้]

ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีได้ตั้งแต่พวกแพลงก์ตอน ไปจนถึงพวกไดอะตอมขนาดเล็ก แต่ที่พบเจอในหิน ได้แก่ พวกหอยสองฝา และหอยฝาเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ural River Delta and adjacent Caspian Sea coast". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  2. 2.0 2.1 Ural River Delta, Kazakhstan (NASA Earth Observatory)
  3. Yarushina Margarita I., Eremkina Tatjana V. and Tockner Klement.Rivers of Europe:Ural river basin.Russian Academy of Science, Ural Division, Institute of Plant and Animal Ecology.680p.
  4. Barannik, V., Borysova, O., and Stolberg, F. 2004. The Caspian Sea region: environmental change. Ambio 33: 45–51.
  5. Kroonenberg S.B., Rusakov G.V. and Svitoch A.A..1996.The wandering of the Volga delta: a response to rapid Caspian sea-level change.Department of Soil Science and Geology, Agricultural University, Wageningen, Netherlands;Astrakhan Man and Biosphere Nature Reserve, Astrakhan, Russia;Faculty of Geography: Moscow State University, Moscow, Russia.

บรรณานุกรม[แก้]