ถนนพระยาตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3153
ถนนพระยาตรัง
แผนที่
Phraya Trang Road.jpg
ถนนพระยาตรังในช่วงเทศบาลเมืองจันทบุรี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว7.500 กิโลเมตร (4.660 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก แยกพระยาตรัง ใน อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี
 
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.ท่าใหม่-หัวหิน ใน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนพระยาตรัง หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3153 สายจันทบุรี – ท่าใหม่ เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดจันทบุรี เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลเมืองจันทบุรีและเทศบาลเมืองท่าใหม่ ในอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ประวัติ[แก้]

ถนนพระยาตรัง ปรากฏในหลักฐานของทางราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 บนแผนที่แนบท้ายของพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี[1] สันนิษฐานว่าชื่อถนนพระยาตรังนั้น ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ พระยาตรังคภูมาภิบาล ซึ่งเป็นผู้เสนอขอจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2451[2] และดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2452-2457 (ร.ศ.128-ร.ศ.133)[3] ซึ่งแต่เดิมอาจจะใช้ชื่อเต็มของตำแหน่งคือพระยาตรังคภูมาภิบาล ต่อมามีการทอนคำ[4]จนเหลือเพียงคำว่า ถนนพระยาตรัง จนถึงปัจจุบัน

ถนนพระยาตรัง ได้รับการกำหนดหมายเลขทางหลวงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ให้ทางสายพระยาตรังฯ (จันทบุรี - อำเภอท่าใหม่) เป็นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3153[4] ก่อนจะมีการประกาศยกเลิกระบบทางหลวงจังหวัดและปรับมาเป็นทางหลวงแผ่นดินในปี พ.ศ. 2535 ตามบทเฉพาะกาล[5]

ถนนพระยาตรังนั้นมีการกำหนดขนาดเขตทางและความกว้างของถนนไว้บนผังเมืองรวมเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2534 โดยในช่วงเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 0+000 จากแยกพระยาตรัง เป็นถนนแบบ ค 3 ขนาดเขตทาง 20.00 เมตร มีทางเท้ากว้างข้างละ 3.00 เมตร พร้อมกับแนวต้นไม้ มีช่องเดินรถ 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรแต่ละทิศทางขนาด 3.00 เมตร และ 3.50 เมตร ตามลำดับ และมีเกาะกลางถนนขนาด 1.00 เมตร และช่วงต่อเนื่องออกนอกเมือง ใช้ถนนแบบ จ 2 ขนาดเขตทาง 30 เมตร มีพื้นที่สำหรับเผื่อการขยายผิวจราจรข้างละ 4.00 เมตร ไหล่ทางความกว้างด้านละ 2.00 เมตร มีช่องเดินรถ 4 ช่องจราจรเช่นเดียวกัน ทิศทางละ 2 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร พร้อมกับเกาะกลางถนนความกว้าง 4.00 เมตรพร้อมปลูกต้นไม้ ไปจนสุดแนวของผังเมืองรวมฝั่งตะวันตก[6] และลดลงเหลือ 2 ช่องจราจรสำหรับสวนทางกัน

ในปี พ.ศ. 2565 แขวงทางหลวงจันทบุรี กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างขยายเขตทางจากเดิม 2 ช่องจราจร ขึ้นเป็น 4 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 2+535 ถึงกิโลเมตรที่ 3+240 และช่วงกิโลเมตรที่ 3+240 ถึงกิโลเมตรที่ 5+400 (ตั้งแต่แยกตากสิน ไปทางอำเภอท่าใหม่) ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดกลุ่มปราจันสระตรานคร และโครงการพัฒนาพื้นที่ระดับภาคตามลำดับ[7]

รายละเอียดเส้นทาง[แก้]

แยกตากสิน จุดตัดถนนตากสิน

ถนนพระยาตรัง ประกอบไปด้วยถนนขนาด 6 ช่องจราจร และขนาด 2 ช่องจราจรสวนกัน ระยะทาง 7.500 กิโลเมตร[8] พื้นผิวแอสฟัลต์คอนกรีต[8] และพื้นผิวคอนกรีตเสริมแรงบริเวณทางแยก เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลเมืองจันทบุรี จากถนนรักศักดิ์ชมูล ถนนท่าหลวง ถนนเลียบเนิน บริเวณแยกพระยาตรัง ตัดผ่านถนนตากสินบริเวณแยกตากสิน และสิ้นสุดที่ถนนสายท่าใหม่ - หัวหิน (อดีตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3147) ถือเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองจันทบุรีและอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อยู่ภายใต้การดูแลของ หมวดทางหลวงบางกะจะ แขวงทางหลวงจันทบุรี กรมทางหลวง[8]

ถนนพระยาตรัง เป็นถนนอีกหนึ่งสายที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมเนื่องจากมีช่วงสายทางเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ในบริเวณตลาดเจริญสุข[9] รวมถึงเคยมีการขุดพบระเบิดสำหรับการฝึกซ้อมทิ้งทางอากาศแบบ BDU-33 D/B บริเวณใกล้เคียงสายทาง คาดว่าเป็นระเบิดฝึกสมัยสงครามโลก สำหรับทิ้งเพื่อบอกตำแหน่งด้วยสัญญาณควัน[10]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3153 (พระยาตรัง) ทิศทาง: จันทบุรี – ท่าใหม่
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
จันทบุรี – บรรจบทางของเทศบาลตำบลท่าใหม่
จันทบุรี 0+000 แยกคลองทราย ถ.เลียบเนิน ไป เข้าเมืองจันทบุรี ถ.รักศักดิ์ชมูล ไป ถ.สุขุมวิท
ไม่มี ซ.พระยาตรัง 8 ไป ถ.ชวนะอุทิศ
สะพาน ข้ามคลองน้ำใส
ซ.พระยาตรัง 7 ไป วิทยาลัยนาฏศิลป ไม่มี
ซ.พระยาตรัง 9 ไป ถ.ตากสิน ไม่มี
2+885 แยกตากสิน ถ.ตากสิน เข้าเมืองจันทบุรี ถ.ตากสิน ไป ถ.สุขุมวิท
สะพาน ข้ามคลองท่ากรวด
ไม่มี ถ.บ.ตั้วล้ง - บ.รำฆ้อ ไป บ.ตั้วล้ง
7+500 ถ.ท่าใหม่-หัวหิน ไป บ.ท่าแฉลบ ถ.ท่าใหม่-หัวหิน ไป อ.ท่าใหม่
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม[แก้]

ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง (กม.) หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
1 0100 จันทบุรี – บรรจบทางของเทศบาลตำบลท่าใหม่ 0+000 - 7+500 7.500 หมวดทางหลวงบางกะจะ แขวงทางหลวงจันทบุรี จันทบุรี
รวม 1 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 7.500 กม.

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • แขวงทางหลวงจันทบุรี
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาจันทบุรี
  • ตลาดเจริญสุข
  • วัดสุทธิวารี
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส (บุญประชานุกูล)

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช 2478. เล่ม 52 ก, 10 ธันาคม 2478. หน้า 1641-1644
  2. "แรกตั้ง "สุขาภิบาลของเมืองจันทบุรี". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "จดหมายเหตุการเดินทางตรวจราชการเมืองตราด ของพระยาตรังคภูมาภิบาล ร.ศ.128 - หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี". www.finearts.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509. เล่ม 83 ตอนที่ 57 ง, 5 กรกฎาคม 2509. หน้า 2175
  5. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535. เล่ม 109 ตอนที่ 52 ก, 18 เมษายน 2535. หน้า 23
  6. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ 108 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518. ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอน 232. 27 ธันวาคม 2534. หน้า 1-9
  7. "โครงการมีส่วนร่วม ทางหลวงหมายเลข 3153 และ 3493 - แขวงทางหลวงจันทบุรี". chanthaburi.doh.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 "สายทางควบคุม - แขวงทางหลวงจันทบุรี". chanthaburi.doh.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "จันทบุรียังปริ่มน้ำ ถนนหลายสายน้ำท่วมสูงสัญจรไม่ได้แล้ว". thansettakij. 2021-10-14.
  10. ลุ้นระทึก แจ้งเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดสงคราม จ.จันทบุรี, สืบค้นเมื่อ 2023-04-08

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]