อำเภอเมืองจันทบุรี
อำเภอเมืองจันทบุรี | |
---|---|
![]() | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 12°36′38″N 102°6′15″E / 12.61056°N 102.10417°E | |
อักษรไทย | อำเภอเมืองจันทบุรี |
อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Chanthaburi |
จังหวัด | จันทบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 253.1 ตร.กม. (97.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563) | |
• ทั้งหมด | 129,113 คน |
• ความหนาแน่น | 510.13 คน/ตร.กม. (1,321.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 22000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2201 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี เลขที่ 33 ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000 |
![]() |
อำเภอเมืองจันทบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเมืองจันทบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าใหม่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอมะขาม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอมะขามและอำเภอขลุง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอขลุงและอำเภอแหลมสิงห์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าใหม่
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเมืองจันทบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ตลาด | (Talat) | - | 7. | จันทนิมิต | (Chanthanimit) | 9 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
2. | วัดใหม่ | (Wat Mai) | - | 8. | บางกะจะ | (Bang Kacha) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
3. | คลองนารายณ์ | (Khlong Narai) | 14 หมู่บ้าน | 9. | แสลง | (Salaeng) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
4. | เกาะขวาง | (Ko Khwang) | 9 หมู่บ้าน | 10. | หนองบัว | (Nong Bua) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
5. | คมบาง | (Khom Bang) | 10 หมู่บ้าน | 11. | พลับพลา | (Phlapphla) | 13 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
6. | ท่าช้าง | (Tha Chang) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองจันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดและตำบลวัดใหม่ทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าช้าง
- เทศบาลเมืองจันทนิมิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทนิมิตทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางกะจะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางกะจะ
- เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองนารายณ์และบางส่วนของตำบลพลับพลา
- เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัว
- เทศบาลตำบลเกาะขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะขวางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแสลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลค่ายเนินวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะจะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ)
- เทศบาลตำบลพลับพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลับพลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนารายณ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคมบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคมบางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัว)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
ศาลเจ้าพ่อสระบาป[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาสนวิหารจันทบุรี[แก้]
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกเก่าแก่ประจำเขตมิสซังจันทบุรีตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ตำบลจันทนิมิต ถัดจากวัดไผ่ล้อมไปทางแยกขวา 2 กิโลเมตร มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดจันทร์ ตามหลักฐานในเอกสารได้บันทึกไว้ว่าเริ่มสร้างโบสถ์ระหว่างปี พ.ศ. 2254-2285 โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสและสัตบุรุษชาวญวนที่อาศัยอยู่ในเมืองจันทบุรีขณะนั้น และทำการปรับปรุงมาโดยตลอด ครั้งสุดท้ายได้บูรณะในปี พ.ศ. 2487-2528 ได้ชื่อว่าเป็นโบสถ์คาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่เรียกว่า ศิลปะกอทิก ตกแต่งด้วยกระจกสีติดผนัง เป็นภาพทางศาสนาคริสต์ที่สวยงามมาก
อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[แก้]
เชื่อว่าเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เป็นที่ต่อเรือรบเมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2310 โดยทางหลวงโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ทำการขุดค้นซากเรือและตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดี พบส่วนประกอบต่าง ๆ ของเรือโบราณและสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบฝูเจี้ยนขนาดเล็ก มีใบสามเถา ใช้หางเสือเรือ ขนาดเรือยาว 24 เมตร กว้าง 5 เมตร และบริเวณรอบ ๆ มีแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตามริมฝั่งอ่าว ลักษณะคล้ายอู่เรืออยู่หลายแห่ง การเดินทางอู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนี้ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านเสม็ดงาม เลยไปวัดเสม็ดงาม เลี้ยวขวาตรงป้ายบอกทางเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรก็จะถึงอู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ค่ายเนินวง[แก้]
เป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนท่าแฉลบประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางแยกอีก 400 เมตร ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างค่ายที่บ้านเนินวง อำเภอท่าใหม่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี) เพื่อใช้เป็นที่มั่นต่อสู้กับญวน ต่อมาป้อมนี้ชำรุดทรุดโทรมไปมาก ปี พ.ศ. 2516 จึงได้มีการบูรณะตัวป้อมและประตูค่ายทางด้านทิศตะวันออกใหม่ เมื่อขึ้นไปยืนอยู่ตรงป้อมและมองออกไปจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของท้องทะเลได้อย่างชัดเจน สองฟากของตัวป้อมเป็นกำแพงวัด ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้นำปืนโบราณมาตั้งแสดงไว้โดยหันกระบอกปืนสู่ทะเลอย่างเตรียมพร้อม ส่วนภายในบริเวณค่ายซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสวนยางและสวนผลไม้ยังมีวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาพร้อมค่ายแห่งนี้คือ วัดโยธานิมิต นอกจากนี้ยังจะมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีตั้งอยู่ มีการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเดินเรือ การค้าทางทะเล แสดงการสำรวจการขุดค้นพบโบราณคดีใต้น้ำ และแสดงเครื่องถ้วยชามสังคโลกที่ได้จากซากเรือโบราณที่จมในอ่าวไทย
วัดไผ่ล้อม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |